วิเชียรมาศ บางตำราเรียก แมวแก้ว เป็นแมวไทยโบราณ ตำราว่า ตัวเป็นสีดำดังหมึกวาด และเป็นแมวมงคล มักเลี้ยงกันในวังมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สามัญชนไม่สามารถเลี้ยงได้ มีมูลค่าสูง ซื้อขายได้ถึงหนึ่งแสนตำลึงทอง เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ถูกนำไปพม่าเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินมีค่า หลังจากนั้นก็สูญหายไปจากไทย ต่อมา สมเด็จพุฒาจารย์ พุทฺธสโร ท่องเที่ยวเมืองอยุธยาที่ร้างแล้ว ได้พบสมุดข่อยที่ไม่ถูกเผาซึ่งเอ่ยถึงแมวนี้ จึงให้คนไปไล่หาแมวนี้มาจนพบ จึงได้พันธุ์แมววิเชียรมาศกลับสู่ไทย

แมววิเชียรมาศที่ปรับปรุงสายพันธุ์จากฝั่งตะวันตก (ยุโรปและสหรัฐ)
รูปทรงแมววิเชียรมาศแบบพันธุ์แท้ แต่มีลักษณ์พันธุ์ทางซึ่งปรากฏลายริ้วอ่อน ๆ ที่ขาเหมือนพ่อแม่เป็นลายเสือ

ลักษณะโดยทั่วไป แก้

ลักษณะที่เป็นข้อเด่น แก้

  • ขน ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวมเก้าแห่ง ขณะที่อายุยังเป็นลูกแมว ขนจะออกสีครีมอ่อน ๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อย ๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)
  • หัว หัวไม่กลมหรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
  • ตา สีฟ้า
  • หาง ยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนใหญ่และค่อย ๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว

ลักษณะที่เป็นข้อด้อย แก้

ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้งเก้าแห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสีหรือเป็นสีอื่น ๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

แมววิเชียรมาศใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแข่งขันซีเกมส์ 1985 ที่กรุงเทพมหานคร และยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันซีเกมส์ 1995 ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อว่า "สวัสดี" (Sawasdee) นอกจากนี้ ในโครงการพิเศษ "แคทไอดอล" ของวงไอดอลซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต มีแมวที่เป็นสมาชิกตัวหนึ่งที่เป็นสายพันธุ์วิเชียรมาศ ชื่อว่า "หอมนวล"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้