สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ (อังกฤษ: Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตดินแดนของมุสลิม

ปืนไฟกรีกใช้เป็นครั้งแรกในราชนาวีไบแซนไทน์ระหว่างสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ
วันที่ค.ศ. 634-ค.ศ. 1180
สถานที่
ผล โดยทั่วไปฝ่ายอาหรับได้เปรียบ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อาหรับผนวกลว้าน, เมโสโปเตเมีย และแอฟริกาเหนือ
คู่สงคราม
จักรวรรดิไบแซนไทน์[1]
จักรวรรดิบัลแกเรีย
อาณาจักรครูเสด
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์[2]
นครรัฐอิตาลี
จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีน,
จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์,
จักรวรรดิกาหลิปอับบาซียะห์,
อักห์ลาบิด,
อาณาจักร์อิเมียร์แห่งบารี,
อาณาจักรอิเมียร์แห่งครีต,
ฮัมดานิยะห์แห่งอเล็พโพ,
จักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์,
อาณาจักร์อิเมียร์แห่งซิซิลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรพรรดิเฮราคลิอัส,
เซอร์จิอัส,
ธีโอดอร์ ไทรธีเรียส ,
เกรกอรีเดอะพาทริเชียน ,
จักรพรรดิคอนสแตนสที่ 2,
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4,
จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2,
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 5,
จักรพรรดิลีโอที่ 5 เดอะอาร์มีเนียน,
จักรพรรดิธีโอฟิโลส,
จอห์น คัวร์คูอัส,
ฮิเมริออส,
จักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 2,
จักรพรรดิจอห์นที่ 1,
จักรพรรดิบาซิลที่ 2,
นิเคโฟรอส อูรานอส,
จอร์จ มานิอาคีส,
อันโดรนิคอส คอนโทสเตฟานอส
ซัยด อิบุน ฮาริษอาห์ ,
กาหลิปอะบูบักรฺ,
คอลิด อิบุน อัล-วาลีด,
กาหลิปอุมัร
อบู อุบัยดาห์ อิบุน อัล-จาร์ราห์,
อัมร อิบุน อัล-อาศ,
ชุราห์บิล อิบุน หะซันนา,
ยาซิด อิบุน อบู Yazid ibn Abu ซุฟยาน,
อิยาฎ อิบุน ฆอนม,
อัล-สุบัยร,
อับดุลลาห์ อิบุน ซาด,
ยะสีดที่ 1,
มุอาวิยะห์,
มัสละมะห์ อิบุน อะหมัด,
มุอาวิยะห์ อิบุน ฮีชาม,
สุไลมาน,
ฮารูน อัล-ราชีด,
อัล-มามูน,อัล-มูตาซิม,
ลีโอแห่งตริโปลี,
ซอยฟ อัล-เดาะละ

ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แต่ไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1

อ้างอิง แก้

  1. The Empire's levies included Christian Armenians, Arab Ghassanids, Mardaites, Slavs, and Rus'
  2. "Ghassan." Encyclopædia Britannica. 2006. Encyclopædia Britannica Online. 18 Oct. 2006 [1]

ดูเพิ่ม แก้