ว่านหางจระเข้
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออวบอิ่ม จัดอยู่ในตระกูลลิเลียม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในคาบสมุทรอาหรับ สายพันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากกว่า 300 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีแตกต่างกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น
ว่านหางจระเข้ | |
---|---|
พืชและรายละเอียดของดอกไม้ (ภาพด้านใน) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | หน่อไม้ฝรั่ง Asparagales |
วงศ์: | Asphodelaceae Asphodelaceae |
วงศ์ย่อย: | Asphodeloideae Asphodeloideae |
สกุล: | Aloe Aloe (L.) Burm.f. |
สปีชีส์: | Aloe vera |
ชื่อทวินาม | |
Aloe vera (L.) Burm.f. | |
ชื่อพ้อง[1][2] | |
|
คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขมในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย โดยปลูกเพื่อใช้ในการเกษตรและการแพทย์[3] รวมถึงสำหรับการตกแต่งและปลูกเป็นต้นไม้กระถาง[4]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ว่านหางจระเข้เป็นพืชชนิดหนึ่งที่พืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 10- 100 ซม. (24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ[5] ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซm (35 in) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว)[5][6] ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น[7]
อนุกรมวิธาน
แก้ว่านหางจระเข้ได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1753 เป็น Aloe perfoliata var. vera[8] และจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1768 โดย นิโคลาส เลาเรนส์ บูร์มัน (Nicolaas Laurens Burman) เป็น Aloe vera ใน Flora Indica ในวันที่ 6 เมษายน และโดย ฟิลิป มิลเลอร์ (Philip Miller) เป็น Aloe barbadensis 10 วันหลังบูร์มันใน Gardener's Dictionary[9]
ด้วยวิธีการเปรียบเทียบ DNA แสดงว่าว่านหางจระเข้เป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe perryi พืชถิ่นเดียวของประเทศเยเมน[10] และด้วยวิธีที่คล้ายกัน ด้วยการเปรียบเทียบการจัดลำดับ DNA ของคลอโรพลาสต์และ ISSR แสดงว่าว่านหางจระเข้ยังเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe forbesii, Aloe inermis, Aloe scobinifolia, Aloe sinkatana และ Aloe striata ด้วยเช่นกัน[11] ถ้าไม่นับชนิดในแอฟริกาใต้คือ A. striata พืชในสกุล Aloe จะมีถิ่นกำเนิดในเกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน.[11] และเนื่องจากไม่มีการสังเกตถึงประชากรในธรรมชาติทำให้ผู้แต่งบางคนเสนอว่าว่านหางจระเข้อาจมีกำเนิดมาจากลูกผสม[12]
ศัพท์มูลวิทยา
แก้ชื่อพ้องของว่านหางจระเข้ก็ยังมี: A. barbadensis Mill., Aloe indica Royle, Aloe perfoliata L. var. vera และ A. vulgaris Lam.,[13][14] และชื่อสามัญอื่นก็มี Chinese Aloe, Indian Aloe, true Aloe, Barbados Aloe, burn Aloe และ first aid plant[6][15][16][17][18] ส่วนอื่นสามัญอื่นในประเทศไทยก็มี ว่านไฟไหม้ (เหนือ) และ หางตะเข้ (กลาง,ตราด)[19] ชื่อสปีชีส์ vera หมายความว่า "ถูกต้อง" หรือ "แท้จริง"[15] ในหนังสือบางเล่มจะระบุบรูปแบบที่เป็นจุดสีขาวของว่านหางจระเข้เป็น Aloe vera var. chinensis[20][21] อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้มีลักษณะของจุดที่ใบหลากหลาย[22] และมีการเสนอว่ารูปแบบจุดของว่านหางจระเข้อาจทำให้มันเป็นชนิดเดียวกันกับ A. massawana[23]
สรรพคุณทางยา
แก้วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-emodin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย
การเพาะปลูก
แก้ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดรำไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดง และอีกวิธีสามารถนำเมล็ดไปปลูกในกระถางต้นไม้ได้อีกด้วย
การรักษาแผล
แก้ว่านหางจระเข้ (Aloe vera) ที่เรารู้จักกันดีว่ามีส่วนในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลสด ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน มีส่วนช่วยในแก้รักษาแผลผ่าตัดเช่นกัน
ว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์สมานแผลการที่แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากในว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิวให้ดีขึ้น หรือหากนำว่านหางจระเข้ไปสกัดเป็นน้ำ เมื่อนำไปใช้ในการรักษาแผลผ่าตัด พบว่าช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น หรือหากใครที่รอยแผลแล้วเมื่อใช้จะช่วยขจัดรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น ทำให้แผลแลดูจางลง
นอกจากจะช่วยในเรื่องของการสมานแผลแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการอักเสบ เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์ที่นำประโยชน์ของว่านหางจระเข้ไปเป็นส่วนผสมในรูปแบบต่างๆ ทั้งครีมทารักษาโรคผิวหนังและแผลอักเสบ ที่ช่วยรักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน หรือการทำเป็นโลชั่นโดยมีส่วนประกอบของวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นต้น [24]
อ้างอิง
แก้- ↑ Aloe vera (L.) Burm. f. Tropicos.org
- ↑ "Aloe vera L. Burm.f. Fl. Indica : 83 (1768)". World Flora Online. World flora Consortium. 2022. สืบค้นเมื่อ 16 December 2022.
