สงครามอยุธยา–ล้านนา (พ.ศ. 1984–2017)

สงครามอยุธยา–ล้านนา (ศึกสองมหาราช)เป็นความขัดแย้งชายแดนที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1984 ถึง พ.ศ. 2017 โดยเริ่มขึ้นเมื่อเมืองในอาณาจักรล้านนาเข้าสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 1985 และยังคงมีความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา และรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา เป็นระยะมาจนถึงปี พ.ศ. 2017 อาณาจักรล้านนาได้รับดินแดนบางส่วนกลับคืนมา แต่ภายในอาณาจักรอ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจภายใน และความสูญเสียที่เกิดขึ้นระหว่างความขัดแย้ง โดยในปัจจุบัน อาณาจักรอยุธยาอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย ในขณะที่อาณาจักรล้านนาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย

สงครามอยุธยา–ล้านนา

แผนที่อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยาประมาณ พ.ศ. 1950
วันที่พ.ศ. 1984–2017[1]
สถานที่
ทางตอนเหนือของอาณาจักรอยุธยา และทางตอนใต้ของอาณาจักรล้านนา[3]
ผล สภาวะจนมุม[2]
คู่สงคราม
อาณาจักรอยุธยา[1] อาณาจักรล้านนา[1][2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระอินทราชา [3]
พระเจ้าติโลกราช
หมื่นโลกนคร
หมื่นหาญนคร[3][2]

เหตุการณ์ แก้

พระเจ้าติโลกราช
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

หลังจากท้าวซ้อยถูกสังหารโดยหมื่นโลกนคร เจ้าเมืองเทิงได้แต่งหนังสือถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ถือสวามิภักดิ์เพื่อให้ทรงกระทำสงครามกับอาณาจักรล้านนา พระองค์จึงเห็นควรเป็นโอกาสในการตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะเดียวกัน การแปรพักตร์ของเจ้าเมืองเทิงทราบถึงพระเจ้าติโลกราชจึงถูกประหารชีวิต ถึงกระนั้น กองทัพอยุธยาเคลื่อนทัพมาทางตอนใต้ของเมืองเชียงใหม่[4]

พระเจ้าติโลกราชทรงแต่งตั้งหมื่นโลกนครเป็นแม่ทัพและมอบหมายให้ยั้งทัพกองทัพอยุธยาขณะกำลังเคลื่อนพล กองทัพล้านนาตั้งทัพตรงข้ามกับค่ายทัพอยุธยา และส่งนายทหารล้านนาแทรกซึมเป็นตะพุ่น[ก]เพื่อจารกรรมกองทัพอยุธยา ถึงกระนั้น นายทหารล้านนาได้เริ่มปฏิบัติการณ์ตัดปลอกช้าง และฟันหางช้าง ทำให้เกิดความวุ่นวายภายในค่ายทัพ แล้วจึงส่งกำลังทหารบุกทลายค่ายทัพอยุธยาจนแตกพ่าย ในระหว่างนั้นพระเจ้าติโลกราชจึงให้ยึดเมืองแพร่และเมืองน่าน หลังจากการเริ่มใช้ปืนใหญ่ กองทัพอยุธยาได้เริ่มโจมตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1985 ซึ่งล้มเหลว และได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 1994[3]

ในปี พ.ศ. 1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์บริหารการทหารที่ก้าวหน้าอย่างมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] ในปี พ.ศ. 1994 พญาสองแควแปรพักตร์จากอยุธยา เข้าร่วมกับล้านนา ความขัดแย้งระหว่างอยุธยาและล้านนาปะทุครั้งที่สอง กองทัพล้านนาโดยหมื่นหาญนครยึดเมืองเชลียง[3] สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขณะทรงผนวช ได้ส่งภิกษุสมณทูตทูลขอเมืองเชลียงคืนแต่ไม่สำเร็จ กองทัพอยุธยาจึงเคลื่อนทัพ ในปี พ.ศ. 1995 กองทัพอยุธยายึดเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ แต่ถูกขับไล่โดยการสนับสนุนของอาณาจักรล้านช้าง[5] ในระหว่างนั้น กองทัพอยุธยาได้แทรกซึมเข้าเมืองเชียงใหม่ โดยส่งภิกษุเถระชาวพุกามออกอุบายให้ตัดต้นนิโครธที่แจ่งศรีภูมิ ซึ่งเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเชียงใหม่ เชื่อว่าเมืองเชียงใหม่เกิดอาเพศ[6]

 
พระอินทราชา พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ชนช้างกับหมื่นด้งนคร ในสงครามอยุธยา-ล้านนา ช่วงปี พ.ศ. 2000 ครั้งนั้นพระอินทราชาต้องกระสุนปืนเข้าที่พระพักตร์ (ภาพจากจิตรกรรมเรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร)

ในปี พ.ศ. 2000 ได้มีการปะทะโดยอาศัยช่วงความอ่อนแอของกำลังภายในเมืองเชียงใหม่ ขณะต่อมา กองทัพอยุธยายึดเมืองแพร่ขณะที่ล้านนากำลังตีเมืองเชียงตุง เพื่อการขยายอำนาจอาณาจักรล้านนาทางตอนเหนือของเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้น พระอินทราชา[ข]ถูกสังหารด้วยปืนของกำลังทหารล้านนาบริเวณดอยขุนตาล ทั้งสองฝ่ายเสียหายหนัก กองทัพทั้งสองสามารถตั้งรับได้เป็นระยะ ในปี พ.ศ. 2004 กองทัพล้านนาพยายามตีหัวเมืองเหนือของอาณาจักรอยุธยา ในปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงให้เมืองสองแควเป็นเมืองหลวงและเสด็จประทับเพื่อควบคุมเจ้าเมืองฝ่ายหัวเมืองเหนือ[2][6]

ในปี พ.ศ. 2017 กองทัพอยุธยายึดเมืองเชลียง อาณาจักรล้านนายุติความขัดแย้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในและความสูญเสียกำลัง ในปีต่อมา อาณาจักรล้านนาจึงขอเจรจาทำสัญญาไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งของทั้งสองอาณาจักร[2]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. คนตัดหญ้าให้ช้าง
  2. พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Jumsai 1976, p. 54.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Jumsai 1976, pp. 58–61.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Jumsai 1976, pp. 54–57.
  4. Jumsai 1976, pp. 53–54.
  5. 5.0 5.1 Dupuy & Dupuy 1977, p. 443.
  6. 6.0 6.1 Dupuy & Dupuy 1977, p. 444.

บรรณานุกรม แก้

  • Dupuy, Trevor N.; Dupuy, R. Ernest (1977). The Encyclopedia of Military History. New York, N.Y.: Harper & Row. ISBN 0-06-011139-9.
  • Jumsai, Manich (1976). "King Tilokarat (1441–1485)". Popular History of Thailand. Bangkok,Thailand: Claremint. ASIN B002DXA1MO.