วีระ สุสังกรกาญจน์

นายวีระ สุสังกรกาญจน์ เป็นอดีตข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาสภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49) อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม[2] อดีตรองอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม[3] อดีตประธานกรรมการ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานกรรมการบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน)

วีระ สุสังกรกาญจน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าสมาน ภุมมะกาญจนะ
ประยูร สุรนิวงศ์
ถัดไปเรืองวิทย์ ลิกค์
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ.​ 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าเรืองวิทย์ ลิกค์
อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ถัดไปพรเทพ เตชะไพบูลย์
เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527
รัฐมนตรีว่าการชาติชาย ชุณหะวัณ
อบ วสุรัตน์
ก่อนหน้าวิมล วิริยะวิทย์
ถัดไปประภาส จักกะพาก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2473
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 (75 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสกมลเนตร สุสังกรกาญจน์
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยอิลลินอย

ประวัติ แก้

วีระ สุสังกรกาญจน์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2473 เป็นบุตรของนายปทุม และนางสุรภี สุสังกรกาญจน์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว นายวีระ สมรสกับนางกมลเนตร มีบุตรธิดา รวม 4 คน

วีระ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2548 รวมอายุ 75 ปี[4]

การทำงาน แก้

วีระ สุสังกรกาญจน์ เริ่มเข้ารับราชการช่างตรี กองแบบแผน กรมทางหลวงแผ่นดิน โดยมีความก้าวหน้าในราชการมาโดยลำดับ โดยได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม จนกระทั่งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2525 จากนั้นเขาถูกย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] เนื่องจากไม่สนองนโยบายของนายอบ วสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น จากกรณีนโยบายการรวมบริษัทเหล้าสองบริษัท คือ สุรามหาราษฎร และสุราทิพย์เข้าด้วยกัน

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.47, 49)[6][7]

ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาสภาผู้แทนราษฎร[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/063/8.PDF
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  4. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 26 ราย)
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/063/8.PDF
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๒, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