สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น (อังกฤษ: Star Wars prequel trilogy) เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่สองของแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส กำกับและเขียนบทโดย จอร์จ ลูคัส สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ภาพยนตร์ในไตรภาคชุดนี้ฉายระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005 และเล่าเรื่องราวก่อนเหตุการณ์ใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม (1977–83) ประกอบด้วย เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น (1999), เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม (2002) และ เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น (2005) ภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้เป็นไตรภาคที่สองใน มหากาพย์สกายวอร์คเกอร์ ในแง่ของการฉาย แต่มีเรื่องราวอยู่ในอันดับแรกสุด
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น | |
---|---|
โลโก้ สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น | |
กำกับ | |
บทภาพยนตร์ |
|
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | |
ตัดต่อ |
|
ดนตรีประกอบ | จอห์น วิลเลียมส์ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | 1999–2019: ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ตั้งแต่ 2019: วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์[a] |
วันฉาย |
|
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 1, 2, 3) |
ทำเงิน | 2.526 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉพาะเอพพิโซด 1, 2, 3) |
ภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้เล่าเรื่องราวการฝึกฝนเป็นเจไดของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ชายหนุ่มผู้มีพลังแรงกล้า (พ่อของ ลุค สกายวอล์คเกอร์และเลอา ออร์กานา ตัวละครหลักในไตรภาคเดิม) โดยอาจารย์ของเขา โอบีวัน เคโนบีและโยดา ต่อมาอนาคินเข้าสู่ด้านมืดของพลังแล้วกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องราวการทุจริตในสาธารณรัฐกาแลกติก, การทำลายล้างเจได และการขึ้นสู่อำนาจของจักรวรรดิกาแลกติก ภายใต้ซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส ภาพยนตร์สองเรื่องแรกได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย ขณะที่เรื่องที่สามได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก
เบื้องหลัง
แก้แกรี เคิร์ตซ์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชุดไตรภาคเดิม กล่าวว่า แผนคร่าว ๆ ของไตรภาคต้นได้มีการพัฒนาในช่วงระหว่างการร่างภาพยนตร์ดั้งเดิมสองเรื่องแรก[1] เมื่อปี ค.ศ. 1980 ลูคัสยืนยันว่าเขามีเนื้อเรื่องสำหรับภาพยนตร์เก้าเรื่องอยู่แล้ว[2] แต่เขาตัดสินใจยกเลิกภาพยนตร์ภาคต่อในปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากความเครียดในการถ่ายทำไตรภาคเดิมและแรงกดดันจากภรรยาของเขาที่ต้องการความสงบ[3] อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และช่วงต้นทศวรรษ 1990 รวมไปถึงการสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ (ซีจีไอ) ดลใจให้ลูคัสพิจารณาว่าเขาอาจจะกลับไปทบทวนมหากาพย์ของเขาอีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1989 ลูคัสกล่าวว่าภาพยนตร์ในไตรภาคต้นนั้นจะ "แพงอย่างไม่น่าเชื่อ"[4] หลังเขาได้ดูตัวอย่างซีจีไอเบื้องต้น สร้างโดย อินดัสเทรียลไลต์แอนด์แมจิก ให้กับภาพยนตร์ จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ลูคัสกล่าวว่า:
