ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ (ชื่อเดิม : ปรีดา[1], ศรัณย์ ศรัณย์เกตุ) (เกิด 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) นักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคเพื่อไทยจนถึงปี พ.ศ. 2564 ต่อมาเขาได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ สมญานาม คือ ส.ส.เอลวิส[2] ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ | |
---|---|
ศรัณย์วุฒิ ใน พ.ศ. 2562 | |
หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน 2564 – 9 กันยายน 2565 | |
ก่อนหน้า | บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ |
ถัดไป | ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กุมภาพันธ์ 2548 – 20 มีนาคม 2566 | |
ก่อนหน้า | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย วารุจ ศิริวัฒน์ กนก ลิ้มตระกูล |
ถัดไป | วารุจ ศิริวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ไทยรักไทย (2544–2549) รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2551) เพื่อไทย (2554–2556, 2561-2564) ชาติไทยพัฒนา (2557) เพื่อชาติ (2564–2566) |
ประวัติ
แก้ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายสกล และนางพรรณี ศรัณย์เกตุ มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ และปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีบุตร 5 คน หนึ่งในนั้นคือ นางสาวจารุวรรณ ศรัณย์เกตุ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่[3]
งานการเมือง
แก้ศรัณย์วุฒิ เคยได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย ใน พ.ศ. 2544 แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติให้ใบแดง ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2548 แต่หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นายศรัณย์วุฒิย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550
หลังจากนั้น พ.ศ. 2554 ได้ย้ายกลับมาลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย จึงได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2[3] ต่อมาการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2557 ได้ย้ายลงสมัครในนามพรรคชาติไทยพัฒนา โดยได้รับการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2562 ย้ายกลับพรรคเพื่อไทย ได้รับการเลือกตั้งอีกเป็นครั้งที่ 3[4] จนกระทั่งถูกขับออกจากพรรคเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564[5]
หลังจากที่นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ได้เข้าสังกัดพรรคเพื่อชาติในเวลาต่อมา ได้มีการประชุมวิสามัญพรรคเพื่อชาติ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่จังหวัดเชียงราย ที่ประชุมได้ให้นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยมีนายเทวกฤต พรหมมา เป็นรองหัวหน้าพรรค[6][7]
ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2566 ศรัณย์วุฒิได้จัดแถลงข่าวที่รัฐสภาประกาศว่าหลังจากมีการประกาศยุบสภาแล้วจะลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อชาติ เพื่อย้ายมาสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[8] จากนั้นในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ศรัณย์วุฒิได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับคุกเข่าขอขมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค[9] โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[10] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[11]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย → พรรคเพื่อชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ คุณจดบันทึกไว้เลยนะ นี่คือตัวตนของผม ‘ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ’,มติชนออนไลน์
- ↑ แม่ทัพเพื่อชาติ "ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ" สูตรลับเชียงรายโมเดล
- ↑ 3.0 3.1 เปิดประวัติ ศรัณย์วุฒิ ผู้ชำแหละนโยบายประยุทธ์ ลูกสาวก็เป็นส.ส.พรรคดัง,ข่าวสดออนไลน์
- ↑ เปิดใจหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ “ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
- ↑ "มติขับ'ศรัณย์วุฒิ-พรพิมล'พ้นเพื่อไทย ฐานทำลายชื่อเสียง-ฝักใฝ่พรรคอื่น". สำนักข่าวอิศรา. 2021-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ตามคาด! ‘ศรัณย์วุฒิ’ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ,มติชนออนไลน์
- ↑ “ศรัณย์วุฒิ” นั่งเก้าอี้หน.พรรคเพื่อชาติ-ชูนโยบาย เพื่อชาติ เพื่อประชาชน,กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ โผซบ‘รทสช.’ ‘ศรัณย์วุฒิ’ยก 3 จุดเด่น‘ลุงตู่’ มั่นใจได้กลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ
- ↑ ‘ศรัณย์วุฒิ’กลับใจ! เล่นฉากใหญ่คุกเข่าขอขมา‘บิ๊กตู่’ สวมเสื้อ‘รทสช.’
- ↑ ‘ศรัณย์วุฒิ’ สอบตก ส.ส.อุตรดิตถ์ ‘เพื่อไทย’ กวาดทั้งจังหวัด 3 ที่นั่ง
- ↑ 'ครม.' ตั้ง 'ครูแก้ว-ศรัณย์วุฒิ-รังสิมา' นั่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
ก่อนหน้า | ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
บุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ | หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 9 กันยายน พ.ศ. 2565) |
ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช |