วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน

วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน (อังกฤษ: William Moulton Marston; 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1893 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947) หรือที่รู้จักกันในนาม ชาลส์ โมลตัน (/ˈmltən/) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องจับเท็จยุคแรก นักเขียนและ นักเขียนการ์ตูนที่สร้างตัวละครวันเดอร์วูแมน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และคนรัก โอลิฟ เบิร์น[2][3]

วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน
เกิด9 พฤษภาคม ค.ศ. 1893(1893-05-09)
ซอกัส รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947(1947-05-02) (53 ปี)
ไรย์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
สาเหตุเสียชีวิตมะเร็งผิวหนัง
สุสานFerncliff Cemetery
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่นชาลส์ โมลตัน
การศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาตรีในปี 1915 นิติศาสตรบัณฑิตในปี 1918 และปริญญาเอกจิตวิทยาในปี 1921
อาชีพนักจิตวิทยา
นักประดิษฐ์
นักเขียน
นายจ้างมหาวิทยาลัยอเมริกัน
มหาวิทยาลัยทัฟส์
มีชื่อเสียงจากผู้สร้าง เครื่องทดสอบความดันโลหิตซิสโตลิก
นักเขียน
ผู้สนับสนุนศักยภาพของสตรี
ผู้สร้าง วันเดอร์วูแมน [1]
ผู้สร้างทฤษฎี DISC
ผู้สืบตำแหน่งRobert Kanigher
คู่สมรสเอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน
คู่รักโอลิฟ เบิร์น
บุตร4

เขาได้รับการแต่งตั้งให้เข้าหอเกียรติยศในหนังสือการ์ตูนใน ค.ศ. 2006

ประวัติ แก้

วัยเด็กและการงาน แก้

มาร์สตัน เกิดในคลิฟตันเดล ในเมืองซอกัส รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นลูกชายของแอนนี่ ดอลตัน และเฟรดเดอริก วิลเลียม มาร์สตัน[4][5] มาร์สตันจบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับปริญญาตรีใน ค.ศ. 1915 นิติศาสตรบัณฑิตใน ค.ศ. 1918 และปริญญาเอกจิตวิทยาในปี 1921 หลังจากการสอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอเมริกัน ใน วอชิงตันดี.ซี.และ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ในเมดฟอร์ด ใน ค.ศ. 1929 มาร์สตันได้เดินทางไปในแคลิฟอร์เนีย เพื่อเป็นผู้อำนวยการของสาธารณะบริการของ ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์

 
วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน (ขวา) ค.ศ. 1922 ขณะทดสอบเครื่องจับเท็จ

มาร์สตัน มีบุตร 2 คนกับภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และอีก 2 คนกับคนรัก โอลิฟ เบิร์น เอลิซาเบธทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ในขณะที่ เบิร์นอยู่บ้านเพื่อดูแลเด็กทั้งสี่คน[6] ทั้งโอลีฟและเอลิซาเบธ "เป็นตัวอย่างของคตินิยมสิทธิสตรีในสมัยนั้น"[7]

นักจิตวิทยาและผู้คิดค้น แก้

มาร์สตันเป็นผู้สร้าง เครื่องทดสอบความดันโลหิตซิสโตลิก ซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเครื่องจับเท็จ (polygraph) ที่ทันสมัยซึ่งคิดค้นโดย John Augustus Larson ในเบิร์คลี่ย์ แคลิฟอร์เนีย ภรรยาของมาร์สตัน เอลิซาเบธ ฮอลโลเวย์ มาร์สตัน เป็นผู้เสนอความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกและความดันโลหิตกับวิลเลียม โดยให้คำสังเกตว่า "เวลาเธอโมโหหรือตื่นเต้น ความดันโลหิตของเธอดูเหมือนจะสูงขึ้น".[8] แม้ว่าเอลิซาเบธ จะไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นผู้ร่วมคิดของมาร์สตัน ในงานแรก ๆ ของเขา Lamb Matte (ค.ศ. 1996) และคนอื่น ๆ ก็อ้างถึงการทำงานเอลิซาเบธ ในงานวิจัยของสามีโดยตรงและโดยทางอ้อม เธอยังปรากฏอยู่ในภาพที่ถ่ายในห้องทดลองของเขาในช่วงปี ค.ศ. 1920 อีกด้วย[9][10] มาร์สตันวางแผนจะขายเครื่องจับเท็จ เมื่อเขาเริ่มทำงานในวงการบันเทิง เขียนหนังสือการ์ตูน และเป็นพนักงานขายในโฆษณาของมีดโกน Gillette โดยใช้ต้นแบบเครื่องจับเท็จ