เราทดสอบให้กับสตีเวน สปีลเบิร์ก และเมื่อเรานำมันขึ้นบนจอภาพ ผมก็น้ำตาคลอ มันเป็นเหมือนช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ เหมือนการประดิษฐ์หลอดไฟหรือการคุยผ่านโทรศัพท์ครั้งแรก ช่องว่างสำคัญถูกข้ามไปแล้วและสิ่งต่าง ๆ จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป[5]
เมื่อปี ค.ศ. 1992 เขาบอกว่าเขามีแผนที่จะสร้างไตรภาคต้นในนิตยสาร ลูคัสฟิล์มแฟนคลับ และประกาศเรื่องนี้ในนิตยสาร วาไรตี ช่วงปลายปี ค.ศ. 1993[6] ผู้อำนวยการสร้าง ริก แม็คคาลัม ติดต่อ แฟรงก์ แดราบอนต์ ซึ่งเคยทำงานเขียนบทให้กับ เดอะยังอินเดียนา โจนส์ครอนิเคิลส์ และ มิตรภาพ ความหวัง ความรุนแรง เพื่อทำหน้าที่เขียนบทให้กับภาพยนตร์ชุดไตรภาคนี้[7] เขาได้รับการพิจารณา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 เมื่อเวลาผ่านไป ลูคัสเขียนบทภาพยนตร์ด้วยตนเอง[8] ก่อนลูคัสเลือกที่จะกำกับไตรภาคต้น ผู้กำกับ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได ริชาร์ด มาร์ควานด์ แสดงความสนใจต้องการที่จะกำกับหนึ่งในภาพยนตร์ไตรภาคต้น แต่เขาเสียชีวิตไปเสียก่อนเมื่อปี ค.ศ. 1987[9] ความนิยมของแฟรนไชส์มีมายาวนานด้วยสื่อจากจักรวาลขยายของ สตาร์ วอร์ส ทำให้ยังมีจำนวนผู้ชมอยู่เป็นจำนวนมาก มีการฉายใหม่ของภาพยนตร์ไตรภาคเดิมเมื่อปี ค.ศ. 1997 ได้มีการ "ปรับปรุง" ภาพยนตร์อายุยี่สิบปีด้วยการใส่ซีจีไอเพื่อให้จินตนาการถึงไตรภาคใหม่
ภาพยนตร์
แก้สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 เล่าเรื่องราวของเหล่าเจไดได้พบกับ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ วัยเด็ก และการคอรัปชั่นภายในวุฒิสภากาแลกติกโดย พัลพาทีน (ดาร์ธ ซิเดียส) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม ฉายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 เล่าเรื่องราว 10 ปีหลังเหตุการณ์ในเอพพิโซด 1 อนาคินเป็นศิษย์ของโอบีวัน เคโนบีและเขามีความรักต้องห้ามกับแพดเม่ ขณะเดียวกันสงครามโคลนก็ได้เริ่มต้นขึ้น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในแฟรนไชส์ที่ได้เรตติง PG-13[10] เล่าเรื่องราวของอนาคินเข้าสู่ด้านมืดของพลังและกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์[11]
ภาพยนตร์ | วันฉาย | ผู้กำกับ | ผู้เขียนบทภาพยนตร์ | เนื้อเรื่องโดย | ผู้อำนวยการสร้าง | ผู้จัดจำหน่าย |
---|---|---|---|---|---|---|
19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | จอร์จ ลูคัส | ริก แม็คคาลัม | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (ช่วงแรก) วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ | |||
16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 | จอร์จ ลูคัส | จอร์จ ลูคัสและโจนาธาน เฮลส์ | จอร์จ ลูคัส | |||
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 | จอร์จ ลูคัส |
เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น
