องค์การค้าของ สกสค.
องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นหน่วยงานสังกัด สกสค. (เดิมคือ คุรุสภา) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 ในชื่อ องค์การค้าของคุรุสภา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493[1] มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาผลประโยชน์ให้แก่คุรุสภา และเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่การศึกษาของชาติ โดยเป็นองค์การผู้เป็นเจ้าของ ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ซึ่งเป็นร้านค้าของรัฐบาล ที่จำหน่ายแบบเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกชนิด
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2493 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 2249 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว 10230 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | สกสค. กระทรวงศึกษาธิการ |
ลูกสังกัดหน่วยงาน | |
เว็บไซต์ | www.suksapan.or.th |
ประวัติ
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2467 กระทรวงธรรมการ ทำการขอยืมที่ดินของพระยานรภักดี (เอม) ณ มหาไชย เพื่อเปิดเป็นร้านจำหน่ายแบบเรียนของกระทรวงฯ และในปีถัดมา (พ.ศ. 2468) กรมตรวจเงินแผ่นดิน มอบแท่นพิมพ์ และอาคารสถานที่แก่กระทรวงฯ เพื่อใช้เป็นโรงพิมพ์ของกรมตำรา ในสังกัดกระทรวงฯ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2475 จึงเปิดเป็นสถาบันศึกษาวิชาการพิมพ์ มีชื่อว่า "โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชวิศยาราม"[2]
ในระยะเริ่มดำเนินการ องค์การค้าของคุรุสภา ได้รับโอนกิจการ ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ร้านจำหน่ายสินค้าทางการศึกษา ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินกลาง[3] โดยรวมเอาโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวชวิศยารามเข้ามาด้วย สำหรับทุนประเดิมจำนวน 1 ล้านบาท ใช้วิธีกู้ยืมจากกรมการศาสนา กับคณะลูกเสือแห่งชาติ[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้โอนสังกัดขององค์การค้าของคุรุสภา ไปขึ้นอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ดังเช่นปัจจุบัน
กิจการในสังกัด
แก้- โรงพิมพ์ องค์การค้าของ สกสค. ตั้งอยู่ริมถนนลาดพร้าว เป็นสถานที่ผลิตหนังสือเรียน สื่อการเรียนการสอน ตลอดจนรับจ้างพิมพ์งานทั่วไป และข้อสอบของรัฐ
- ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ - เป็นร้านค้าของรัฐบาล ที่จำหน่ายแบบเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกชนิด มีทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่
- สาขาลาดพร้าว
- สาขาอ้อมน้อย (ซอยเพชรเกษม 87)
- สาขาเดอะฮับ แอท เซียร์ รังสิต
- สาขาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
- สาขาราชบพิธ
- สาขาคุรุสภา
- สาขาอิมพีเรียลเวิลด์สำโรง
นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าตัวแทนจำหน่าย กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้าทางการศึกษา และสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
- โรงงานผลิตอุปกรณ์การศึกษา - มีจำนวน 2 แห่ง
- สถานีบริการน้ำมัน - มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันปตท. องค์การค้า สกสค. จังหวัดอุตรดิตถ์
อ้างอิง
แก้- ↑ ปิดตำนาน 77 ปี ‘ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์’ ราชดำเนิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-03-30.
- ↑ ปิดศึกษาภัณฑ์ พาณิชย์ราชดำเนิน รอปรับโฉมใหม่ คาดเสร็จใน 2 ปี
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-03-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ เก็บถาวร 2010-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน