ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center - TIAC) หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้บริการสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีและเป็นผู้นำแนวคิดการตลาดในการบริหารจัดการหน่วยงานบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ โดยไม่หวังกำไร ริเริ่มการพัฒนาฐานข้อมูลของประเทศไทย ได้แก่ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (Thai Theses) กระตุ้นให้มีการใช้สารสนเทศเพื่อการทำงาน และส่งผลให้เกิดการศึกษา ค้นคว้า วิจัยต่อยอดงานวิจัยในหน่วยงานวิจัยขั้นสูงและสถาบันระดับอุดมศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม

ประวัติ แก้

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณเงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าโดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี เพื่อริเริ่มบริการฐานข้อมูล และข่าวสารสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธุรกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศไทย ในรูปเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน และใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดต้นทุนสารสนเทศต่างประเทศ จึงเป็นหน่วยงานบริการสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดบริการเชิงพาณิชย์ที่ไม่หวังผลกำไร สร้างเครือข่ายห้องสมุดและผู้ใช้บริการ สร้างสรรค์บริการและเทคโนโลยีใหม่ บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ พัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมร่วมกับภาคีสมาชิก สามารถสนองความต้องการสารสนเทศและเติมเต็มแก่สังคมสารสนเทศและความรู้ภูมิปัญญาให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง กำหนดเปิดบริการในเดือนมกราคม 2533

23 พฤษภาคม 2532 การประชุมโครงการศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี

ในปี พ.ศ. 2550 ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น "ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS: Science and Technology Knowledge Services) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับฝ่ายสังกัดสำนักงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. มีที่ตั้งที่ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

เครือข่ายศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี แก้

บริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย แก้

งานชิ้นแรก ปี 2533 บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ แก้

สำนักงานแห่งแรกของศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี เริ่มบริการเมื่อปี 2533 หลังจากที่ดำเนินการก่อตั้งและกำหนดนโยบายบริหารจัดการเป็นเวลา 2 ปี ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board-STDB) บริการฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศจาก Dialog และ BRS บริการฝึกอบรมและแนะนำฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ บริการที่ปรึกษากลยุทธ์การสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ การสืบค้นฐานข้อมูลและการจัดบริการเอกสารเรื่องเต็ม บริการแบบเชิงพาณิชย์ ระยะแรกบริการฟรี ต่อมาคิดค่าบริการแบบไม่มีกำไร อาคารสำนักงาน ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว 804 ถนนพหลโยธิน บางเขน กรุงเทพฯ10900 โทร 541 1704-6 โทรสาร 276 1326

  • ผู้ใช้วันเปิดบริการวันแรก สิงหาคม 2533

ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ ท่านแรกติดต่อด้วยตัวเองใช้บริการทีสำนักงาน วันเดียวกันอาจารย์ดรุณา สมบูรณกุล(AIT)ใช้บริการทางโทรสาร

ขยายงาน ปี 2534 บริการเอกสารฉบับเต็ม แก้

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ย้ายสำนักงานไปที่ อาคารวิทยพัฒนา ชั้น 6 ห้อง 602 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬาลงกรณ์ 12 ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 216 8801-4 โทรสาร 216 8800 www.tiac.or.th บริการเอกสารจากฐานข้อมูลCD-ROM Fulltextครั้งแรกในประเทศไทย บริการซื้อหนังสือและฐานข้อมูลCD-ROMจากต่างประเทศ บริการสืบค้นวารสารและฐานข้อมูลสหวารสารออนไลน์ ห้องสมุดเสมือนครั้งแรก รับจัดทำฐานข้อมูลให้ต่างหน่วยงาน และร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยของ 3 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำเครือข่ายฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย

เติมเต็ม ปี 2539 ห้องสมุดวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก้

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ย้ายสำนักงานไปที่อาคาร สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 73/1 ถนนพระราม 6 ราชเทวี พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 02 644 8150-89 โทรสาร 02 644 8038-39 www.tiac.or.th ที่อาคารใหม่ ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยีจัดบริการวารสารต่างประเทศฉบับพิมพ์ 1600 ชื่อ และCD-ROM 1000 ชื่อ บริการวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลสารบัญวารสารออนไลน์ เป็นการขยายบริการเพื่อเตรียมการพัฒนาสู่ห้องสมุดเสมือน สร้างความพร้อมตามเป้าหมาย สวทช.เพื่อการย้ายสำนักงานสู่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ภายใน3ปี

  • สนองนโยบาย สวทช. โดยเข้าร่วมพัฒนาฐานข้อมูลสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดทำCD-ROM ฉบับแรกที่รวมเนื้อหาและรูปภาพจากสารานุกรมฉบับพิมพ์ทุกเล่มในCD-ROM 1 แผ่น
  • วารสารปัญญาวุธ โครงการST-NET โครงการเรียนออนไลน์ Cybertools for Research ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลและสวทช.(TGIST)
  • ผู้นำDublin Core Metadata ใช้ครั้งแรกในประเทศไทย โดยจัดทำโครงสร้างฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแห่งชาติ(สวรส.)และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก้

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการมีส่วนจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมที่พัฒนาโดยคนไทยจัดทำเป็นซีดี-รอม รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2

ฐานข้อมูลไทย - ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แก้

ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ได้ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย ชักชวนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทยเพื่อรวมแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน

30 มีนาคม 2536 - การสัมมนาเรื่องฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย จัดโดยศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ห้องประชุมใหญ่ สำนักอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานในพิธีเปิด ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการ สวทช. การสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายและสาธิตฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย โดยวิทยากร ศาสตราจารย์ดร.ถาวร วัชราภัย และดร.สุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี และการอภิปรายเรื่องความต้องการข้อมูลสำหรับงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ โดย ศาสตราจารย์ดร.ถาวร วัชราภัย รศ.ดร.กำพล ศรีวัฒนกุล(คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล)และดร.สัญชัย ตันตยาภรณ์ (กรมวิชาการเกษตร)

ผลการสัมมนานำไปสู่ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 12 แห่ง จัดส่งข้อมูลและอนุญาตให้จัดทำฐานข้อมูลบรรณนุกรมพร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทุกสาขาวิชา เริ่มปี 2517 บริการสืบค้นออนไลน์จากศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี สืบค้นได้จากชื่อผู้แต่ง ชื่อวิทยานิพนธ์ สาขาวิชา ปีการศึกษาที่จบ คำสำคัญในบทคัดย่อ และชื่ออาารย์ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยที่ร่วมเครือข่าย 12 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มิถุนายน 2540 ประกาศอย่างเป็นทางการในการนำเสนอบริการฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แบบCD-ROM

เครือข่ายฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย

ฐานข้อมูลออนไลน์พร้อมบทความเรื่องเต็ม แก้

Dublin Core Metadata Initiative แก้

โครงการะดับนานาชาติ แก้

รายชื่อผู้บริหาร แก้

ผลงาน แก้

  • พ.ศ. 2533 ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์จากต่างประเทศ และบริการฝึกอบรมแนะนำฐานข้อมูล บริการที่ปรึกษาการสืบค้นข้อมูล
  • พ.ศ. 2534 บริการเอกสารฉบับเต็มจากฐานข้อมูล CD-ROM ครั้งแรกในประเทศไทย บริการซื้อหนังสือและฐานข้อมูล CD-ROM จากต่างประเทศ บริการสืบค้นวารสารและฐานข้อมูลสหวารสารออนไลน์ ห้องสมุดเสมือน
  • พ.ศ. 2539 ห้องสมุดวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2540 ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย โดยความริเริ่มร่วมกันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2545 ห้องสมุดเสมือน คลังความรู้ จดหมายเหตุดิจิทัล ศูนย์ประสานงาน APIN-Unesco Asia Pactific Information Network
  • พ.ศ. 2546 JournalLink
  • พ.ศ. 2547 ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKC)
  • พ.ศ. 2549 สารสนเทศวิเคราะห์ แผนที่ความรู้ แผนที่สิทธิบัตร

เปลี่ยนชื่อและดำเนินงานในนาม ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • พ.ศ. 2550 บริการความรู้แบบเปิด
  • พ.ศ. 2551 web2 ขยายเครือข่ายจัดการความรู้ดิจิทัล ทำงานแบบไร้กระดาษ wiki
  • พ.ศ. 2552 สารานุกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบเสรี

อ้างอิง แก้

TIAC White Paper แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้