วิรุณ ตั้งเจริญ

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 -) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[1], นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2546 - 2554)[2], อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และนักการศึกษา นักบริหาร ศิลปินด้านทัศนศิลป์ ผลงานที่โดดเด่นที่สุด คือการเป็นนักวิชาการด้านศิลปะ มีผลงานออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลงานหนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์ และ ทฤษฎีด้านศิลปะ

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
25 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้านายชัยพร รัตนนาคะ
อธิบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(7 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าสุมณฑา พรหมบุญ
ถัดไปเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (77 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ

การศึกษา แก้

ระดับมัธยมศีกษา โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง และวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) แล้วจึงไปศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจิตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยอเมริกัน และปริญญาเอกด้านศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์สเตท และประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.1) สถาบันพระปกเกล้า[3]

การทำงาน แก้

เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา​ ประสานมิตร ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร และได้ย้ายมาสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ต่อมาจึงเป็นคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม, ประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ตำแหน่งหน้าที่อื่น แก้

นอกเหนือจากการทำงานในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแล้ว ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ทำงานในหน่วยงานต่างๆ อีก อาทิเช่น เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา เป็นประธานฝ่ายวิชาการ สมาคมฝ่ายศิลปกรรมไทย (ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี[4] เป็นภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน สำนักศิลปกรรม และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

ผลงานวิจัย แก้

  • Painting : Construction in Spatial Field (R&D/Thesis : MFA.)
  • A cross Cultural Study : The Relationship Between Perception and Drawing Ability Among Children from the United States and Thailand (Dissertation : Ed.D)
  • ประธานโครงการวิจัยและพัฒนาหนังสือศิลปกรรม ศิลปวัฒนธรรม และศิลปาชีพในโครงการวิจัยและพัฒนาหนังสือและโฮมเพจ ชุดพัฒนาสังคมตามแนวพระราชดำริ (ทุนวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร)
  • ประธานโครงการวิจัยเรื่อง "รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ : กรณีศึกษาโรงเรียนไผทอุดมศึกษา" (ทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ)

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • Mary M. Packwood Awards. Illinois State University, USA
  • รางวัลสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ "สำนึกของปลาทอง" สำนักพิมพ์ต้นอ้อ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/310/12.PDF
  2. รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2553)
  3. สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[ลิงก์เสีย]
  4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๗๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