สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย (ในแทนซาเนียรู้จักกันในชื่อ สงครามคาเกรา (สวาฮีลี: Vita vya Kagera) และในยูกันดารู้จักกันในชื่อ สงครามประกาศอิสรภาพ ค.ศ. 1979)[a] เป็นสงครามระหว่างประเทศยูกันดาและประเทศแทนซาเนียระหว่างปี พ.ศ. 2521–2522 กองทหารบางส่วนของอามินมาจากกองทหารของมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย สงครามนี้นำไปสู่การล้มล้างระบอบการปกครองของอีดี อามิน

สงครามยูกันดา-แทนซาเนีย

ยุทธการในสงครามยูกันดา-แทนซาเนีย
วันที่9 ตุลาคม ค.ศ. 1978 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1979
(7 เดือน 3 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผล

แทนซาเนียชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สถานะเดิมก่อนสงคราม
คู่สงคราม
 ยูกันดา
 ลิเบีย
รัฐปาเลสไตน์ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์
สนับสนุนโดย:
 ปากีสถาน
 ซาอุดีอาระเบีย

 แทนซาเนีย
ยูกันดา กองทัพปลดแอกแห่งชาติยูกันดา (UNLA)

 Mozambique
สนับสนุนโดย:
 แซมเบีย
แองโกลา แองโกลา
เอธิโอเปีย
 แอลจีเรีย
 อิสราเอล(ในส่วนของปฏิบัติการเอนเทบเบ)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ยูกันดา อีดี อามิน
ยูกันดา ยูซุฟ โกวน
ยูกันดา Isaac Maliyamungu
ยูกันดา Ali Fadhul
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี
รัฐปาเลสไตน์ มุตลัก ฮัมดาน (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)
รัฐปาเลสไตน์ มะห์มูด ดะอ์อาส
แทนซาเนีย จูเลียส เญเรเร
แทนซาเนีย อับดุลเลาะห์ ทวาลิโป
แทนซาเนีย ทูไมเนียล กีเวลู
แทนซาเนีย David Musuguri
แทนซาเนีย Silas Mayunga
ยูกันดา ติตู โอเกลโล
ยูกันดา เดวิด โอยิเต-โอจ็อก
ยูกันดา โยเวลี มูเซเวนี
กำลัง
ยูกันดา 20,000
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย 4,500
รัฐปาเลสไตน์ 400+
แทนซาเนีย 150,000
ยูกันดา 2,000
โมซัมบิก 800
ความสูญเสีย
ทหารยูกันดาเสียชีวิตประมาณ 1,000 นาย
ทหารยูกันดาถูกจับกุม 3,000 นาย
ทหารลิเบียเสียชีวิตมากกว่า 600 นาย
ทหารลิเบียถูกจับกุม 59 นาย
ทหารปาเลสไตน์เสียชีวิต/หายตัว 12–200 นาย
ทหารแทนซาเนียเสียชีวิต 373 นาย
นักรบ UNLA เสียชีวิตประมาณ 150 นาย
พลเมืองแทนซาเนียประมาณ 1,500 คนและพลเมืองยูกันดามากกว่า 500 คนเสียชีวิต

สาเหตุการเกิดสงคราม แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยูกันดากับแทนซาเนียกระท่อนกระแท่นมานานหลายปีก่อนเกิดสงคราม หลังการยึดอำนาจของอามินในปี พ.ศ. 2514 ผู้นำแทนซาเนียจูเลียส ไนเรอร์ เสนอให้มิลตัน โอโบเต ลี้ภัยมาที่ประเทศของตน โอโบเตและผู้ลี้ภัยอีก 20,000 คนตอบตกลง ในปีถัดมากลุ่มของผู้ลี้ภัยเข้าบุกยูกันดาเพื่อทำการปลดอามินออกจากตำแหน่งแต่ไม่สำเร็จ อามินตำหนิไนเรอร์ที่คิดเป็นศัตรูของเขา ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเข้าสู่สถานการณ์ตึงเครียดหลายปี