แก้32 ปีก่อนเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิม อัศวินเจไดสองคน ไควกอน จินน์และศิษย์ของเขา โอบีวัน เคโนบี พบว่า สมาพันธ์การค้า ได้ทำการปิดกั้นรอบ ๆ ดาวเคราะห์นาบู พัลพาทีน วุฒิสมาชิกของดาวนาบู ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น ซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส ได้วางแผนการปิดกั้นดังกล่าวอย่างซ่อนเร้นเพื่อเป็นข้ออ้างที่เขาจะได้กลายเป็นสมุหนายกของสาธารณรัฐกาแลกติก ด้วยความช่วยเหลือของราชินีของนาบู แพดเม่ อมิดาลา, ไควกอนและโอบีวันหลบหนีจากการปิดกั้นได้ พวกเขาลงจอดที่ดาวทาทูอีน เพื่อซ่อมยานอวกาศและได้พบกับทาสเด็กอายุเก้าปีมีชื่อว่า อนาคิน สกายวอร์คเกอร์ ไควกอนเชื่อว่าเขาเป็น "ผู้ที่ถูกเลือก" จึงนำตัวอนาคินมาฝึกฝนเป็นเจได[12]
ในไตรภาคต้นนั้นแต่เดิมมีแผนที่จะเติมเต็มประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับไตรภาคเดิม แต่ลูคัสตระหนักว่าพวกเขาสามารถสร้างครึ่งแรกของหนึ่งเรื่องยาวที่เน้นไปที่เรื่องราวของอนาคิน[13] ทำให้ภาพยนตร์ชุดกลายเป็นมหากาพย์สกายวอร์คเกอร์ ในปี ค.ศ. 1994 ลูคัสเริ่มเขียนบทสำหรับภาพยนตร์เรื่องแรกในไตรภาคต้น ใช้ชื่อในช่วงแรกว่า เอพพิโซด 1: เดอะบีกินนิง หลังภาพยนตร์ฉาย ลูคัสประกาศว่าเขาจะกำกับภาคต่อไปอีกสองภาค[14]
เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม
แก้10 ปีต่อมา มีคนพยายามลอบสังหาร แพดเม่ อมิดาลา ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่เป็นวุฒิสมาชิกของนาบู อัศวินเจได โอบีวัน เคโนบี และศิษย์ของเขา อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ได้รับมอบหมายให้ปกป้องเธอ ขณะที่โอบีวันกำลังตามหาผู้ลอบสังหาร อนาคินและแพดเม่ต่างตกหลุมรักกันอย่างลับ ๆ สมุหนายกพัลพาทีน วางแผนที่จะดึงกาแลคซีให้เข้าสู่สงครามโคลน ระหว่างกองทัพโคลนของสาธารณรัฐซึ่งนำโดยเจไดกับสมาพันธรัฐระบบอิสระซึ่งนำโดยศิษย์ของพัลพาทีน เคาต์ ดูกู [15]
ร่างแรกของ เอพพิโซด 2 นั้นเสร็จสมบูรณ์ก่อนการถ่ายทำไม่กี่สัปดาห์ ลูคัสจ้าง โจนาธาน เฮลส์ นักเขียนจาก เดอะยังอินเดียนาโจนส์ครอนิเคิลส์ มาขัดเกลาบท[16] ลูคัสไม่แน่ใจว่าจะใช้ชื่อตอนอะไรดี ลูคัสจึงพูดติดตลกเรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "ผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของจาร์ จาร์" ("Jar Jar's Great Adventure")[17] ตอนที่เขียนบท จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ลูคัสเคยกำหนดให้แลนโด คาลริสเซียน เป็นโคลนจากดาวเคราะห์ของโคลน เพราะว่าสงครามโคลนเคยถูกพูดถึงใน ความหวังใหม่[18][19] ต่อมาเขาก็มีแนวคิดเกี่ยวกับกองทัพของโคลนจู่โจม ซึ่งมาจากดาวเคราะห์ที่ห่างไกล โจมตีสาธารณรัฐและถูกต่อต้านโดยเจได[20]
เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น
แก้สามปีหลังเกิดสงครามโคลน อนาคินเริ่มไม่ไว้วางใจสภาเจไดและเริ่มเห็นภาพนิมิตของแพดเม่ซึ่งเสียชีวิตขณะคลอดบุตร พัลพาทีนหลอกอนาคินว่าพลังแห่งด้านมืดสามารถช่วยชีวิตแพดเม่ไว้ได้ อนาคินซึ่งกำลังสิ้นหวัง ยอมเป็นศิษย์ของพัลพาทีน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดาร์ธ เวเดอร์ พัลพาทีนออกคำสั่งให้กวาดล้างเจไดและประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิกาแลกติก เวเดอร์ปะทะกับโอบีวันด้วยการดวลกระบี่แสงที่ดาวเคราะห์ภูเขาไฟมุสตาฟา ต่อมาแพดเม่ก็เสียชีวิตหลังให้กำเนิดแฝดสอง[11]
การทำงานของ เอพพิโซด 3 เริ่มต้นก่อน เอพพิโซด 2 จะฉาย โดยถ่ายทำหนึ่งฉากในช่วงแรกของการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องที่แล้ว แต่เดิมลูคัสบอกกับศิลปินแนวคิดว่าภาพยนตร์จะเปิดด้วยภาพสงครามโคลนจากสถานที่ต่าง ๆ[21] และมีฉากที่พัลพาทีนเปิดเผยกับอนาคินว่า เขาสร้างอนาคินขึ้นมาจากมิดิคลอเรียนส์ของเขา[22] ลูคัสได้ทบทวนและจัดเรียงเรื่องราวใหม่ทั้งหมด[23] โดยให้จบองก์แรกของภาพยนตร์ ด้วยอนาคินฆ่าเคาต์ ดูกู เป็นสัญญาณเริ่มทำให้เขาเข้าสู่ด้านมืด[24] หลังถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จในปี ค.ศ. 2003 ลูคัสเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของอนาคินหลายอย่าง โดยอนาคินเข้าสู่ด้านมืดจากการพยายามที่จะช่วยชีวิตของแพดเม่เป็นหลัก มากกว่าเชื่อว่าเจไดกำลังวางแผนที่จะล้มล้างสาธารณรัฐ การเขียนใหม่ประสบความสำเร็จได้จากการตัดต่อจากภาพที่ได้จากการถ่ายทำและการถ่ายใหม่และถ่ายซ่อมในลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 2004[25]
แก่นเรื่อง
แก้ลูคัสพยายามอย่างมีสติด้วยการทำให้ฉากและบทพูดระหว่างไตรภาคต้นและไตรภาคเดิมคู่ขนานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเดินทางของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ในไตรภาคต้นและการเดินทางของลุค ลูกชายของเขาในไตรภาคเดิม ลูคัสเรียกภาพยนตร์หกตอนแรกของแฟรนไชส์ว่าเป็น "โศกนาฏกรรมของดาร์ธ เวเดอร์"[26] ลูคัสกล่าวว่า ลำดับที่ถูกต้องในการดูภาพยนตร์คือดูตามหมายเลขตอน[27]
มีการอ้างอิงถึงศาสนาคริสต์จำนวนมาก เช่น การปรากฏตัวของ ดาร์ธ มอล ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้รับการออกแบบจากภาพลักษณ์ของปีศาจในศาสนาคริสต์ ซึ่งทั้งตัวเป็นสีแดงและมีเขาแหลม[28] วัฏจักรของภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส มีการเล่าเรื่องคล้ายกับศาสนาคริสต์ โดย อนาคิน สกายวอร์คเกอร์ คือ "ผู้ที่ถูกเลือก" ผู้ที่อยู่คำทำนายว่าจะนำสมดุลกลับคืนสู่พลัง โดยเขากำเนิดขึ้นมาจากการเกิดบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม อนาคินไม่เหมือนกับพระเยซู โดยอนาคินได้เข้าสู่ด้านมืดกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ ผู้ชั่วร้าย ซึ่งดูเหมือนการบรรลุชะตากรรมของเขาจะล้มเหลว จนกระทั่งในคำทำนายเป็นจริงใน การกลับมาของเจได มหากาพย์นำวิธีการเล่าเรื่องมาจาก การเดินทางของวีรบุรุษ ซึ่งเป็นแม่แบบที่พัฒนาโดย โจเซฟ แคมป์เบิลล์ นักปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ[28]
รัฐศาสตร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ สตาร์ วอร์ส ตั้งแต่เปิดตัวแฟรนไชส์เมื่อปี ค.ศ. 1977 โดยเน้นไปที่การต่อสู้ระหว่าง ระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ พัลพาทีนเป็นสมุหนายกก่อนที่จะกลายเป็นจักรพรรดิในไตรภาคต้น คล้ายกับบทบาทของฮิตเลอร์ก่อนแต่งตั้งตัวเองเป็น ฟือเรอร์[29] ลูคัสยังได้นำความเป็นผู้เผด็จการจากบุคคลในประวัติศาสตร์มาคู่ขนานกับตัวละครพัลพาทีน เช่น จูเลียส ซีซาร์, นโปเลียน โบนาปาร์ตและอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน[30][31][b] การกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ ที่ปรากฏใน ซิธชำระแค้น สะท้อนเหตุการณ์ของ คืนมีดยาว[34] การคอรัปชันของสาธารณรัฐกาแลกติกนำมาจากการล่มสลายของประชาธิปไตยของสาธารณรัฐโรมัน และการสถาปนาจักรวรรดิโรมัน[35][36]
