วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ
วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ หรือ เบ้าหลอมวีรชน (รัสเซีย: Как закалялась сталь, Kak zakalyalas' stal') เป็นนวนิยายแนวสัจนิยมสังคมนิยม ประพันธ์โดย นีโคไล ออร์ตรอฟสกี (1904–1936) โดยที่ ปาเวล ("ปาฟคา") คอร์ชากิน เป็นตัวละครหลักของนวนิยายนี้
วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ | |
---|---|
ปกภาษาไทย | |
ผู้ประพันธ์ | นีโคไล ออร์ตรอฟสกี |
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Как закалялась сталь |
ประเทศ | สหภาพโซเวียต |
ภาษา | รัสเซีย |
ประเภท | นวนิยาย |
สำนักพิมพ์ | Young Guard (ชุด) |
วันที่พิมพ์ | 1932–1934 (ชุด) – 1936 (ร่วมเล่ม) |
ชนิดสื่อ | พิมพ์เล่ม (ปกแข็ง & ปกอ่อน) |
เนื้อหาของนวนิยายเป็นการสมมติจากอัตชีวประวัติของออร์ตรอฟสกี ในชีวิตจริงพ่อของออร์ตรอฟสกี เสียชีวิตและแม่ของเขาทำงานเป็นคนทำอาหาร ขณะที่เขาเข้าร่วมสงครามกับกองทัพแดง เขาสูญเสียตาข้างขวาจากกระสุนปืนใหญ่ในระหว่างสงคราม
ตัวละคร
แก้- ปาเวล คอร์ชากิน – ตัวเอกของนวนิยายเรื่องนี้ เขาร่วมรบกับบอลเชวิกในช่วงสงครามกลางเมือง (1918–1921) เขาเป็นหัวเรือหลักของวีรชนแห่งสัจนิยมสังคมนิยมเชิงบวก
- โทเนีย โทอูมาโนวา – คนรักของปาเวลในช่วงวัยรุ่น โทเนีย และ ปาเวล กลายเป็นเพื่อนที่ดีหลังจากพบกันครั้งแรก ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นความสนิทสนม ถึงแม้ว่าจะเกิดจากครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอิทธิพล โทเนียก็ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่เหมือนเพื่อนของเธอที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ ในครอบครัวที่มีชื่อเสียง อย่างไรก็ตามความคิตนี้ก็เปลี่ยนไปเมื่อโตขึ้น ขณะที่เธอเริ่มตระหนักถึงลักษณะและสถานะทางสังคมของผู้อื่นมากขึ้น
ประวัติการตีพิมพ์
แก้ภาคที่หนึ่งของ วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ ถูกตีพิมพ์ในปี 1932 ในนิตยสาร Molodaya Gvardiya ภาคที่สองของนวนิยายถูกตีพิมพ์ลงในนิตรสารเล่มเดียวกันตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน พฤษภาคม 1934 นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2479 รูปแบบหนังสือมีการแก้ไขอย่างหนักซึ่งให้สอดคล้องกับแนวคิดสัจนิยมสังคมนิยม ในรูปแบบชุดนั้นออร์ตรอฟสกีได้อธิบายบรรยากาศที่ตึงเครียดของบ้านของปาเวล ความทุกข์ทรมานของเขาเมื่อเขากลายเป็นคนทุพพลภาพ การยุติความสัมพันธ์กับภรรยาของเขา และการแยกทางกันของพวกเขา แต่ทั้งหมดนี้ถูกตัดออกไปในปี 2479 และในนวนิยายฉบับต่อมา[1]
ใน วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นแปลโดย Ryokichi Sugimoto ผู้ซึ่งถูกตัดสินว่าเป็น "สายลับ" และถูกประหารชีวิตหลังจากลักลอกข้ามชายแดนโซเวียตพร้อมกับ Yoshiko Okada ภรรยาของเขาซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง ในความหวังในการพบกับ Vsevolod Meyerhold และ มีส่วนร่วมในการสร้างโรงละครสังคมนิยม[2]
การดัดแปลง
แก้ในสหภาพโซเวียต วีรชนบนเส้นทางปฏิวัติ ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ทั้งหมด 3 ครั้งดังนี้:
- How the Steel Was Tempered ปี 1942 ผลิตโดย เคียฟฟิล์มสตูดิโอ และ อาชกาบัตฟิล์มสตูดิโอ[3]
- Pavel Korchagin ปี 1956 (คอร์ชากินถูกรับบทโดย วาซีลี ลาโนวอย) ผลิตโดย สตูดิโอภาพยนตร์เรื่องยาวเคียฟ
- How the Steel Was Tempered ปี 1973 (ซีรีส์โทรทัศน์ มีทั้งหมด 6 ตอน คอร์ชากินถูกรับบทโดย Vladimir Konkin) ผลิตโดย สตูดิโอภาพยนตร์ที่ตั้งชื่อตามอะเลคซันดร์ โดวเจนโค
ในประเทศจีน นวนิยายได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์โทรทัศน์เรื่องเดียวกันในปี 2000 มีทั้งหมด 20 ตอน ซึ่งนักแสดงทั้งหมดมาจากประเทศยูเครน[4][5] โดยที่ผู้รับบทคอร์ชากินในเวอร์ชันภาษาจีนคือ อันเดรย์ ซามิมีน[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ A History of Soviet Literature, pgs 43–44, Vera Alexandrova, Doubleday, 1963.
- ↑ «Как закалялась сталь», роман на японском языке. Токио, изд. «Наука»
- ↑ "Павка Корчагин. Герои времени". Радио Свобода. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14.
- ↑ "How the Steel of Was Tempered (Ver. 1999) ส่วน Актеры (นักแสดง)". kino-teatr.ru. 2018-04-10.
- ↑ "How the Steel of Lesia Samayeva Was Tempered". The Day newspaper kyiv. 2018-04-10.
- ↑ "«Как закалялась сталь» для китайцев — «лучшая мыльная опера»". Lenta.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-01.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ISBN 0-7147-0585-3
- How the Steel Was Tempered, English translation: Part 1 เก็บถาวร 2019-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Part 2 เก็บถาวร 2019-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Елена Толстая-Сегал, К литературному фону книги : 'Как закалялась сталь', Cahiers du Monde Russe Année 1981 22-4 pp. 375-399, https://www.persee.fr/doc/cmr_0008-0160_1981_num_22_4_1923
- Лев Аннинский, Обрученные с идеей (О повести 'Как закалялась сталь' Николая Островского), http://www.rulit.me/books/obruchennye-s-ideej-o-povesti-kak-zakalyalas-stal-nikolaya-ostrovskogo-read-122693-1.html
- Раиса Островская, Николай Островский, серия ЖЗЛ, Молодая гвардия, 1984
- Евгений Бузни, Литературное досье Николая Островского
- Тамара Андронова, Слишком мало осталось жить... Николай Островский. Биография. – М.: Государственный музей – Гуманитарный центр «Преодоление» имени Н.А. Островского, 2014. http://www.rgbs.ru/tiflology/tiflonews/vechera/2015-v/prezentatsiya-monografii-t-i-andronovoy-slishkom-malo-ostalos-zhit-nikolay-ostrovskiy-/ เก็บถาวร 2019-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน