วีระพันธ์ วอกลาง
พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง เป็นอาจารย์และผู้อำนวยเพลง ทำหน้าที่เป็นวาทยากรของวงดุริยางค์ราชนาวี กองดุริยางค์ทหารเรือ จนได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงค์ตำแหน่งพลเรือตรีคนแรกและคนเดียวทางด้านสาขาดนตรี เป็นผู้วางรากฐานและร่วมก่อตั้งวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) หลังเกษียณอายุราชการจากกองดุริยางค์ทหารเรือ ยังคงเป็นอาจารย์สอนดนตรี ไวโอลิน วิโอล่า ทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลง และการอำนวยเพลงที่โรงเรียนดนตรีวีระพันธ์ ดุริยางค์ พลเรือตรีวีระพันธ์ วอกลาง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช ๒๕๕๑ [1] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
วีระพันธ์ วอกลาง | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี) วีระพันธ์ วอกลาง ประเทศไทย |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช ๒๕๕๑ |
ประวัติ
แก้พลเรือตรี วีระพันธ์ วอกลาง เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือเมื่อปีพ.ศ. 2500 เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เข้ารับราชการในตำแหน่งนักไวโอลิน ในวงดุริยางค์ราชนาวี กองดุริยางค์ทหารเรือ และได้รับทุนกองทัพเรือไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2511 สำเร็จการศึกษาหลักสูตร Band Master จาก Royal Marines School of Music
- พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษา LRCM. จากสถาบัน Royal Academy of Music สาขาอำนวยเพลงและไวโอลิน
- พ.ศ. 2516 สำเร็จการศึกษา LTCL. จาก สถาบันTrinity College of Music สาขาไวโอลิน
- ศึกษาวิชาอำนวยเพลงที่ Musik Hoch Shule ในฐานะนักเรียนทุน Deutscher Akademischer Austauschdienst ณ ประเทศเยอรมัน เป็นเวลา1ปีครึ่ง
ผลงาน
แก้- วาทยากรวงดุริยางค์ราชนาวี หัวหน้าแผนกดนตรี และต่อมาได้เป็นผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารเรือ (พ.ศ. 2513-2542)
- แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในงานเลี้ยงพระราชทานแขกต่างประเทศ ในพระบรมมหาราชวัง (พ.ศ. 2513-2542)
- เป็นวาทยากรงานกาชาดคอนเสิร์ตเป็นประจำทุกปี (พ.ศ. 2513-2542)
- อาจารย์สอนไวโอลิน วิโอล่า ทฤษฎีดนตรี และการอำนวยเพลง โรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ (พ.ศ. 2513-2542)
- ร่วมก่อตั้งวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) เป็นวาทยากรและMusic Directorท่านแรกของวง (พ.ศ. 2526)
- ร่วมก่อตั้งสถาบันBangkok Symphony School (BSS) (พ.ศ. 2539)
- อาจารย์สอนไวโอลิน สถาบันBangkok Symphony School (พ.ศ. 2539-2544)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) ในพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกม ครั้งที่13 (พ.ศ. 2541)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) ในการแสดงคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ณ Dewan Filharmonik Petronas เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีพระมหากษัตริย์ประเทศมาเลเซียเสด็จชมการแสดง (5 ธันวาคม พ.ศ. 2542)
- ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางค์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2542-2545)
- อาจารย์สอนทฤษฎีดนตรี การรวมวง คณะดุริยางค์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2542-2545)
- ก่อตั้งโรงเรียนดนตรีวีระพันธ์ ดุริยางค์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และเป็นอาจารย์สอนไวโอลิน วิโอล่า ทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลง การอำนวยเพลง และรวมวง (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) แสดงคอนเสิร์ตภูมิใจไทย ของไทยธนาคาร ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547-2550)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) แสดงในพิธีเปิด-ปิดเทศกาลดนตรีในสวน ณ สวนลุมพินีวัน (พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) แสดงคอนเสิร์ตการแข่งขันเปียโนปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ (รอบชิงชนะเลิศ/นักเปียโนบรรเลงร่วมกัมวงOrchestra (พ.ศ. 2548)
- เป็นวาทยากรวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (BSO) แสดงคอนเสิร์ตถวายพระพร “สังคีตะมงคล” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2550)
- ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช ๒๕๕๑
- ผู้ก่อตั้งและอำนวยเพลงวงBangkok International Community Orchestra (พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน) [2][ลิงก์เสีย]
ผลงานการประพันธ์เพลง
แก้- Variations on a theme “ดาบของชาติ” (ของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) for Flute, Oboe, Clarinet, Bassoon and string orchestra *Variations on a theme “Santa Lucia” for full orchestra
- Variations on a theme “วอลซ์นาวี” (ของสกนต์ มิตรานนท์) for full orchestra
- เพลงประจำหน่วยราชการกองทัพเรือ เช่น เพลงทหารพรานนาวิกโยธิน (นักรบชุดดำ) เพลงสมญานามนาวิกโยธิน เพลงกองบินนาวี เพลงมาร์ชสี่เหล่าศูนย์ห้า
ผลงานเรียบเรียงเสียงประสาน
แก้- เพลงถวายพระพร ได้แก่ เพลงน้อมเกล้าฯ ถวายชัยมงคล เพลงสิริมหาราชินี เพลงดาวทิพย์
- บทเพลงพระราชนิพนธ์
- เพลงกองทัพเรือ ได้แก่ เพลงวอลซ์นาวี เพลงเนวีบลู เพลงเมื่อประดู่บาน
- เพลงรักชาติ ได้แก่ เพลงศึกบางระจัน เพลงต้นตระกูลไทย
- เพลงของ หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์-สนิทวงศ์ ได้แก่เพลงชุดBallet“บัวขาว” เพลงบัวขาว เพลงเงาไม้ เพลงในฝัน เพลงตาแสนกลม เพลงลมหวล เพลงชายในฝัน เพลงเพลิน
- เพลงไทยเดิม ได้แก่ เพลงไทยใหญ่ เพลงกฤษดาอภินิหาร
- เพลงประกอบภาพยนตร์ ได้แก่ เพลงไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