การฉายและวางจำหน่ายใหม่
แก้เมื่อปี ค.ศ. 2011 บ็อกเซตส์ของภาพยนตร์ไตรภาคเดิมและไตรภาคต้นวางจำหน่ายในรูปแบบบลูเรย์ โดยมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง มีการวางแผนที่จะฉายภาพยนตร์ใหม่ในรูปแบบสามมิติทั้งหกเรื่องในแฟรนไชส์ แต่หลังการฉาย ภัยซ่อนเร้น ในรูปแบบสามมิติเมื่อปี ค.ศ. 2012 ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ ทำให้แผนดังกล่าวถูกยกเลิกและเน้นไปที่การสร้าง ไตรภาคต่อ แทน[37] เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2019 มีการประกาศว่าภาพยนตร์ไตรภาคต้นจะเปิดให้รับชมได้ผ่านบริการสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง ดิสนีย์+[38]
การตอบรับ
แก้สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น ได้รับการตอบรับที่หลากหลาย โดยเริ่มจากแง่ลบไปแง่บวกในแต่ละเรื่อง คำวิจารณ์ทั่วไปมักพูดถึงภาพยนตร์ว่า มีการใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และฉากเขียวมากเกินไป, ภาพยนตร์เหมือนละครมากเกินไปและบทพูดที่แข็ง รวมไปถึง ฉากโรแมนติกระหว่างอนาคินกับแพดเม่, ฉากการเมืองที่เชื่องช้าและตัวละครที่เหมือนการ์ตูนของจาร์ จาร์ บิงค์ส[c][40] ในทางตรงกันข้าม บางคนก็โต้แย้งว่าการจัดการปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นสู่อำนาจของลัทธิฟาสซิสต์ เป็นองค์ประกอบที่ดีในไตรภาคต้น[41] จอร์จ ลูคัส ตอบโต้คำวิจารณ์ในเชิงลบโดยกล่าวว่า พวกเขาตั้งใจสร้างภาพยนตร์ให้สำหรับเด็กอายุ "12 ปี" เหมือนกับภาพยนตร์ต้นฉบับ ในขณะที่ก็ยอมรับว่าแฟน ๆ ที่ได้ดูภาพยนตร์ต้นฉบับเมื่อตอนเป็นเด็กมีความคาดหวังที่แตกต่างกันไปเมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่[42] ไตรภาคต้นได้รับการสังเกตว่ายังมีองค์ประกอบที่รักษาไว้ให้กับแฟน ๆ รุ่นเก่า แม้ว่าเป้าหมายหลักคือ คนยุคมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นเด็กที่เกิดในช่วงที่ภาพยนตร์ฉาย[43]
หลายคนแสดงความผิดหวังกับการแสดงของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ในไตรภาคต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทที่ดูอ่อนแอและบทพูดที่ดูแข็ง ถึงแม้ว่าการแสดงของ เฮย์เดน คริสเตนเซน ในภาพยนตร์เรื่องที่สามจะได้รับการตอบรับที่ดีกว่า[44] ในทางตรงกันข้าม การแสดงเป็น โอบีวัน เคโนบี ของ ยวน แม็คเกรเกอร์ ได้ความคำชมโดยทั่วไปว่าเป็นการเดินตามรอยเท้าของ เซอร์ อเล็ก กินเนสส์[45] นาตาลี พอร์ตแมน แสดงความผิดหวังของเธอต่อการตอบรับที่ไม่ดีของไตรภาคต้น กล่าวว่า "เมื่อบางอย่างมีความคาดหวังมาก มันก็มีแต่จะทำให้ผิดหวังเท่านั้น เธอยังยอมรับว่า "ด้วยมุมมองของเวลา, มันถูกประเมินใหม่โดยผู้คนจำนวนมากที่ในตอนนี้รักภาพยนตร์จริง ๆ"[46]
ไตรภาคต้นได้รับบางคำวิจารณ์ที่เกี่ยวกับการออกแบบที่ไม่ตรงกับในไตรภาคเดิม ขณะที่ภาพยนตร์ในไตรภาคเดิมมีเทคโนโลยีที่เก่าและหยาบ ไตรภาคต้นมีการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมที่สวยงามและทันสมัย[47] บางคนวิจารณ์ว่า การเลือกการออกแบบนี้เพราะช่วงเวลาก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะแสดงถึงอารยธรรมที่ก้าวหน้ากว่า ถึงแม้ว่าใน ซิธชำระแค้น จะมีการออกแบบที่เข้าใกล้ไตรภาคเดิมมากขึ้น[48]
การตอบรับจากนักวิจารณ์
