สงครามกรุงทรอย
สงครามกรุงทรอย (อังกฤษ: Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (กรีกโบราณ: Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน
สงครามกรุงทรอย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
The Procession of the Trojan Horse in Troy โดยGiovanni Domenico Tiepolo | |||||||
|
สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท[1] คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ[2]
ต้นเหตุของสงคราม
แก้พระประสงค์ของซุส
แก้การตัดสินของปารีส
แก้มหาเทพซุสทรงทราบคำทำนายจากเทพีเธมิส (Themis) หรือ โพรมีเทียสซึ่งได้รับการปลดปล่อยจากการจองจำในเทือกเขาคอเคซัสโดยเฮราคลีส ว่าพระองค์จะถูกโค่นลงโดยโอรสของตนเอง เหมือนอย่างที่พระองค์เคยปราบโครนัสพระบิดาของตนมาแล้ว ยังมีอีกคำทำนายหนึ่งว่านางอัปสรทะเล เธทิส ซึ่งพระองค์ตกหลุมรักเข้า จะให้กำเนิดบุตรที่เก่งกล้ากว่าบิดา[3] ด้วยเหตุนี้เธทิสจึงถูกส่งไปเป็นชายาของกษัตริย์มนุษย์ชื่อ เพเลอัส บุตรแห่งไออาคอสตามคำสั่งของมเหสีเฮราผู้เลี้ยงดูเธทิสมา[4]
เทวดาทุกตนได้รับเชิญไปงานอภิเสกสมรสของ เพเลอัส กับ เธทิส และต่างก็นำของขวัญไปมากมาย[5] เว้นก็แต่ เอริส เทพีแห่งความวิวาทขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้ถูกรับเชิญและห้ามเข้ามาในงานตามคำสั่งของซุส[6] เอริสโกรธและรู้สึกเสียหน้า จึงโยนแอปเปิ้ลทองคำ (το μήλον της έριδος) อันเป็นของขวัญที่ตนนำมาเข้าไปในงาน โดยสลักคำว่า καλλίστῃ หรือ "แด่ผู้ที่งามที่สุด"[7] ไว้บนแอปเปิ้ล ฯ สามเทวีแห่งโอลิมปัส ได้แก่ เฮรา, อะธีนา, และ แอโฟรไดที ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในผลแอปเปิ้ล และโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน แต่ก็ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดยอมออกความเห็นตัดสินว่าเทพีองค์ไหนมีความงามเหนือกว่าคู่แข่ง ในที่สุดมหาเทพซุสจึงมีบัญชาให้เทพเฮอร์มีสนำเทวีสวรรค์ทั้งสามไปหาปารีสเจ้าชายแห่งทรอย ปารีสนั้นไม่ทราบถึงชาติกำเนิดของตน เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างเด็กเลี้ยงแกะบนภูเขาไอด้า[8] เนื่องจากมีคำนายว่าเด็กคนนี้จะนำความล่มสลายมาสู่กรุงทรอย[9] วันหนึ่งหลังจากปารีสชำระกายด้วยน้ำพุบนเขาไอด้าเสร็จ เทพธิดาทั้งสามก็ปรากฏตัวให้เขาเห็นด้วยสรีระอันเปลือยเปล่า ถึงกระนั้นปารีสก็ยังไม่สามารถตัดสินผู้ชนะได้ เหล่าเทวีจึงต้องใช้วิธีติดสินบน โดยอะธีนาเสนอจะทำให้ปารีสเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้ และมีทักษะในการศึกสงครามเหนือกว่าวีรบุรุษนักรบคนใดๆ, เฮราเสนออำนาจทางการเมือง และสิทธิปกครองทั้งเอเชียให้, ส่วนเทพธิดาแอโฟรไดทีเสนอให้ความรักของสตรีที่งามที่สุดในโลก(ซึ่งหมายถึงเฮเลนแห่งสปาร์ตา)แก่ปารีส ปารีสตกลงมอบแอปเปิ้ลทองคำให้แก่แอโฟรไดที หลังจากนั้นปารีสก็ออกผจญภัยจนกลับมาสู่กรุงทรอย
เพเลอัสกับเธทิสให้กำเนิดบุตรชาย และตั้งชื่อให้ว่าอคิลลีส มีคำทำนายว่าหากอคิลลีสไม่ตายในวัยชราโดยไม่มีใครรู้จัก ก็จะตายแต่หนุ่มแน่นในสนามรบแต่กวีจะร้องขับขานวีรกรรมของเขาให้มีเกียรติก้องขจรไกลไปชั่วนิรันด์[10] ต่อมาเมื่ออคิลลีสอายุได้เก้าขวบ แคลคัสโหรเอกของอากาเมมนอน พยากรณ์ว่าจะตีเอากรุงทรอยได้จำเป็นต้องอาศัยกำลังของอะคิลีส[11] มีตำนานจากหลายๆต้นเรื่องระบุว่า เธทิสผู้แม่พยายามทำให้อะคิลีสคงกระพันในขณะที่ยังเป็นทารก บางตำนานเล่าว่าหล่อนถือลูกชายไว้เหนือกองไฟทุกคืน เพื่อเผาส่วนที่เป็นมนุษย์ปุถุชนของเขาให้สิ้นไป และถูเขาด้วยอมฤตภาพ หรือภัตตาหารเทพแอมโบรเซีย (กรีก: ἀμβροσία) ในเวลากลางวัน การกระทำดังกล่าวเท่ากับเป็นการฆ่าลูกชายในเวลากลางคืน และชุบให้ฟื้นขึ้นในเวลากลางวัน เมื่อเพเลอัสพบเห็นเข้าจึงสั่งให้หยุดเสีย[12] อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าเธทิสนำอคิลลีสไปอาบน้ำในแม่น้ำสติกซ์ที่ไหลผ่านปรโลก เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน แต่เพราะหล่อนจับข้อเท้าของบุตรไว้ร่างกายส่วนนี้จึงไม่ถูกน้ำ ไม่ได้รับอมตะภาพและไม่ทนต่อการโจมตี ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ส้นเท้าของอคิลลีส" หมายถึงจุดอ่อน ฯ อคิลลีสเติบโตขึ้นมากลายเป็นนักรบผู้แกล้วกล้าที่สุดในหมู่มนุษย์ ธีทิสผู้แม่กลัวคำทำนายของแคลคัสจึงนำลูกชายไปซ่อนเสียที่เกาะสกีรอส (กรีก: Σκύρος) ณ ราชฐานของกษัตริย์ไลโคมีดีส (กรีก: Λυκομήδης) โดยให้แต่งตัวเหมือนเด็กผู้หญิง[13] แต่โอดิสเซียสใช้ปัญญาล่อให้อคิลลีสเผยตัวออกมา
ปารีสและเฮเลนหนีตามกัน
แก้การรวบรวมกำลังรบของชาวอะเคียน และการเดินทัพครั้งแรก
แก้โอดิสเซียสกับอคิลลีส
แก้การรวมพลที่เอาลิส
แก้การรวมทัพครั้งที่ 2
แก้สงครามเก้าปี
แก้ฟิลัคตีตีส
แก้ทัพกรีกเดินทางถึงทรอย
แก้การทัพ ดอแลน ของ อคิลลีส
แก้อ่านเพิ่ม
แก้นักเขียนสมัยโบราณ
แก้- Apollodorus, Gods & Heroes of the Greeks: The Library of Apollodorus, translated by Michael Simpson, The University of Massachusetts Press, (1976). ISBN 0-87023-205-3.
- Apollodorus, Apollodorus: The Library, translated by Sir James George Frazer, two volumes, Cambridge MA: Harvard University Press and London: William Heinemann Ltd. 1921. Volume 1: ISBN 0-674-99135-4. Volume 2: ISBN 0-674-99136-2.
- Euripides, Andromache, in Euripides: Children of Heracles, Hippolytus, Andromache, Hecuba, with an English translation by David Kovacs. Cambridge. Harvard University Press. (1996). ISBN 0-674-99533-3.
- Euripides, Helen, in The Complete Greek Drama, edited by Whitney J. Oates and Eugene O'Neill, Jr. in two volumes. 1. Helen, translated by E. P. Coleridge. New York. Random House. 1938.
- Euripides, Hecuba, in The Complete Greek Drama, edited by Whitney J. Oates and Eugene O'Neill, Jr. in two volumes. 1. Hecuba, translated by E. P. Coleridge. New York. Random House. 1938.
- Herodotus, Histories, A. D. Godley (translator), Cambridge: Harvard University Press, 1920; ISBN 0-674-99133-8. Online version at the Perseus Digital Library].
- Pausanias, Description of Greece, (Loeb Classical Library) translated by W. H. S. Jones; Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press; London, William Heinemann Ltd. (1918). Vol 1, Books I–II, ISBN 0-674-99104-4; Vol 2, Books III–V, ISBN 0-674-99207-5; Vol 3, Books VI–VIII.21, ISBN 0-674-99300-4; Vol 4, Books VIII.22–X, ISBN 0-674-99328-4.
- Proclus, Chrestomathy, in Fragments of the Kypria เก็บถาวร 2005-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน translated by H.G. Evelyn-White, 1914 (public domain).
- Proclus, Proclus' Summary of the Epic Cycle เก็บถาวร 2009-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, trans. Gregory Nagy.
- Quintus Smyrnaeus, Posthomerica, in Quintus Smyrnaeus: The Fall of Troy เก็บถาวร 2019-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Arthur Sanders Way (Ed. & Trans.), Loeb Classics #19; Harvard University Press, Cambridge MA. (1913). (1962 edition: ISBN 0-674-99022-6).
