ศิลป์ รัตนพิบูลชัย
พลโท[1] ศิลป์ รัตนพิบูลชัย หรือ สิลป์ รัตนพิบูลชัย หรือ ขุนศิลป์ศรชัย (นามเดิม ศิลป์ รัตนวราหะ 19 มกราคม พ.ศ. 2446-6 ตุลาคม พ.ศ. 2499) เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตเจ้ากรมการขนส่งทหารบก เจ้ากรมการรักษาดินแดน อธิบดีกรมการขนส่ง เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งในคณะก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 7[3]
ศิลป์ รัตนพิบูลชัย | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | ไชย ประทีปะเสน |
ถัดไป | ทองเปลว ชลภูมิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2446 |
เสียชีวิต | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (53 ปี) |
ประวัติ
แก้ขุนศิลป์ศรชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2487[4] สืบต่อจากพลตรี ไชย ประทีปะเสน ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ขุนศิลป์ศรชัย รับราชการทหาร เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ เจ้ากรมการขนส่งทหารบก เจ้ากรมการรักษาดินแดน[5]
ขุนศิลป์ศรชัย เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 คือ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งตรงกับวันจักรี อันเป็นวันหยุดราชการ กลุ่มนายทหารจำนวน 4 คน ประกอบด้วย พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, พล.ต.สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ, พ.อ.ขุนศิลปศรชัย และ พ.ท.ละม้าย อุทยานานนท์ ได้แต่งกายเต็มยศขัดกระบี่ถือปืนเข้าพบ นายควง อภัยวงศ์ ที่บ้านพักในซอยตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ อ้างเหตุเรียกร้องให้นายควงจ่ายเงินจำนวน 28 ล้านบาท อันเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางกลับจากเชียงตุง หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ทำการเบิกจ่ายก่อนหน้านั้นแล้วจากกระทรวงการคลัง จำนวน 9 ล้านบาท แต่นายควงไม่ยอมจ่าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นความขัดแย้งระหว่างนายควงกับทหารกลุ่มนี้มาอยู่ก่อนแล้ว ที่ทำให้ก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่าจะเกิดการรัฐประหาร และที่สุดขอให้นายควงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง โดยอ้างว่าคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นั้น เห็นว่ารัฐบาลนายควงไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจของชาติที่ตกต่ำลงได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นมาก จนที่สุดในเวลา 16.00 น. ที่ประชุมได้ร่างใบกราบบังคมทูลลาออกของนายควงเสร็จ และมีมติให้ นายควงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ กระทำเป็นการภายในใช้นายทหารเพียงไม่กี่คน โดยไม่มีการเคลื่ยนย้ายกำลังพลใด ๆ ทำให้ได้ชื่อว่า "รัฐประหารเงียบ" ซึ่งสื่อมวลชนในขณะนั้นเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "การจี้นายกรัฐมนตรี"[6]
ขุนศิลป์ศรชัย มีบทบาทสำคัญคือ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ขณะที่คณะรัฐนมตรีได้มีการประชุมกันอยู่นั้น พันเอกศิลป์ รัตนพิบูลชัย เจ้ากรมการรักษาดินแดน ได้เข้าไปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และรายงานให้จอมพล ป. ทราบถึงเหตุการณ์คณะนายทหารชั้นผู้น้อยจำนวนหนึ่งได้นำรถถัง 6 คัน พร้อมด้วยอาวุธครบมือ กำลังเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล และเจตนาสังหารโหดคณะรัฐมนตรีทั้งชุด[7] นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[8] หรือเรียกว่า "กบฏวังหลวง" ในเวลาต่อมา
ขุนศิลป์ศรชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่สอง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494[9]
ขุนศิลป์ศรชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมการขนส่ง ในปี พ.ศ. 2495 ซึ่งมีผลงานสำคัญในการเพิ่มทุนให้บริษัท ขนส่ง จำกัด ในการจัดซื้อรถโดยสารและเรือโดยสารเพิ่มเติม และเปิดการเดินรถเพิ่มเติมในเส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี
พลโท ศิลป์ ถึงแก่กรรมและมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2499[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[13]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[14]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[15]
- พ.ศ. 2482 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ 2.0 2.1 สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม๑ อนุสรณ์ พลโท ขุนศิลป์ศรชัย
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ↑ ทำเนียบเจ้ากรม กรมการรักษาดินแดน
- ↑ หนังสือ นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)
- ↑ กบฏ 23 กุมภา
- ↑ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ↑ "ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่สอง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง หน้า ๕๓๙๐, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๒๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๓๙๐๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๔๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๓๗, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