แก้ภาพยนตร์ | รอตเทนโทเมโทส์ | เมทาคริติก | ซีนะมาสกอร์ |
---|---|---|---|
ภัยซ่อนเร้น | 53% (6/10 เรตติงเฉลี่ย) (223 บทวิจารณ์)[49] | 51 (36 บทวิจารณ์)[50] | A−[51] |
กองทัพโคลนส์จู่โจม | 66% (6.62/10 เรตติงเฉลี่ย) (250 บทวิจารณ์)[52] | 54 (39 บทวิจารณ์)[53] | A−[51] |
ซิธชำระแค้น | 80% (7.29/10 เรตติงเฉลี่ย) (296 บทวิจารณ์)[54] | 68 (40 บทวิจารณ์)[55] | A−[51] |
รางวัลออสการ์
แก้รางวัลออสการ์ | ภาพยนตร์ | ||
---|---|---|---|
ภัยซ่อนเร้น | กองทัพโคลนส์จู่โจม | ซิธชำระแค้น | |
รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 72 | รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 75 | รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78 | |
แต่งหน้ายอดเยี่ยม | — | — | เสนอชื่อเข้าชิง |
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | — | — |
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | เสนอชื่อเข้าชิง | — |
การทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ
แก้ภาพยนตร์ | วันฉาย | ทุนสร้าง | ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ | อันดับสูงสุด | อ้างอิง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อเมริกาเหนือ | ปรับเงินตามอัตราเงินเฟ้อ (อเมริกาเหนือ)[n 1] |
ภูมิภาคอื่น | ทั่วโลก | อเมริกาเหนือ | ทั่วโลก | ||||
ภัยซ่อนเร้น | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 | $115 ล้าน | $474,544,677 | $815,518,000 | $552,500,000 | $1,027,044,677 | #15 | #35 | [57][58] |
กองทัพโคลนส์จู่โจม | 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 | $115 ล้าน | $310,676,740 | $482,820,000 | $338,721,588 | $649,398,328 | #73 | #130 | [59][60] |
ซิธชำระแค้น | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 | $113 ล้าน | $380,270,577 | $535,701,000 | $469,765,058 | $850,035,635 | #39 | #71 | [61][62] |
ทั้งหมด | $343 ล้าน | $1,165,491,994 | 1,834,039,000 | $1,360,986,646 | $2,526,478,640 |
- ↑ การปรับอัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อนเนื่องจากด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าภาพยนตร์สี่เรื่องแรกมีการฉายหลายรอบในแต่ละปีที่แตกต่างกัน ดังนั้นรายได้ของพวกเขาไม่สามารถปรับได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว จำนวนเงินที่ปรับอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 พบในหนังสือ Block, Alex Ben; Wilson, Lucy Autrey, บ.ก. (2010). George Lucas's Blockbusting: A Decade-By-Decade Survey of Timeless Movies Including Untold Secrets of Their Financial and Cultural Success. HarperCollins. p. 519. ISBN 978-0061778896. ทำการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้สอดคล้องกับ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางแห่งมินนิอาโปลิส โดยใช้จำนวนเงินของปี ค.ศ. 2005 เป็นฐาน[56]
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
- ↑ สิทธิ์การจัดจำหน่ายแผ่นภาพยนตร์จะถูกโอนให้กับดีสนีย์ในปี ค.ศ. 2020 ตามข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 2012 แต่ในที่สุด สิทธิ์ดังกล่าวก็ถูกโอนให้กับดีสนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2019 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการของฟอกซ์
- ↑ ในร่างแรกของเขา ลูคัสใช้เรื่องราวของผู้เผด็จการที่อยู่ในอำนาจด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ ในความคิดเห็นของเขา (กล่าวไว้ยุคไตรภาคต้น) ลูคัสกล่าวถึงความตั้งใจของนิกสันที่จะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22[32] แต่ประธานาธิบดีถูกฟ้องร้องและไม่ได้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สาม เพื่อนของเขา โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน พยายามต่อสู้เพื่อยกเลิกการแก้ไขนี้ หลังเขา ออก จากตำแหน่ง[33]
- ↑ แม้แต่แฟน ๆ ก็ไม่ชอบตัวละครดังกล่าว จนทำให้นักแสดง อาเหม็ด เบสต์ เกือบตัดสินใจฆ่าตัวตาย[39]
อ้างอิง
- ↑ "Gary Kurtz Reveals Original Plans for Episodes 1-9". TheForce.net. May 26, 1999. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
- ↑ Lucas, George (1980). "Interview: George Lucas" (PDF). Bantha Tracks (8).
- ↑ Kaminski 2008, p. 494.
- ↑ Kaminski 2008, p. 303.
- ↑ Kaminski 2008, p. 311.
- ↑ Kaminski 2008, p. 312.
- ↑ Kaminski 2008, p. 315.
- ↑ Kaminski 2008, pp. 338–39.
- ↑ "Richard Marquand interview: Return Of The Jedi, Star Wars". Den of Geek. June 25, 2013. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
- ↑ "Episode III Release Dates Announced". StarWars.com. April 5, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2008. สืบค้นเมื่อ March 27, 2008.
- ↑ 11.0 11.1 Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith (DVD). 20th Century Fox. 2005.
- ↑ Star Wars: Episode I – The Phantom Menace (DVD). 20th Century Fox. 2001.
- ↑ Kaminski 2008, pp. 299–300.
- ↑ "Star Wars Insider". Star Wars Insider (45): 19.
- ↑ Star Wars: Episode II – Attack of the Clones (DVD). 20th Century Fox. 2002.
- ↑ Kaminski 2008, p. 371.
- ↑ Kaminski 2008, p. 374.
- ↑ Bouzereau 1997, p. 196.
- ↑ Kaminski 2008, p. 158.
- ↑ Kaminski 2008, p. 162.
- ↑ Rinzler 2005, pp. 13–15.
- ↑ Rinzler 2005, p. 42.
- ↑ Rinzler 2005, p. 36.
- ↑ Kaminski 2008, pp. 380–84.
- ↑ Star Wars: Episode III Revenge of the Sith documentary "Within a Minute" (DVD documentary). 2005.
- ↑ Wakeman, Gregory (December 4, 2014). "George Lucas Was Terrible At Predicting The Future Of Star Wars". CinemaBlend. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
- ↑ Vargas, Alani (March 16, 2020). "So You Want to Have a 'Star Wars' Marathon? George Lucas Has the Correct Order to Do That In". Showbiz Cheat Sheet. สืบค้นเมื่อ March 19, 2020.
- ↑ 28.0 28.1 Moyers, Bill (April 26, 1999). "Of Myth And Men". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ April 20, 2009.
- ↑ Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 144. ISBN 9781118285251. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.
- ↑ "Star Wars: Attack of the Clones". Time. April 21, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2002. สืบค้นเมื่อ December 13, 2009.