- Strabo, Geography, translated by Horace Leonard Jones; Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press; London: William Heinemann, Ltd. (1924)
นักเขียนสมัยใหม่
แก้- Burgess, Jonathan S. 2004. The Tradition of the Trojan War in Homer and the Epic Cycle (Johns Hopkins). ISBN 0-8018-7890-X.
- Castleden, Rodney. The Attack on Troy. Barnsley, South Yorkshire, UK: Pen and Sword Books, 2006 (hardcover, ISBN 1-84415-175-1).
- Davies, Malcolm (2000). "Euripides Telephus Fr. 149 (Austin) and the Folk-Tale Origins of the Teuthranian Expedition" (PDF). Zeitschrift für Papyrologie und Epigraphik. 133: 7–10.
- Durschmied, Erik. The Hinge Factor:How Chance and Stupidity Have Changed History. Coronet Books; New Ed edition (7 Oct 1999).
- Frazer, Sir James George, Apollodorus: The Library, two volumes, Cambridge MA: Harvard University Press and London: William Heinemann Ltd. 1921. Volume 1: ISBN 0-674-99135-4. Volume 2: ISBN 0-674-99136-2.
- Graves, Robert. The Greek Myths, Penguin (Non-Classics); Cmb/Rep edition (April 6, 1993). ISBN 0-14-017199-1.
- Kakridis, J., 1988. Ελληνική Μυθολογία ("Greek mythology"), Ekdotiki Athinon, Athens.
- Karykas, Pantelis, 2003. Μυκηναίοι Πολεμιστές ("Mycenean Warriors"), Communications Editions, Athens.
- Latacz, Joachim. Troy and Homer: Towards a Solution of an Old Mystery. New York: Oxford University Press (US), 2005 (hardcover, ISBN 0-19-926308-6).
- Simpson, Michael. Gods & Heroes of the Greeks: The Library of Apollodorus, The University of Massachusetts Press, (1976). ISBN 0-87023-205-3.
- Strauss, Barry. The Trojan War: A New History. New York: Simon & Schuster, 2006 (hardcover, ISBN 0-7432-6441-X).
- Thompson, Diane P (2004). The Trojan War: Literature and Legends from the Bronze Age to the Present. Jefferson, NC: McFarland. ISBN 0-7864-1737-4.
- Troy: From Homer's Iliad to Hollywood Epic, edited by Martin M. Winkler. Oxford: Blackwell Publishers, 2007 (hardcover, ISBN 1-4051-3182-9; paperback, ISBN 1-4051-3183-7).
- Wood, Michael. In Search of the Trojan War. Berkeley: University of California Press, 1998 (paperback, ISBN 0-520-21599-0); London: BBC Books, 1985 (ISBN 0-563-20161-4).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Was There a Trojan War? เก็บถาวร 2012-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Maybe so. From Archeology, a publication of the Archeological Institute of America. May/June 2004
- The Trojan War at Greek Mythology Link
- The Legend of the Trojan War. Archived from the original on 28th October 2007.
- Mortal Women of the Trojan War. Archived from the original on 19 December 2014.
- The Historicity of the Trojan War The location of Troy and possible connections with the city of Teuthrania. Archived from the original on 23rd November 2011.
- The Greek Age of Bronze "Trojan war"
- The Trojan War: A Prologue to Homer's Iliad. Archived from the original on 19th April 2019.
- BBC audio podcast Melvyn Bragg interviews Edith Hall and others on historicity, history and archaeology of the war. [Play]
- Warburg Institute Iconographic Database (about 2500 images related to the Trojan War)
- A New Astronomical Dating Of The Trojan War's End, Mediterranean Archaeology and Archaeometry เก็บถาวร 2020-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Bryce, Trevor (2005). The Trojans and their neighbours. Taylor & Francis. p. 37. ISBN 978-0-415-34959-8.
- ↑ Wood (1985: 116–118)
- ↑ Scholiast on Homer’s Iliad; Hyginus, Fabulae 54; Ovid, Metamorphoses 11.217.
- ↑ Hesiod, Catalogue of Women fr. 57; Cypria fr. 4.
- ↑ Photius, Myrobiblion 190.
- ↑ P.Oxy. 56, 3829 (L. Koppel, 1989)
- ↑ Apollodorus Epitome E.3.2
- ↑ Pausanias, 15.9.5.
- ↑ Euripides Andromache 298; Div. i. 21; Apollodorus, Library 3.12.5.
- ↑ Homer Iliad I.410
- ↑ Apollodorus, Library 3.13.8.
- ↑ Apollonius Rhodius 4.869–879; Apollodorus, Library 3.13.6.
- ↑ Hyginus, Fabulae 96.