- ↑ "Aloe vera (true aloe)". CABI. 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Perkins, Cyndi. "Is Aloe a Tropical Plant?". SFgate.com. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
- ↑ 5.0 5.1 Yates A. (2002) Yates Garden Guide. Harper Collins Australia
- ↑ 6.0 6.1 Random House Australia Botanica's Pocket Gardening Encyclopedia for Australian Gardeners Random House Publishers, Australia
- ↑ Gong M, Wang F, Chen Y (2002). "[Study on application of arbuscular-mycorrhizas in growing seedings of Aloe vera]". Zhong Yao Cai (ภาษาจีน). 25 (1): 1–3. PMID 12583231.
- ↑ Linnaeus, C. (1753). Species plantarum, exhibentes plantas rite cognitas, ad genera relatas, cum differentiis specificis, nominibus trivialibus, synonymis selectis, locis natalibus, secundum systema sexuale digestas. Vol. 2 pp. [i], 561–1200, [1–30, index], [i, err.]. Holmiae [Stockholm]: Impensis Laurentii Salvii.
- ↑ Newton, L. E. (1979). In defense of the name Aloe vera. The Cactus and Succulent Journal of Great Britain 41: 29–30.
- ↑ Darokar MP, Rai R, Gupta AK, Shasany AK, Rajkumar S, Sunderasan V and Khanuja SPS (2003). Molecular assessment of germplasm diversity in Aloe spp. using RAPD and AFLP analysis. J Med. Arom. Plant Sci.25(2): 354–361.
- ↑ 11.0 11.1 Treutlein, J., Smith, G. F. S., van Wyk, B. E. & Wink, W. (2003). Phylogenetic relationships in Asphodelaceae (Alooideae) inferred from chloroplast DNA sequences (rbcl, matK) and from genomic finger-printing (ISSR). Taxon 52:193.
- ↑ Jones WD, Sacamano C. (2000) Landscape Plants for Dry Regions: More Than 600 Species from Around the World. California Bill's Automotive Publishers. USA.
- ↑ "Aloe vera, African flowering plants database". Conservatoire et Jardin botaniques de la Ville de Genève. สืบค้นเมื่อ 2008-06-20.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Taxon: Aloe vera (L.) Burm. f." Germplasm Resources Information Network, United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-16.
- ↑ 15.0 15.1 Ombrello, T. "Aloe vera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-06-21.
- ↑ Liao Z, Chen M, Tan F, Sun1 X and Tang K (2004) Microprogagation of endangered Chinese aloe Plant Cell, Tissue and Organ Culture 76(1):83–86.
- ↑ T. T. Jamir, H. K. Sharma and A. K. Dolui (1999) Folklore medicinal plants of Nagaland, India. Fitoterapia 70(1):395–401.
- ↑ Barcroft and Myskja (2003) Aloe Vera: Nature's Silent Healer. BAAM, USA. ISBN 0-9545071-0-X
- ↑ "เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-06.
- ↑ Wang H, Li F, Wang T, Li J, Li J, Yang X, Li J (2004). "[Determination of aloin content in callus of Aloe vera var. chinensis]". Zhong Yao Cai (ภาษาจีน). 27 (9): 627–8. PMID 15704580.
- ↑ Gao W, Xiao P (1997). "[Peroxidase and soluble protein in the leaves of Aloe vera L. var. chinensis (Haw.)Berger]". Zhongguo Zhong Yao Za Zhi (ภาษาจีน). 22 (11): 653–4, 702. PMID 11243179.
- ↑ Akinyele BO, Odiyi AC (2007) Comparative study of the vegetative morphology and the existing taxonomic status of Aloe vera L. Journal of Plant Sciences 2(5):558–563.
- ↑ Lyons G. "The Definitive Aloe vera, vera?". Huntington Botanic Gardens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008.
- ↑ ว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์สมานแผลการที่แผลหายเร็วขึ้น http://www.scarlakon.com/easy-surgery-wound-healing/ เก็บถาวร 2018-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Taxon: Aloe vera (L.) Burm. f." U.S. National Plant Germplasm System. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.