วีรชน ศรัทธายิ่ง
ณัฐพล พุทธภาวนา [1] หรือชื่อปัจจุบันว่า วีรชน ศรัทธายิ่ง (เกิด: 13 ตุลาคม พ.ศ. 2518) เป็นอดีตนักร้อง อดีตนักแต่งเพลง ปัจจุบันเป็น นักธุรกิจ และยูทูบเบอร์ชาวไทย มีชื่อเสียงจากการเป็นอดีตนักร้องนำของวงซิลลี่ ฟูลส์ และ แฮงแมน
วีรชน ศรัทธายิ่ง | |
---|---|
ชื่อเกิด | ณัฐพล พุทธภาวนา |
รู้จักในชื่อ | โต ซิลลี่ ฟูลส์ โต แฮงแมน ฟิรเดาส์ ศรัทธายิ่ง โต เนื้อแท้ |
เกิด | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2518 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ร็อก เมทัล |
อาชีพ | อดีตนักร้อง อดีตนักดนตรี นักธุรกิจ ยูทูบเบอร์ ขายเนื้อ |
เครื่องดนตรี | กีต้าร์ เปียโน คีย์บอร์ด เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2539–2554 |
ค่ายเพลง | เบเกอรี่มิวสิค (พ.ศ. 2539–2540) มอร์ มิวสิค (พ.ศ. 2541–2552) ดั๊กบาร์ (พ.ศ. 2552–2554) |
อดีตสมาชิก | ซิลลี่ ฟูลส์ (พ.ศ. 2539–2549) แฮงแมน (พ.ศ. 2550–2554) |
เว็บไซต์ | Toeman Hangman Come Totoe |
ประวัติ
แก้วีรชนเกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2518 บิดาเป็นแพทย์ และมารดาเป็นนักธุรกิจชาวอินเดียที่ชื่นชอบกวีนิพนธ์ เขามีพี่น้อง 3 คน โดยณัฐพลเป็นบุตรคนแรกและมีน้องสาว 1 คน และมีน้องชายชื่อนที พุทธภาวนา (ที หรือเทญ่า)[2] และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น วีรชน ศรัทธายิ่ง[1]
โตเคยติดตามบิดาไปที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย และจากนั้นก็ไปอยู่ประเทศอินเดียอีก 2 ปี โตมีความผูกพันมากับการขีดเขียน โคลง กลอน ปรัชญา ความคิด ศาสนา มีความสนใจทางด้านดนตรีมาตั้งแต่ประมาณอายุ 5-6 ขวบ กระทั่งค้นพบตนเองว่าชอบดนตรี รู้ถึงเสียงอันทรงพลังของตนเอง
แต่ชีวิตช่วงวัยต้นก็ยังคงเดินไปในแบบเด็กไทยทั่วไป โดยเขาเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า หลังจากนั้นจึงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยเรียนในคณะบริหารธุรกิจ
วันหนึ่งโตได้พบวงซิลลี่ ฟูลส์ในผับแห่งหนึ่ง นักร้องในวงเชิญโตไปร้องเพลง Enter Sandman ของวงเมทัลลิกา และถึงกับทำให้ ทรงพล จูประเสริฐ (ต้น) มือกีตาร์ทาบทามให้เป็นนักร้อง เนื่องจากช่วงนั้นนักร้องนำของวงไปบวช และต่อมาโตจึงได้ร่วมงานกับวงซิลลี่ ฟูลส์ตั้งแต่นั้นมา โดยโตเป็นนักร้องนำ และแต่งเนื้อเพลง จนวงซิลลี่ ฟูลส์ มีชื่อเสียงมากขึ้น และออกอัลบั้มร่วมกันชุดแรกคือ Ep. เมื่อ พ.ศ. 2539 และออกอัลบั้มต่อเนื่องกันอีก 5 ชุด ได้แก่ I.Q. 180 (พ.ศ. 2541), Candyman (พ.ศ. 2542), Mint (พ.ศ. 2543), Juicy (พ.ศ. 2545) และ King size (พ.ศ. 2547)
โตได้ประกาศแยกออกจากวงซิลลี่ ฟูลส์ ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีความคิดที่แตกต่างในการทำงานและอึดอัดการทำงานที่ค่อนข้างจะขัดกับหลักศาสนาที่ตัวเองนับถือ[3][4]
ณัฐพล พุทธภาวนา ได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยขับรถจักรยานยนต์ชนรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลที่ถนนเทียมร่วมมิตร หน้าศูนย์วัฒนธรรม โดยต่อมาทางโรงพยาบาลได้อนุญาตให้โตกลับบ้านพักได้ แล้วตามคำอนุญาตของแพทย์เจ้าของไข้แล้ว เนื่องจากบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย โดยแข้งขวา และส้นเท้าขวาร้าว โดยแพทย์ได้ใส่เฝือกอ่อนให้[5][6]
หลังออกจากวงซิลลี่ ฟูลส์ โตจึงได้ทำดนตรีก่อน ชื่อHangman และต่อมาจึงหานักดนตรีมาออดิชั่น หลังจากออดิชั่นกันอยู่ประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้เกี๊ย (มือเบส), เก๋ (มือกีต้าร์), แสบ (มือกลอง) และ แจ๊ค (มือกีต้าร์) และได้ตั้งวงแฮงแมนขึ้น และโตได้แต่งเนื้อเพลงมา 10 เพลง จนได้เป็นอัลบั้มแรกของแฮงแมน โดยเปิดตัวอัลบั้มเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550[7]
ในช่วงที่วีรชนกำลังโด่งดังมาก ๆ จนถึงจุดสูงสุด เขายอมรับว่าเขาแทบไม่ได้ละหมาดและถือศีลอดเลย ในทางกลับกันเขากลับบอกตัวเองว่า เขาไม่ได้เป็นชาวมุสลิม ซึ่งเขามักจะเป็นแบบนี้ในช่วงสมัยที่อยู่วง Silly Fools แต่หลังจากที่เขาย้ายมาอยู่กับวง Hangman เขาจึงเริ่มละหมาดและถือศีลอด จนถึงช่วงที่ออกจากวงการ [ต้องการอ้างอิง]
ในกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เขาได้กล่าวกับรายการเจาะใจว่าได้หันหลังให้กับวงการดนตรี โดยเขาได้พูดไว้ดังนี้
จุดเปลี่ยนเป็นเพราะว่ามันดังนะ มีชื่อเสียงมาก แล้วก็อีกอย่างมันเริ่มซ้ำ ๆ ซาก ๆ กระบวนการในการผลิตเอย ในการโปรโมทเอย ในการทำงานตรงนี้ ช่วงแรกอาจจะตื่นเต้น ไม่เคยทำ แต่พอทำแล้วมันไม่ได้มีอะไรดีขึ้น หมายถึงสิ่งที่ผมต้องการจะพูด และจะเขียนในงานมันไม่ได้เป็นตามที่ผมต้องการ ผมไม่สามารถจะเปลี่ยนลักษณะของคนได้ ทำได้แค่ให้คนคึกคะนองไปกับเพลงของผมเท่านั้น ต่อมาผมจึงต้องการเปลี่ยนแปลงรสนิยมความนึกคิดของคนไทยผ่านเพลง ผ่านเนื้อร้อง ผมเริ่มสงสัยเกี่ยวกับตัวเองว่าเกิดมาทำไม คนเราเกิดมาเพื่ออะไร พอมีความสงสัยผมก็เลยเริ่มจะค้นหาตรงนั้นคือจุดแรกที่เปลี่ยนแปลง
หลังจากนั้นเขาก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก ณัฐพล พุทธภาวนา เป็น วีรชน ศรัทธายิ่ง และได้เดินสู่เส้นทางแห่งศาสนาอิสลาม [8]
ปัจจุบันได้ออกจากวงการดนตรีหลังหมดสัญญาจากต้นสังกัดแกรมมี่รวมถึงยุบวงแฮงแมน และเป็นพิธีกรรายการ Motor Vaccine และ โต-ตาล ออกอากาศทางช่องสถานีดาวเทียม WhiteChannel[9][10][11][12][13][14]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ในปัจจุบัน โต แต่งงานแล้วและมีลูกทั้งหมด 4 คน นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ได้ทำธุรกิจเป็นของตัวเองชื่อ Company B ที่วางจำหน่ายเนื้อ Dry-Aged ที่มีคุณภาพชั้นดี รวมถึงร้านอาหารเนื้อแท้, พันละวัน , เซียนเตี๋ยว และ Beef Master
ผลงาน
แก้สตูดิโออัลบั้ม
แก้- ในนามของซิลลี่ ฟูลส์
- I.Q. 180 (มิถุนายน 2541)
- Candy Man (กรกฎาคม 2542)
- Mint (กันยายน 2543)
- Juicy (มีนาคม 2545)
- King Size (มกราคม 2547)
- ในนามของแฮงแมน
- Hangman (ตุลาคม 2550)
ผลงานการแต่งเพลง
แก้- "รักด้วยน้ำตา" (อัลบั้ม สดุดี)[15] ขับร้องโดยจิรายุส วรรธนะสิน และสหรัถ สังคปรีชา
- "อย่างนั้นอย่างนี้" (อัลบั้ม ดี'ไซน์) ขับร้องโดย ทราย เจริญปุระ
- "อย่า!" (อัลบั้ม เบิร์น) ขับร้องโดย แมว จีระศักดิ์
ผลงานเดี่ยว
แก้- "ทั้งทั้งที่รู้" "สุขใจ" จากอัลบั้ม ลงเอย พี่น้องร้องเพลง (เป็นอัลบั้มของอัสนี-วสันต์ ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)[16]
- "บุญคุณปูดำ" จากอัลบั้ม บุญคุณปูดำ (เป็นอัลบั้มของ นูโว ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)
คอนเสิร์ต
แก้- พลังแผ่นดิน (20 พฤศจิกายน 2542)
- ลงเอย พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ (23 เมษายน 2543)
รายการโทรทัศน์
แก้- แมลงมัน[17] (2544-2550)
- Motor Vaccine
- โต-ตาล
โฆษณา
แก้- M-150 ร่วมกับ เสกโลโซ, แด๊ก บิ๊กแอส, ไบรโอนี่, มอส ปฏิภาณ (2545-2546), ลานนา คัมมินส์ (2548 - 2549)
- Yamaha รุ่น x1 & spark ร่วมกับ ตูนบอดี้สแลม (2548 - 2549)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 กระปุกดอตคอม. อัปเดตชีวิต โต Silly Fools หลังหันหลังให้วงการเพลง. เรียกดูเมื่อ 7 มีนาคม 2556
- ↑ เปิดประวัติ โต ซิลลี่ฟูลส์
- ↑ "ช็อกขาร็อก "ซิลลี่ ฟูลส์" แยกวง! "โต" ซึม เพื่อนโหวตออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-20. สืบค้นเมื่อ 2015-10-13.
- ↑ ""ซิลลี่ ฟูลส์" แฉ! พฤติกรรมสุดกระแดะของ "โต" จนถูกเฉดหัวออกจากวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2015-10-13.
- ↑ "โต-ซิลลี่ฟูลส์" หวิดดับ ซิ่งมอเตอร์ไซค์หรูชนเก๋ง
- ↑ โต-ซิลลี่ฟูลส์ ขับรถจยย.ชนกับรถเก๋งบาดเจ็บ
- ↑ "9 ตุลาคม 2550 :: Live Concert + แถลงข่าวเปิดอัลบั้ม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-10-09.
- ↑ อัปเดตชีวิต โต Silly Fools หลังหันหลังให้วงการเพลง[ลิงก์เสีย]
- ↑ โต-ตาล@ลำปาง ( เทป 1 ) 19-12-57
- ↑ โต-ตาล@ลำปาง ( เทป2 ) YATEEM TV.
- ↑ โต-ตาล #2 @ภูทับเบิก
- ↑ โต-ตาล @อ่าวมะนาว
- ↑ โต-ตาล @เขาใหญ่2
- ↑ โต-ตาล @ยะลา
- ↑ "รักด้วยน้ำตา แต่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ ทั้งทั้งที่รู้ โต silly fool[ลิงก์เสีย]
- ↑ โต ไม่สน กระเด็น! โวเปิดเว็บร็อคสนองวัยโจ๋[ลิงก์เสีย]