ศานติเทวะ (สันสกฤต: Śāntideva; จีน: 寂天; ทิเบต: ཞི་བ་ལྷ།, THL: Zhiwa Lha; มองโกเลีย: Шантидэва гэгээн; เวียดนาม: Tịch Thiên) เป็นปราชญ์ชาวอินเดีย กวีและผู้แต่ง โพธิจรรยาอวตาร ว่าด้วยการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์สิบบท ศานติเทวะมีวรรณะพราหมณ์[1]

พระศานติเทวะ

ท่านยังถือเป็นหนึ่งใน 84 มหาสิทธิ์ และเป็นที่รู้จักในนาม ภุสุก (Bhusuku) [2]

ประวัติ แก้

อดีตเจ้าชายผู้เสด็จหนีจากพิธีราชาภิเษก กลายมาเป็นพระภิกษุในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของอินเดียโบราณที่ชื่อว่า นาลันทา แต่ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่นาลันทา ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระที่เกียจคร้านที่สุด ได้แต่กิน นอน และขับถ่ายเท่านั้น จนพระภิกษุในมหาวิทยาลัยต้องการขับไล่ท่าน จึงได้คิดอุบายให้ท่านแสดงธรรมต่อหน้าสาธารณชนจำนวนมาก ด้วยคิดว่าเมื่อแสดงไม่ได้ ท่านจะได้จากไป แต่ตรงกันข้าม ศานติเทวะแสดงธรรมลึกซึ้งจากใจในหัวข้อ "โพธิจรรยาวตาร" โดยที่ไม่มีใครเคยได้สดับฟังมาก่อน ขณะแสดงธรรม หลายคนเห็นว่าเบื้องหน้าของท่านมีพระมัญชุศรี พระโพธิสัตว์แห่งปัญญาประทับอยู่ และเมื่อแสดงจนถึงบทที่ 9 ว่าด้วยปัญญา ท่านศานติเทวะกับพระมัญชุศรีในเบื้องหน้าของท่านก็ลอยขึ้นไปจากธรรมมาศน์ ลอยขึ้นจนหายไปจากโลกนี้

อ้างอิง แก้

  1. P. xl The Bodhicaryāvatāra By Śāntideva, Kate Crosby, Andrew Skilton
  2. Donald S. Lopez, Jr. (28 May 2019). Seeing the Sacred in Samsara: An Illustrated Guide to the Eighty-Four Mahasiddhas. Shambhala. p. 125. ISBN 978-0-8348-4212-0.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้