ต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2521 มีกองกำลังทหารเข้าซุ่มโจมตีอามิน ณ ที่ทำการประธานาธิบดีในกรุงกัมปาลา แต่อามินและครอบครัวหลบหนีออกมาได้ทางเฮลิคอปเตอร์[5] เหตุการณ์แบบนี้เริ่มเกิดขึ้นอยู่บ่อนครั้งเมื่อคนใกล้ชิดของอามินแสดงอาการหวั่นกลัว เขาต้องเผชิญกับความแตกแยกภายในประเทศยูกันดามากขึ้น[6] เมื่อมุสตาฟา อดริซี รองประธานาธิบดีของอามินได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่มีพิรุธว่ามีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง กองทหารที่อารักขาอดริซี (และทหารอื่นที่ไม่พอใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) ทำการขัดขืนต่อคำสั่งทางทหาร อามินได้ส่งกองพันราชสีห์ (Simba) ที่คัดสรรมาเพื่อปราบปรามกลุ่มทหารกบฏที่ทำการขัดขืน กลุ่มกบฏบางส่วนข้ามไปยังชายแดนของประเทศแทนซาเนีย[5][7] กลุ่มกบฏตั้งฐานต่อต้านกองทัพของอามินในประเทศแทนซาเนีย

อามินประกาศสงครามต่อแทนซาเนีย ส่งกองทหารไปโจมตีและยึดเอาบางส่วนของเมืองคาเกลา ดินแดนของประเทศแทนซาเนีย และอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของยูกันดา

สงคราม แก้

ไนเรอร์ระดมพลกองทัพประชาชนแทนซาเนีย (Tanzania People's Defence Force) และทำการโต้กลับกองทัพของอามิน ในอีก 2–3 สัปดาห์ต่อมากองทัพแทนซาเนียมีสมาชิกมากมายอาทิตำรวจ, ราชทัณฑ์, ข้าราชการและกองทหารอาสาสมัคร แทนซาเนียรับกลุ่มต่อต้านอามินมากมายที่ถูกเนรเทศ รวมตัวเป็นกองทัพปลดแอกแห่งชาติยูกันดา (Uganda National Liberation Army : UNLA) ที่ประกอบไปด้วยกองทหารกิโกซี มาลุม (เป็นภาษาสวาฮีลีแปลว่ากองกำลังพิเศษ) นำโดยติโต โอเกลโลและเดวิด โอยิเต-โอจ็อก, กลุ่มแนวหน้าพาชาติพ้นภัย (Front for National Salvation : FRONASA) นำโดยโยเวลี มุเซเวนี และกลุ่มคุ้มครองการเคลื่อนไหวของยูกันดานำโดยอเกนา พี'โอจ็อก, วิลเลียม โอมาเรีย และอเตเกอร์ อีจาลู

กองทัพแทนซาเนียได้นำเครื่องยิงจรวดคัทยูชา (Katyucha Rocket Launcher) ของรัสเซีย (ในยูกันดาเรียกว่า saba saba) มาใช้ในการยิงเป้าหมายภายในประเทศยูกันดา[8] จนทำให้กองทัพของยูกันดาต้องถอยไปตั้งหลักกันใหม่ มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี ผู้นำลิเบียจัดส่งกองทหาร 2,500 นายให้แก่อามิน พร้อมรถถัง T-54, รถถัง T-55, รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ BTR APCs, เครื่องยิงจรวด BM-21 Katyusha MRLs, เหล่าทหารปืนใหญ่, เครื่องบินรบ MiG-21s และเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-22[9] อย่างไรก็ตามลิเบียก็ได้รับรายงานจากทางแนวหน้าว่าลับหลังลิเบีย กองทัพยูกันดาได้ใช้รถถังที่ได้มาขนทรัพย์สมบัติที่ปล้นมาได้จากศัตรู[10]

กองพันทหารของลิเบียเป็นการผสมรวมกันของกองทัพลิเบีย, ประชาชนอาสาสมัคร และกองทหารอาหรับ หน่วยย่อยซาฮาราน-แอฟริกัน กองพันนี้ถึงส่งมาปฏิบัติภารกิจนอกประเทศ[9]