จากผลงานด้านจิตวิทยาของเขา มาร์สตันเชื่อว่าผู้หญิงมีความซื่อสัตย์มากกว่าผู้ชายในบางสถานการณ์และสามารถทำงานได้เร็วและถูกต้องกว่า

มาร์สตันยังเป็นนักเขียนบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาที่ได้รับความนิยม ใน ค.ศ. 1928 เขาได้ตีพิมพ์ Emotions of Normal People (ลักษณะอารมณ์ของคนปกติ) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎี DISC ไว้อย่างละเอียด มาร์สตันมองว่าคนที่มีพฤติกรรมตามสองแกนด้วยความสนใจของพวกเขาเป็นแบบพาสซีฟหรือแอ็กทิฟ ช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของตนในฐานะที่เป็นที่นิยมหรือเป็นปฏิปักษ์ โดยวางแกนไว้ที่มุมฉาก สี่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสพร้อมกับอธิบายลักษณะพฤติกรรมแต่ละแบบ:

  • การควบคุม (Dominance) ก่อให้เกิดกิจกรรมในสภาพแวดล้อมที่เป็นปฏิปักษ์
  • การโน้มน้าว (Inducement) ก่อให้เกิดกิจกรรมในสภาพแวดล้อมที่นิยม
  • การโอนอ่อน (Submission) จะทำให้เกิดความยินยอมในสภาพแวดล้อมที่นิยม
  • การยินยอม (Compliance) จะทำให้เกิดความอดทนในสภาพแวดล้อมที่ที่เป็นปฏิปักษ์

มาร์สตันได้ตั้งข้อสังเกตว่า แนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้ชายที่มีความผิดศีลธรรมและความรุนแรงและเป็นปฏิปักษ์กับความคิดของผู้หญิงที่ขึ้นอยู่กับ "ความยั่วยวนในรัก (Love Allure)" ซึ่งนำไปสู่สถานะที่เหมาะสำหรับการยอมจำนนยังผู้มีอำนาจที่รัก ในปี 1929 เขาเขียนเรื่องสิทธิของผู้ชายในฐานะนักข่าวหนังสือพิมพ์[11]

วันเดอร์วูแมน แก้

การสร้าง แก้

เมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1940 การสัมภาษณ์อดีตนักศึกษาโอลีฟ เบิร์น (ภายใต้นามแฝง "โอลีฟ ริชาร์ด") ได้รับการตีพิมพ์ใน The Family Circle (หัวข้อ "อย่าหัวเราะเยาะในหนังสือการ์ตูน") มาร์สตันบอกว่าเขาเห็น "ศักยภาพทางการศึกษาที่ดี" ในหนังสือการ์ตูน (บทความถูกตีพิมพ์เมื่อสองปีให้หลัง ค.ศ. 1942)[12] การสัมภาษณ์ได้รับความสนใจจากผู้จัดพิมพ์การ์ตูน Max Gaines ผู้ซึ่งได้ว่าจ้างมาร์สตัน เป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาสำหรับ National Periodicals และ All-American Publications ซึ่งเป็น บริษัทสองแห่งที่ต่อมารวมเป็น ดีซีคอมิกส์

