วีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก

วีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก (ญี่ปุ่น: 日本女子サッカーリーグโรมาจิNihon joshi sakkā rīgu; อังกฤษ: Women Empowerment League) หรือเรียกอย่างย่อว่าวีลีก (ญี่ปุ่น: WEリーグโรมาจิWī rīgu; อังกฤษ: WE League) หรือ โยกิโบ วีลีก (อังกฤษ: Yogibo WE League) ตามชื่อผู้สนับสนุน เป็นลีกฟุตบอลหญิงระดับสูงสุดในประเทศญี่ปุ่น เริ่มแข่งขันฤดูกาล 2021–22 เป็นฤดูกาลแรก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลหญิงระดับอาชีพอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น

วีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก
ก่อตั้ง3 มิถุนายน 2020; 3 ปีก่อน (2020-06-03)
ฤดูกาลแรก2021–22
ประเทศ ญี่ปุ่น
สมาพันธ์เอเอฟซี
ดิวิชัน1
จำนวนทีม11
ระดับในพีระมิด1
ถ้วยระดับประเทศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดินี
ถ้วยระดับนานาชาติเอเอฟซีวีเมนส์คลับแชมเปียนชิป
หุ้นส่วนโทรทัศน์DAZN
ยูทูบ
เว็บไซต์weleague.jp/en/ (ในภาษาอังกฤษ)
ปัจจุบัน: วีลีก ฤดูกาล 2021–22

ประวัติ แก้

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2020 สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (เจเอฟเอ) ประกาศว่าจะตั้งวีลีกให้เป็นลีกฟุตบอลหญิงระดับอาชีพ[1] ในขณะที่นาเดชิโกะลีกเดิมซึ่งเป็นลีกระดับกึ่งอาชีพจะลดระดับลงไปเป็นลีกระดับสองในฤดูกาล 2021–22 โดยมีคิกูโกะ โอกาจิมะ อดีตนักฟุตบอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งประกอบธุรกิจในสหรัฐเป็นประธานวีลีกคนแรก[2]

สโมสรจำนวน 17 สโมสรสมัครเข้าแข่งขันวีลีกฤดูกาลแรก โดยวีลีกจะคัดเลือก 8–10 สโมสรเข้าแข่งขันในฤดูกาลแรก[3] ผลการคัดเลือกประกาศเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2020 โดยมีสโมสรเข้าแข่งขันฤดูกาลแรกจำนวน 11 สโมสร โดย 7 สโมสรในจำนวนนี้เป็นสโมสรสมทบของสโมสรในเจลีก[4]

รูปแบบการแข่งขัน แก้

วีลีก ฤดูกาล 2021–22 จะจัดให้ทั้ง 11 ทีมแข่งขันแบบพบกันหมดและเหย้า-เยือน และจะแข่งขันในช่วงฤดูหนาวในลักษณะเดียวกับลีกฟุตบอลในยุโรป[5] ไม่มีการตกชั้นจากวีลีกลงไปยังนาเดชิโกะลีก อย่างไรก็ตาม สโมสรจากนาเดชิโกะลีกอาจจะเลื่อนชั้นขึ้นไปยังวีลีกในช่วงฤดูกาลแรก ๆ ได้เพื่อให้จำนวนสโมสรครบตามต้องการ[5]

แต่ละสโมสรต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 5 คนที่ทำสัญญาเป็นนักฟุตบอลอาชีพโดยไม่จำกัดเงินเดือน[6] นอกจากนี้วีลีกยังเปิดโอกาสให้ผู้เล่นต่างชาติเข้าแข่งขันได้ เจเอฟเอจะสนับสนุนเงินเดือนสำหรับผู้เล่นจากชาติอาเซียน ในขณะที่วีลีกจะสนับสนุนเงินเดือนสำหรับผู้เล่นจากชาติอื่น[7] วีลีกพยายามดึงดูดผู้เล่นจากทีมชาติหญิงที่ทำผลงานได้ดีเช่นฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐ และยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น ล่ามแปลภาษา เป็นต้น[8]

สโมสร แก้

ฤดูกาล 2021–22 แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Japan's first ever Women's Professional Football League, [WE League] to kick off in autumn 2021". JFA. 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 3 June 2020.
  2. Orlowitz, Dan (28 July 2020). "WE League chair plots ambitious, progressive path for women's game". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
  3. Orlowitz, Dan (1 August 2020). "WE League receives unexpectedly high number of applicants for inaugural season". Japan Times. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
  4. 4.0 4.1 Orlowitz, Dan (15 October 2020). "Japan women's pro soccer WE League reveals 11 clubs for first season". Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-20. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  5. 5.0 5.1 "Football: New women's pro competition dubbed "WE League"". Kyodo News. 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 3 June 2020.
  6. "Soccer: New Japan women's pro competition dubbed 'WE League'". The Mainichi. 3 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 6 June 2020.
  7. Orlowitz, Dan (10 September 2021). "Japan's ambitious WE League aims to empower in historic first season". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021.
  8. Mahmud, Shahnaz. "Japan's new women's pro soccer league aims to attract players from U.S., France and more". The Athletic.