สหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง

สหภาพโซเวียตลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันกับนาซีเยอรมนีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1939 นอกเหนือจากข้อกำหนดของการไม่รุกราน กติกาสัญญาได้รวมถึงพิธีสารลับที่แบ่งดินแดนของโรมาเนีย โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย เบลารุส ยูเครน และฟินแลนด์ เข้าสู่ "เขตอิทธิพล" ของเยอรมันและโซเวียตโดยคาดว่าจะมีศักยภาพ "ดินแดนและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง" ของประเทศเหล่านี้[1] โจเซฟ สตาลิน และ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้เสนอข้อเสนอภายหลังการเข้าสู่ฝ่ายอักษะของสหภาพโซเวียต

ทหารโซเวียตที่แนวหน้าในช่วงการล้อมเลนินกราด
"ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม" ที่การประชุมยัลตา (แถวนั่งจากซ้ายไปขวา) วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน

เยอรมนีบุกครองโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 เปิดฉากสู่สงครามโลกครั้งที่สอง สตาลินรอจนถึงวันที่ 17 กันยายนก่อนจะเริ่มการบุกครองโปแลนด์ของตัวเอง[2] ส่วนหนึ่งของแคว้นคาเรเลียและซัลลาของฟินแลนด์ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตหลังจากสงครามฤดูหนาว ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และบางส่วนของโรมาเนีย (เบสซาเรเบีย, นอร์เทิร์นบูโควีนา และ Hertza region) ในปี 1989 สหภาพโซเวียตได้ยอมรับการดำรงอยู่ของพิธีสารลับของกติกาสัญญาระหว่างเยอรมนี - โซเวียตเกี่ยวกับเขตการปกครองตามแผนของดินแดนเหล่านี้[1] การบุกครองบูโควินาละเมิดกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ ขณะที่มันเป็นไปไกลกว่าเขตอิทธิพลของโซเวียตที่เห็นด้วยกับฝ่ายอักษะ[3]

ในวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ฮิตเลอร์ได้เริ่มต้นรุกรานสหภาพโซเวียต สตาลินมั่นใจว่าเครื่องจักรสงครามสัมพันธมิตรทั้งหมดจะหยุดเยอรมนี[4] และจากแผนให้ยืม-เช่าจากตะวันตก โซเวียตได้หยุดกองกำลังแวร์มัคท์ประมาณ 30 กิโลเมตรจากกรุงมอสโก ในอีกสี่ปีต่อมา สหภาพโซเวียตได้ต่อต้านการโจมตีของฝ่ายอักษะ เช่นที่ยุทธการที่สตาลินกราด และ ยุทธการที่คูสค์ และรุกไปข้างหน้าเพื่อชัยชนะในการรุกขนาดใหญ่ของสหภาพโซเวียต เช่นที่การรุกวิสตูลา–โอเดอร์

การต่อสู้ของโซเวียตส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่แนวรบด้านตะวันออก ซึ่งรวมถึงสงครามต่อเนื่องกับฟินแลนด์ แต่ก็บุกครองอิหร่าน (สิงหาคม 1941) โดยร่วมมือกับอังกฤษ และยังได้โจมตีญี่ปุ่น (สิงหาคม 1945) ซึ่งโซเวียตมีสงครามชายแดนก่อนหน้านี้จนถึงปี 1939

สตาลินได้พบกับ วินสตัน เชอร์ชิล และ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ในการประชุมที่เตหะราน และเริ่มพูดถึงสองแนวรบของสงครามกับเยอรมนีและอนาคตของยุโรปหลังสงคราม ในที่สุดยุทธการที่เบอร์ลินก็จบลงไปในเดือนเมษายน 1945 การต่อต้านการรุกรานของเยอรมนีและการรุกไปสู่ชัยชนะในตะวันออกต้องแลกกับการสูญเสียอย่างมหาศาลสำหรับสหภาพโซเวียต ซึ่งได้สูญเสียจำนวนทหารมากที่สุดในสงคราม โดยที่สหภาพโซเวียตสูญเสียมากกว่า 20 ล้านคน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "chathamhouse.org, 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-17.
  2. Goldman 2012, pp. 163–64.
  3. Brackman, Roman. The Secret File of Joseph Stalin: A Hidden Life (Psychology Press, 2001) p. 341, ISBN 978-0-71465-050-0
  4. Pearson, Clive (December 2008). "Stalin as War Leader". History Review 62. History Today. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.