สงครามคอซอวอ

(เปลี่ยนทางจาก สงครามโคโซโว)

สงครามคอซอวอ (อังกฤษ: Kosovo War) มักจะกล่าวรวมถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคอซอวอ เขตที่อยู่ทางตอนใต้ของเซอร์เบีย คือ:

  1. พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1996–99) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนชาวแอลเบเนียนที่เรียกว่า KLA หรือ UČK กับฝ่ายรัฐบาลยูโกสลาเวียที่จังหวัดคอซอวอ ซึ่งในขณะนั้นพลเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยในคอซอวอมีเชื้อสายแอลเบเนีย ปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรังเนื่องจากความขัดแย้งและต้องการแยกประเทศตั้งแต่ปี 1995 ที่โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนียฯ สามารถแยกประเทศได้ทำให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในคอซอวอต้องการแยกประเทศเพื่อไปรวมกับแอลเบเนียบ้าง
  2. พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) สงครามต่อเนื่องระหว่างยูโกสลาเวียกับนาโต ในช่วง 24 มีนาคม ถึง 10 มิถุนายน ค.ศ. 1999 มีการทิ้งระเบิดของทางนาโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการโจมตีกลับของทางฝ่าย UČK ทำให้รัฐบาลยูโกสลาเวียในขณะนั้นสั่งถอนกำลังทัพออกจากพื้นที่

บทนำ แก้

บนดินแดนแห่งความขัดแย้งทางเชื้อชาติของชาวยูโกสลาเวียเดิม (ประกอบด้วยเซอร์เบีย โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จังหวัดปกครองตนเองวอยวอดีนา และจังหวัดปกครองตนเองคอซอวอ) รัฐเซอร์เบียมีเชื้อสายส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บเชื้อสายเดียวกับสลาฟ (ใกล้ชิดกับรัสเซียนับถือคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์) และมีชนกลุ่มน้อยที่เป็นมุสลิมอันได้แก่ มาซิโดเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และคอซอวอ

ในอดีตที่ผ่านมายูโกสลาเวียปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ มีผู้นำที่มีความสามารถในการปกครองและผสานความเป็นสมานฉันท์ระหว่างเชื้อชาติ คือจอมพลยอซีป บรอซ ตีโต ทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติไม่มีปัญหามากนัก จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงผู้นำเมื่อตีโตถึงแก่กรรม ผู้นำที่ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง คือ สลอบอดัน มีลอเชวิช ซึ่งเป็นคนเชื้อสายเซิร์บหัวรุนแรง ทำให้ก่อชนวนปัญหาเชื้อชาติเกิดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อระบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียล่มสลายปลายปี พ.ศ. 2534 ทำให้ก่อเกิดสาธารณรัฐที่ต้องการแยกเป็นอิสระ ซึ่งประเทศที่สามารถแยกตัวได้สำเร็จได้แก่ โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนียฯ ตามลำดับ

ช่วงสงคราม แก้

ประเทศที่แยกตัวไปส่วนใหญ่จะมีปัญหาเนื่องจากชนเชื้อสายเซิร์บในประเทศไม่ต้องการแยกประเทศทำให้เกิดการปะทะในหลายพื้นที่ แต่ท้ายที่สุด โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย ก็สามารถแยกตัวได้สำเร็จและได้รับรองจากนานาชาติในการจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเองก็ต้องการแยกตัวออกไปเป็นประเทศใหม่ แต่ก็เป็นประเทศที่มีปัญหามากที่สุดเพราะชาวเซิร์บที่อยู่ในประเทศนั้นมีจำนวนมากกว่าประเทศอื่น ๆ จึงมีการรวมกำลังต่อต้านการแยกประเทศเพื่อจะเข้ารวมกับรัฐเซอร์เบีย ท้ายสุดปัญหาก็รุนแรงมากในช่วงปี พ.ศ. 2538 ซึ่งการต่อต้านและปะทะกันอย่างรุนแรงนั้นนำมาสู่การสังหารหมู่เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จนสหประชาชาติต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยและยุติศึก

มาถึงคราวของคอซอวอจะแยกตัวบ้างเพื่อไปรวมกับแอลเบเนีย ทางรัฐบาลเซิร์บไม่ยินยอม จึงทำการโจมตีและขับไล่ชาวมุสลิมเชื้อสายแอลเบเนียในคอซอวออย่างโหดร้ายทารุณ ในปี พ.ศ. 2542 ทำให้กองกำลังชาติพันธมิตรนำโดยเนโทและสหรัฐอเมริกาเข้ายับยั้ง โดยทำการโจมตียูโกสลาเวียทางอากาศอย่างหนักหน่วงเป็นเวลากว่า 90 วัน กดดันให้นายมีลอเชวิชยอมถอนทหาร และอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมเชื้อสายแอลเบเนียกลับเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ โดยมีกองกำลังชาติพันธมิตรคุ้มครองจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ปัญหาความรุนแรงในคอซอวอก็ยังไม่จบสิ้น แม้ว่านายมีลอเชวิชจะถูกจับกุม และตัดสินลงโทษโดยศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามแล้วก็ตาม การก่อวินาศกรรมในคอซอวอยังมีอยู่ต่อเนื่อง

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Bacevich & Cohen, Andrew J., Elliot A. (2001). War Over Kosovo: Politics and Strategy in a Global Age. Columbia University Press. สืบค้นเมื่อ 3 March 2013.
  • Daalder & O'Hanlon, Ivo H., Michel E. (2000). Winning Ugly: NATO's War to Save Kosovo. Brookings Institution Press. สืบค้นเมื่อ 13 March 2013.
  • Macdonald, Scott (2007). Propaganda and Information Warfare in the Twenty-First Century: Altered Images and Deception Operations. Routledge. สืบค้นเมื่อ 3 March 2013.
  • Mann, Michael (2005). The Dark Side of Democracy: Explaining Ethnic Cleansing. Cambridge University Press. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  • Mincheva & Gurr, Lyubov Grigorova, Ted Robert (2013). Crime-Terror Alliances and the State: Ethnonationalist and Islamist Challenges to Regional Security. Routledge. สืบค้นเมื่อ 27 February 2013.
  • Thomas, Nigel (2006). The Yugoslav Wars (2): Bosnia, Kosovo And Macedonia 1992–2001. Osprey Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-26. สืบค้นเมื่อ 12 June 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

รายงาน แก้

สื่อ แก้

แผนที่ แก้