The people give their democracy to a dictator, whether it's Julius Caesar or Napoleon or Adolf Hitler. Ultimately, the general population goes along with the idea ... That's the issue I've been exploring: how did the Republic turn into the Empire?
- ↑ Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 32. ISBN 9781118285251.
- ↑ Kaminski 2008, p. 95.
- ↑ Molotsky, Irvin (November 29, 1987). "Reagan Wants End of Two-Term Limit". The New York Times. New York City: New York Times Company.
- ↑ Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 341. ISBN 9781118285251.
- ↑ Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. pp. 130–33. ISBN 9781118285251.
- ↑ ""Star Wars" offers perspective into ancient history". University of Tennessee at Chattanooga. November 5, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2015. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
- ↑ Nast, Condé (February 10, 2017). "The 'Star Wars' We'll Never See". GQ. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019.
- ↑ Whitbrook, James (April 11, 2019). "The Mandalorian Will Premiere on Disney+ November 12". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ Newbold, Mark (January 5, 2019). "Ahmed Best: That Moment I Opened Up About Suicide". Fantha Tracks. สืบค้นเมื่อ June 1, 2019.
- ↑ Keith, Tamara (December 15, 2015). "Why The Politics Of The 'Star Wars' Universe Makes No Sense". NPR. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
- ↑ Placido, Dani Di (December 15, 2016). "Looking Back At The 'Star Wars' Prequel Trilogy". Forbes. สืบค้นเมื่อ May 31, 2019.
- ↑ Mancuso, Vinnie (April 13, 2017). "George Lucas: 'Star Wars' Is a 'Film for 12-Year-Olds'". Observer. สืบค้นเมื่อ May 31, 2019.
- ↑ Leadbeater, Alex (June 8, 2017). "When Did The Star Wars Prequels Become Cool?". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ June 1, 2019.
- ↑ Dixon, Chris (January 14, 2017). "Reevaluating the Star Wars Prequel Trilogy". Medium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-11. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
- ↑ Mangione, Nick (May 4, 2017). "Defending the Star Wars Prequels: Were They Really That Bad?". Geek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
- ↑ Travis, Ben (May 3, 2019). "Natalie Portman: Star Wars Prequels Backlash Was 'A Bummer'". Empire. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
- ↑ Lawler, Kelly (December 11, 2017). "Why I love the 'Star Wars' prequels (and you should too)". King. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-10. สืบค้นเมื่อ August 9, 2019.
- ↑ Asher-Perrin, Emmet (January 16, 2013). "Watching the Star Wars Prequels on Mute: An Experiment". TOR. สืบค้นเมื่อ August 9, 2019.
- ↑ "Star Wars Episode I: The Phantom Menace". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
- ↑ "Star Wars: Episode I – The Phantom Menace : Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
- ↑ 51.0 51.1 51.2 "CinemaScore". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
- ↑ "Star Wars Episode II: Attack of the Clones". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
- ↑ "Star Wars: Episode II – Attack of the Clones: Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
- ↑ "Star Wars Episode III: Revenge of the Sith". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
- ↑ "Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith: Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
- ↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
- ↑ "Star Wars: Episode I - The Phantom Menace (1999) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
- ↑ "Star Wars Episode I: The Phantom Menace (1999)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 29, 2017.
- ↑ "Star Wars: Episode II - Attack of the Clones (2002) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
- ↑ "Star Wars Episode II: Attack of the Clones (2002)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ February 24, 2018.
- ↑ "Star Wars: Episode III - Revenge of the Sith (2005) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
- ↑ "Star Wars: Episode III: Revenge of the Sith (2005)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 21, 2018.
บรรณานุกรม
แก้- Bouzereau, Laurent (1997). The Annotated Screenplays. Del Rey. ISBN 978-0-345-40981-2.
- Kaminski, Michael (2008) [2007]. The Secret History of Star Wars. Legacy Books Press. ISBN 978-0-9784652-3-0.
- Rinzler, Jonathan W. (2005). The Making of Star Wars, Episode III – Revenge of the Sith. Del Rey. ISBN 978-0-345-43139-4.