ในช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ. 1940 การ์ตูนส่วนใหญ่ของ ดีซีคอมิกส์ เป็นผู้ชายที่มีพลังพิเศษเช่น กรีนแลนเทิร์น และ ซุปเปอร์แมน ตลอดจน แบทแมน กับอุปกรณ์ไฮเทคของเขา ในบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2001 ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตัน กล่าวว่าเอลิซาเบธ ภรรยาของมาร์สตัน เป็นผู้คิดจะสร้างซูเปอร์ฮีโร่หญิง เมื่อมาร์สตันพูดถึงไอเดียการสร้างซูเปอร์ฮีโร่แบบใหม่ที่จะเอาชนะไม่ใช่ด้วยกำปั้นหรืออาวุธแต่ด้วยความรัก เอลิซาเบธ กล่าวว่า "ก็ได้ แต่เธอต้องเป็นผู้หญิงนะ"[13][14]

มาร์สตันได้แนะนำแนวคิดเรื่องนี้กับ Max Gaines ผู้ร่วมก่อตั้ง All-American Publications กับ Jack Liebowitz หลังจากได้รับอนุญาต เขาก็ได้เริ่มสร้างตัวละครวันเดอร์วูแมนโดยได้รับแรงบรรดาลใจจาก ผู้หญิงสมัยใหม่ที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม มีอำนาจและเสรีนิยมในยุคนั้น[15] นามแฝงของมาร์สตัน ชาลส์ โมลตันเป็นการรวมชื่อกลางของ Gaines และตัวเขาเอง

ในบทความของ American Scholar ใน ค.ศ. 1943 มาร์สตันได้เขียนว่า "ถึงแม้เด็กผู้หญิงจะไม่อยากเป็นเด็กผู้หญิงเป็นเวลานาน แต่แม่แบบผู้หญิงของเราขาดพลัง ความแข็งแรงและพลังอำนาจ การไม่อยากเป็นเด็กผู้หญิงนั้น เพราะพวกเขาไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นคนอ่อนโยน หัวอ่อน รักสงบ คุณภาพที่แข็งแกร่งของผู้หญิงได้กลายเป็นที่ดูหมิ่นเพราะความอ่อนแอของพวกเขา วิธีการแก้ที่ดีที่สุดคงเป็นการสร้างตัวละครผู้หญิงที่มีพลังของซูเปอร์แมน แต่ยังเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของผู้หญิงที่ดีและสวยงาม"

ใน ค.ศ. 2017 เอกสารส่วนบุคคลของมาร์สตันส่วนใหญ่ได้ส่งมาถึงหอสมุดชเลซิงเจอร์ ที่สถาบัน Radcliffe Institute for Advanced Study ที่กล่าวถึงเบื้องหลังวันเดอร์วูแมน และของชีวิตส่วนตัวนอกรีตของเขากับสองผู้หญิงอุดมคติที่แข็งแกร่ง ทั้งภรรยา เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน และคนรัก โอลิฟ เบิร์น และความเกี่ยวโยงกับ Margaret Sanger นักสตรีนิยมคนหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ[16]

การพัฒนา แก้

ตัวละครมาร์สตันเป็นชนพื้นเมืองของยูโทเปียหญิงล้วนเรียกว่า ชาวแอมะซอนที่กลายเป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯในการต่อสู้กับอาชญากรรมโดยใช้ความแข็งแกร่งและความว่องไวและความสามารถของเธอในการบังคับให้คนร้ายบอกความจริง ด้วยการผูกมัดพวกเขาด้วยเวทมนตร์เชือกของเธอ[17] ลักษณะภายนอกของเธอเชื่อกันว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากโอลิฟ เบิร์น และกำไลทองสัมฤทธิ์ (ซึ่งวันเดอร์วูแมนใช้เพื่อกันกระสุน) ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากกำไลเครื่องประดับที่สวมใส่โดยเบิร์น[18]

หลังจากที่ชื่อ "ซูพรีมา" ถูกแทนที่ด้วย "วันเดอร์วูแมน" ซึ่งเป็นคำที่ได้รับความนิยมในนั้น และสื่อถึงผู้หญิงที่มีพรสวรรค์เป็นพิเศษ วันเดอร์วูแมนได้เปิดตัวในหนังสือการ์ตูน All Star Comics #8 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 โดย วันเดอร์วูแมน ปรากฏตัวครั้งต่อไป ในหนังสือการ์ตูนSensation Comics #1 (มกราคม 2485) และหกเดือนต่อมาใน Wonder Woman #1

วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ใน Rye, นิวยอร์ก, เจ็ดวันที่ก่อนวันเกิดปีที่ 54 ของเขา หลังจากการตายของเขา เอลิซาเบธ และโอลิฟ ยังคงอยู่ด้วยกันจนโอลิฟเสียชีวิตตอนอายุ 86 ปี ในปี 1990 และเอลิซาเบธเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1993 มีอายุ 100 ปี[18] ใน ค.ศ. 1985 หลังจากการตาย มาร์สตันได้ถูกยกย่องโดย ดีซีคอมิกส์ ในนิตยสารครบรอบ 50 ปีว่าเป็น หนึ่งในห้าสิบคนที่ทำให้ดีซีคอมิกส์ดี[19]

ในภาพยนตร์ แก้

ชีวิตของมาร์สตันได้ถูกถ่ายทอดในภาพยนตร์ Professor Marston and the Wonder Women เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติที่เล่าถึง เอลิซาเบธ ฮาโลเวย์ มาร์สตัน โอลิฟ เบิร์นและการสร้างวันเดอร์วูแมน[20][21] นำแสดงโดยลูค อีแวนส์ รีเบคกา ฮอลล์ และเบลลา ฮีธโคต[22]

บรรณานุกรม แก้

  • "Systolic blood pressure symptoms of deception and constituent mental states." (Harvard University, 1921) (doctoral dissertation)
  • (1999; originally published 1928) Emotions of Normal People. Taylor & Francis Ltd. ISBN 0-415-21076-30-415-21076-3
  • (1930) Walter B. Pitkin & William M. Marston, The Art of Sound Pictures. New York: Appleton.
  • (1931) ''Integrative Psychology: A Study of Unit Response (with C. Daly King, and Elizabeth Holloway Marston).
  • (c. 1932) Venus with us; a tale of the Caesar. New York: Sears.
  • (1936) You can be popular. New York: Home Institute.
  • (1937) Try living. New York: Crowell.
  • (1938) The lie detector test. New York: Smith.
  • (1941) March on! Facing life with courage. New York: Doubleday, Doran.
  • (1943) F.F. Proctor, vaudeville pioneer (with J.H. Feller). New York: Smith.
บทความวิจัย
  • (1917) "Systolic blood pressure symptoms of deception." Journal of Experimental Psychology, Vol 2(2), 117–163.
  • (1920) "Reaction time symptoms of deception." Journal of Experimental Psychology, 3, 72–87.
  • (1921) "Psychological Possibilities in the Deception Tests." Journal of Criminal Law & Criminology, 11, 551–570.
  • (1923) "Sex Characteristics of Systolic Blood Pressure Behavior." Journal of Experimental Psychology, 6, 387–419.
  • (1924) "Studies in Testimony." Journal of Criminal Law & Criminology, 15, 5–31.
  • (1924) "A Theory of Emotions and Affection Based Upon Systolic Blood Pressure Studies." American Journal of Psychology, 35, 469–506.
  • (1925) "Negative type reaction-time symptoms of deception." Psychological Review, 32, 241–247.
  • (1926) "The psychonic theory of consciousness." Journal of Abnormal and Social Psychology, 21, 161–169.
  • (1927) "Primary emotions."Psychological Review, 34, 336–363.
  • (1927) "Consciousness, motation, and emotion." Psyche, 29, 40–52.
  • (1927) "Primary colors and primary emotions." Psyche, 30, 4–33.
  • (1927) "Motor consciousness as a basis for emotion." Journal of Abnormal and Social Psychology, 22, 140–150.
  • (1928) "Materialism, vitalism and psychology." Psyche, 8, 15–34.
  • (1929) "Bodily symptoms of elementary emotions." Psyche, 10, 70–86.
  • (1929) "The psychonic theory of consciousness—an experimental study," (with C.D. King). Psyche, 9, 39–5.
  • (1938) "'You might as well enjoy it.'" Rotarian, 53, No. 3, 22–25.
  • (1938) "What people are for." Rotarian, 53, No. 2, 8–10.
  • (1944) "Why 100,000,000 Americans read comics." The American Scholar, 13 (1), 35–44.
  • (1944) "Women can out-think men!" Ladies Home Journal, 61 (May), 4–5.
  • (1947) "Lie detection's bodily basis and test procedures," in: P.L. Harriman (Ed.), Encyclopedia of Psychology, New York, 354–363.
  • Articles "Consciousness," "Defense mechanisms," and "Synapse" in the 1929 edition of the Encyclopædia Britannica.

