สงครามอังกฤษ–พม่า

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

สงครามอังกฤษ-พม่า เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรสองแห่งที่กำลังแผ่ขยายอิทธิพล คือจักรวรรดิบริติชกับราชวงศ์โก้นบอง ซึ่งเป็นสงครามที่แพงที่สุดและยาวนานที่สุดของบริติชราช โดยมีค่าใช้จ่าย 5–13 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (500–1.38 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง ณ พ.ศ. 2566)[1] และกินเวลายาวนานกว่า 60 ปี สงครามอังกฤษ-พม่ามี ทั้งหมดสามครั้ง ได้แก่:

สงครามอังกฤษ–พม่า
ส่วนหนึ่งของ การล่าอาณานิคมของยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การยอมจำนนของกองทัพพม่าในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม
วันที่5 มีนาคม พ.ศ. 236729 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
สถานที่
ผล

ชัยชนะของอังกฤษ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อังกฤษยึดครองพื้นที่ซึ่งต่อมากลายเป็นบริติชพม่า
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ จักรวรรดิบริติช

ร่วมสงคราม:
 สยาม (ถึง พ.ศ. 2369)

 พม่า

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เฮนรี่ ก็อดวิน
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ การ์เน็ต วูลส์ลีย์
บริติชราช แฮร์รี เพรนเดอร์แกสต์
บริษัทอินเดียตะวันออก ลอร์ดแอเมิร์สต์
สหราชอาณาจักร เซอร์ เอดเวิร์ด แพเกต
สหราชอาณาจักร ซอร์อาร์ชิบัลด์ แคมป์เบลล์
สหราชอาณาจักร โจเซฟ วานตัน มอร์ริสัน
ร่วมสงคราม:
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี)
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) พระยาสุรเสนา (คุ้ม)
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) พระยาชุมพร (ซุ่ย ซุ่ยยัง)
ราชวงศ์โก้นบอง พระเจ้าจักกายแมง
ราชวงศ์โก้นบอง พระเจ้าพุกาม
ราชวงศ์โก้นบอง พระเจ้าสีป่อ
ราชวงศ์โก้นบอง มองจี
ราชวงศ์โก้นบอง เจาะโลน
ราชวงศ์โก้นบอง มหาพันธุละ 
ราชวงศ์โก้นบอง มหาเนเมียว 
ราชวงศ์โก้นบอง มินจอชัยสุระ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
บริษัทอินเดียตะวันออก Presidency armies
สหราชอาณาจักร กองทหารหลวง
ร่วมสงคราม:
อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) กองทัพหลวง

ราชวงศ์โก้นบอง กองทัพอาณาจักรพม่า

  • ทหารฉาน
กำลัง
มากกว่า 50,000 (รวมสยาม) มากกว่า 40,000
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ บางรายเสียชีวิตด้วยโรค ไม่ทราบ

ลำดับเวลา

แก้

การขยายตัวของอาณาจักรพม่าภายใต้ราชวงศ์โก้นบองส่งผลต่อแนวชายแดน โดยเคลื่อนตัวเข้าใกล้เขตบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษซึ่งต่อมาคือบริติชราช ส่งผลให้มีปัญหาผู้ลี้ภัยและการปฏิบัติทางทหารที่เลยข้ามพรมแดนที่ยังไม่กำหนดชัดเจน[2]

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง

แก้

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ สนธิสัญญารานตะโบส่งผลให้พม่าสูญเสียดินแดนที่เคยพิชิตในรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ, และรัฐยะไข่[3] อังกฤษยังยึดครองตะนาวศรี ด้วยตั้งใจที่จะใช้เป็นเครื่องต่อรองการเจรจาในอนาคตกับพม่าหรือสยาม[4] เมื่อศตวรรษผ่านไป บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเริ่มต้องการทรัพยากรและพื้นที่หลักของพม่าในยุคแผ่ขยายเขตแดนให้ยิ่งใหญ่[5]

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง

แก้

ปี พ.ศ. 2395 พลเรือจัตวาแลมเบิร์ตถูกส่งไปพม่าโดยลอร์ด ดาลฮูซี เนื่องด้วยปัญหาเล็กน้อยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาครั้งก่อน[3] พม่าได้ยอมผ่อนผันทันที รวมถึงปลดผู้ว่าราชการที่อังกฤษให้เหตุผลว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม ในที่สุดแลมเบิร์ตได้ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าทางทะเลโดยมีสถานการณ์ที่น่าสงสัย เป็นมูลเหตุเริ่มต้นของสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2395 ซึ่งสิ้นสุดลงโดยอังกฤษยึดครองภาคพะโค[2] และเปลี่ยนชื่อเป็นพม่าตอนล่าง สงครามดังกล่าวส่งผลให้เกิดการปฏิวัติในพระราชวังพม่า พระเจ้าพุกามถูกแทนที่โดยพระเจ้ามินดง พระอนุชาต่างมารดา[3]

สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม

แก้

พระเจ้ามินดงทรงพยายามปรับปรุงรัฐและเศรษฐกิจของพม่าให้ทันสมัยเพื่อเป็นอิสระ และทรงสถาปนาเมืองหลวงใหม่ที่มัณฑะเลย์ โดยพระองค์ดำริให้มีการเสริมสร้างป้อมปราการ[2][6] อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อต่อมาอังกฤษอ้างว่าพระเจ้าสีป่อเป็นทรราชย์ที่ตั้งใจเข้าข้างฝรั่งเศส[7] พระองค์สูญเสียการควบคุมอาณาจักร ทำให้เกิดความไม่สงบที่ชายแดน และทรงผิดสัญญาที่ลงนามโดยพระราชบิดาของพระองค์[2] อังกฤษประกาศสงครามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2428 พิชิตส่วนที่เหลือทั้งหมดของอาณาจักร ส่งผลให้พม่าทั้งหมดถูกยึดครอง[2][8]

อ้างอิง

แก้
  1. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps – Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 113, 125–127. ISBN 978-0-374-16342-6.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 San Beck Org.
  3. 3.0 3.1 3.2 Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1967). History of Burma (2 ed.). London: Susil Gupta. pp. 236–247.
  4. D.G.E. Hall (1960). Burma (PDF). Hutchinson University Library. pp. 109–113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-05-19.
  5. Thant Myint-U (2008). The River of Lost Footsteps (1 paperback ed.). USA: Farrar, Straus and Giroux. pp. 113–127.
  6. German Language Institute เก็บถาวร 2015-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. www.enotes.com
  8. Thant Myint-U (2008). The River of Lost Footsteps (1 paperback ed.). USA: Farrar, Straus and Giroux. pp. 161–162 + photo.

ดูเพิ่ม

แก้
  • Aung, Htin. The Stricken Peacock: Anglo-Burmese Relations 1752–1948 (Springer Science & Business Media, 2013).
  • Bruce, George. The Burma Wars, 1824–1886 (1973).
  • Gupta, AshwAni. Military Lessons of Burma (2015).
  • Messenger, Charles, ed. Reader's Guide to Military History (2001) pp 73–74.
  • Pollak, Oliver B. Empires in Collision: Anglo-Burmese Relations in the Mid-Nineteenth Century (1980)
  • Stewart, A.T.Q. Pagoda War: Lord Dufferin and the Fall of the Kingdom of Ava, 1885-186O (1972)
  • Tarling, Nicholas, ed. The Cambridge History of Southeast Asia, Vol. 2, Part 1: From c.1800 to the 1930s (2000) excerpt