แทนซาเนียได้ร่วมกับกลุ่ม UNLA เคลื่อนที่ไปยังตอนเหนือของกรุงกัมปาลา แต่ต้องล่าช้าด้วยหนองบึงที่ลึกทางเหนือของเมืองลุกายาเป็นอุปสรรค ทางแทนซาเนียจึงตัดสินใจส่งทหาร 201 หมู่ข้ามถนนที่จองไว้เหนือหนองดังกล่าวตราบที่ถนนยังใช้งานได้อยู่ ทหารอีก 208 หมู่เดินตามริมตลิ่งด้านตะวันตกของหนองน้ำลึกในกรณีที่ถนนที่จองไว้เหนือบึงแออัดหรือถูกทำลาย แทนซาเนียมีแผนที่จะเข้าตีกองพันทหารของลิเบียเพื่อยึดเอารถถัง T-55 12 คัน, รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ APCs 12 คันและเครื่องยิงจรวด BM-21 MRLs มีเจตนาที่จะขยายกำลังถึงเมืองมาซากา แต่เกิดการปะทะกันที่เมืองลุกาย่าในวันที่ 10 มีนาคม แทนซาเนียส่งกองทหาร 201 หมู่ถอยกลับในช่วงชุลมุนอย่างทุลักทุเล อย่างไรก็ตามแทนซาเนียได้ทำการตีโต้ในคืนวันที่ 11-12 มีนาคมจาก 2 ทิศทาง ดังนี้ ทหาร 201 หมู่ที่จัดทัพใหม่เข้าตีทางทิศใต้ อีก 208 หมู่เข้าตีทางตะวันตกเฉียงเหนือ แทนซาเนียพิชิตชัยชนะ กองทัพใหญ่จากลิเบียที่ส่วนใหญ่เป็นทหารอาสาสมัครแตกและถอยหนีอย่างรวดเร็ว มีรายงานว่ามีชาวลิเบียเสียชีวิตมากกว่า 200 คนและอีก 200 คนเป็นพันธมิตรทหารยูกันดา

แทนซาเนียและกองกำลัง UNLA พบกับศึกเล็กศึกน้อยหลังสมรภูมิที่ลุกายา ขณะที่เคลื่อนทัพต่อไปยังด้านตะวันตกของกรุงกัมปาลา สถานที่แรกที่เคลื่อนทัพไปถึงคือท่าอากาศยานเอนเทบเบ และที่นั่นได้ทำการปลดแอกอิสรภาพกรุงกัมปาลาในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2522 มีกองทหารยูกันดาหรือไม่ก็ลิเบียเพียง 2–3 หน่วยเป็นอุปสรรคไม่น้อย เคนเน็ธ มิชาเอล โพลลัก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองและการทหารของตะวันออกกลางได้กล่าวเอาไว้ว่า ปัญหาใหญ่ของกองทหารแทนซาเนียคือขาดแคลนแผนที่ของกรุงกัมปาลา[9] อามินหนีไปยังลิเบียเป็นที่แรก ก่อนจะเดินทางลี้ภัยไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย กองกำลังของลิเบียถอนกำลังไปยังเมืองจินจาก่อนจะถอยไปยังประเทศเคนยาและเอธิโอเปียเป็นที่สุดท้าย กองทัพของแทนซาเนียยังคงอยู่ในยูกันดาจนสถานการณ์สงบเมื่อกลุ่มปกป้องการเมือง UNLA (UNLF) จัดระเบียบการเลือกตั้งลงรัฐธรรมนูญของประเทศอีกครั้ง

รัฐบาลแทนซาเนียได้แจกจ่ายเหรียญกล้าหาญ Nishani ya Vita โดยเหรียญจารึกคำว่า Vita-1978-1979 (ด้านบน) และ Tanzania (ด้านล่าง) ส่วนด้านหลังเป็นด้านเรียบ

หลังสงคราม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ความขัดแย้งนี้มีหลายชื่อ เช่น "สงครามยูกันดา–แทนซาเนีย",[1] "สงครามคาเกรา",[2] "สงครามประกาศอิสรภาพ ค.ศ. 1979"[3] และ "สงครามยูกันดาที่สอง" เพื่อแยกจากความขัดแย้งยูกันดา–แทนซาเนียใน ค.ศ. 1972[4]

อ้างอิง แก้

  1. Lagarde 1979, p. 1.
  2. Fleisher 2003, p. 81.
  3. "How 'unity' died in Uganda". The Independent (Kampala). 8 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  4. Hilgers 1991, p. 162.
  5. 5.0 5.1 "An Idi-otic Invasion" เก็บถาวร 2012-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TIME magazine, Nov. 13, 1978.
  6. "Not even an archbishop was spared" เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Weekly Observer, February 16, 2006.
  7. Library of Congress Country Studies: Uganda. Military Rule Under Amin
  8. "Fighting for Amin", The East African, April 8, 2002.
  9. 9.0 9.1 9.2 Kenneth M. Pollack, Arabs at War: Military Effectiveness 1948–91, University of Nebraska Press, Lincoln and London, 2002, p.369-373, ISBN 0-8032-3733-2
  10. OnWar.com

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้