บันทึก แก้

อ้างอิง แก้

  1. Garner, Dwight (October 23, 2014). "Books – Her Past Unchained 'The Secret History of Wonder Woman,' by Jill Lepore". New York Times. สืบค้นเมื่อ October 23, 2014.
  2. "BU Alumni Web :: Bostonia :: Fall 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2007.
  3. "OUR TOWNS; She's Behind the Match For That Man of Steel". February 18, 1992.
  4. Flavin, R. D. (n.d.) The Doctor and the Wonder Women: Love, Lies, and Revisionism. Retrieved October 3, 2014.
  5. Harvard Class of 1915 25th Anniversary Report, pp. 480–482.
  6. Marston, Christie (October 20, 2017). "What 'Professor Marston' Misses About Wonder Woman's Origins (Guest Column)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ October 21, 2017.
  7. Tim Hanley, Wonder Woman Unbound: The Curious History of the World's Most Famous Heroine, Chicago Review Press, 2014, p. 12.
  8. (Lamb, 2001)
  9. "The Polygraph and Lie Detection".
  10. Moore, Mark H. (2003). The Polygraph and Lie Detection. National Academies Press. p. 29. ISBN 0-309-08436-9.
  11. "Why Men Are Organizing To Fight Female Dominance" October 19, 1929, Hamilton Evening Journal
  12. Richard, Olive. Our Women Are Our Future เก็บถาวร 2006-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Lamb, Marguerite. "Who Was Wonder Woman? Long-Ago LAW Alumna Elizabeth Marston Was the Muse Who Gave Us a Superheroine." Boston University Alumni Magazine, Fall 2001.
  14. Malcolm, Andrew H. "OUR TOWNS; She's Behind the Match For That Man of Steel". The New York Times, Feb. 18, 1992.
  15. Daniels, Les. Wonder Woman: The Complete History, (DC Comics, 2000), pp. 28–30.
  16. Walsh, Colleen (September 7, 2017). "The life behind Wonder Woman". harvard.edu. Harvard University. สืบค้นเมื่อ December 16, 2017.
  17. Lepore, Jill. The Secret History of Wonder Woman, New York: Alfred A. Knopf, 2014, ISBN 9780385354042, pages 183–209.
  18. 18.0 18.1 Lepore, Jill (October 2014). "The Surprising Origin Story of Wonder Woman". Smithsonian.com. Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  19. Marx, Barry, Cavalieri, Joey and Hill, Thomas (w), Petruccio, Steven (a), Marx, Barry (ed). "William Moulton Marston Wonder Woman's Legend Born" Fifty Who Made DC Great: 17 (1985), DC Comics
  20. Wonder Woman creator biopic gets mysterious first teaser
  21. What that mysterious teaser before 'Wonder Woman' was about
  22. D'Alessandro, Anthony (September 15, 2017). "Annapurna To Release MGM's 'Death Wish' Over Thanksgiving; Sets October Date For 'Professor Marston & The Wonder Women'". Deadline.com. สืบค้นเมื่อ September 15, 2017.