วิธีใช้:สอนแก้ไขด้วยมาร์กอัปวิกิ/ทั้งหมด

การแก้ไขหน้า

 

วิกิพีเดียจัดรูปแบบโดยใช้ภาษาของตัวเอง เรียก มาร์กอัปวิกิ หรือเรียก ข้อความวิกิ พื้นฐานค่อนข้างง่าย


คุณมีทางเลือกใช้โปรแกรมแก้ไขสองโปรแกรม "โปรแกรมแก้ไขต้นฉบับ" ใช้มาร์กอัปวิกิ


 

อีกทางหนึ่ง คุณสามารถใช้ VisualEditor ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟซแก้ไขทุติยภูมิซึ่งทำงานเหมือนกับโปรแกรมประมวลคำ แม้ว่า VisualEditor อาจดูใช้ได้ง่ายกว่า แต่โปรแกรมแก้ไขต้นฉบับมีประสิทธิภาพทำงานบางอย่างได้ดีกว่า คุณสามารถเปลี่ยนโปรแกรมแก้ไขไปมาได้ตลอดระหว่างแก้ไข ดังแสดงขวามือ


ในการเข้าชมและแก้ไขหน้าโดยใช้มาร์กอัปวิกิ ให้คลิก แก้ไข (หรือ แก้ไขต้นฉบับ) ที่อยู่บนสุดของทุกหน้า จะทำให้คุณสามารถกรอกข้อความที่คุณต้องการเพิ่ม เปลี่ยนหรือลบได้ โดยใช้มาร์กอัปวิกิในการจัดรูปแบบข้อความและเพิ่มภาพและตาราง ซึ่งจะอธิบายต่อไปในหน้าสอนนี้


ในตอนแรกมาร์กอัปวิกิอาจดูน่ากลัว (โดยเฉพาะเวลาอ้างอิง) แต่จริง ๆ แล้วการทำความเข้าใจและใช้ต้องการทราบกฎเพียงไม่กี่ข้อ แล้วคุณก็จะคุ้นเคยอย่างรวดเร็ว!


การจัดรูปแบบ

 

ที่จริงบทความส่วนใหญ่แทบไม่ต้องใช้การจัดรูปแบบข้อความ

การจัดรูปแบบทั้งหมดใช้การวางสัญลักษณ์ขนาบบล็อกข้อความสองข้าง คุณสามารถพิมพ์มาร์กอัปเอง หรือเพิ่มผ่านแถบเครื่องมือที่อยู่บนพื้นที่แก้ไขก็ได้


เพิ่มพาดหัวและพาดหัวย่อยโดยคลิก   ขั้นสูง แล้ว หัวเรื่องหลัก   ในบรรทัดแถบเครื่องมือเพิ่มเติมซึ่งจะปรากฏหลังกดปุ่มแรก

เมื่อเลือก "ลำดับที่ 2" จะจัดรูปแบบข้อความเป็นพาดหัวหลัก ซึ่งใช้เป็นการแบ่งส่วนย่อยที่ใช้มากที่สุด
"ลำดับที่ 3" จะได้พาดหัวย่อยสำหรับพาดหัวระดับ 2 เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ในการสร้างพาดหัวโดยไม่ใช้แถบเครื่องมือ ให้ใส่ข้อความไว้กลางสัญัลกษณ์ =; จำนวนสัญลักษณ์ = ที่ขนาบข้อความจะระบุระดับของพาดหัว ดังนี้
==พาดหัว== (ลำดับที่ 2)
===พาดหัวย่อย=== (ลำดับที่ 3)


สามารถทำข้อความเป็นตัวเส้นหนา หรือ ตัวเอน ได้ โดยใช้ปุ่ม B และ I บนแถบเครื่องมือ
ในการสร้างตัวเส้นหนาหรือตัวเอน โดยไม่ใช้แถบเครื่องมือ ให้ใส่ข้อความไว้กลางสัญลักษณ์อะพอสทรอฟี '; ข้างละสามตัวสำหรับตัวเส้นนา หรือข้างละสองตัวสำหรับตัวเอน
'''ตัวเส้นหนา'''
''ตัวเอน''
ให้เน้นตัวเส้นหนาชื่อเรื่องบทความเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกในบทความเพียงครั้งเดียว สำหรับกรณีอื่นดูในคู่มือการเขียนเกี่ยวกับตัวเอน นอกเหนือจากนั้นไม่ควรใช้

ลิงก์และวิกิลิงก์

วิกิลิงก์เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของวิกิพีเดีย วิกิลิงก์ช่วยเชื่อมโยงหน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เหมือนกับการเย็บสารานุกรมเข้าด้วยกันเป็นเล่ม


โดยทั่วไป ควรเพิ่มวิกิลิงก์เฉพาะเมื่อกล่าวถึงมโนทัศน์ที่สำคัญหรือผู้อ่านไม่ค่อยคุ้นเคยเมื่อกล่าวถึงเฉพาะครั้งแรกในบทความ (ใช้แทนเชิงอรรถในสารานุกรมรูปเล่ม)


วิกิลิงก์ปกติใช้วงเล็บเหลี่ยม ดังนี้ [[หน้าเเป้าหมาย]]


หากคุณต้องการเชื่อมโยงไปหน้าหนึ่ง แต่ต้องการให้ข้อความแสดงเป็นอย่างอื่น สามารถใช้ขีดตั้ง | แบ่งได้ ( Shift+\) ดังนี้
[[หน้าเป้าหมาย|ข้อความที่จะให้แสดง]]


คุณยังสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนย่อยของบทความได้ด้วยเครื่องหมายแฮช # ดังนี้
[[หน้าเป้าหมาย#ส่วนเป้าหมาย|ข้อความที่จะให้แสดง]]


ตัวอย่างมีดังต่อไปนี้


คุณอาจไปพบกับ แม่แบบ ซึ่งทำให้ส่วนย่อยที่ใช้บ่อยรวมอยู่ได้ในหลายหน้า แม่แบบจะมีรูปแบบคือวงเล็บเหลี่ยม ดังนี้ {{ชื่อแม่แบบ|พารามิเตอร์}}


ตัวอย่างเช่น ในการแทรกป้ายระบุ [ต้องการอ้างอิง] คุณสามารถใช้รหัสดังนี้ {{อ้างอิง|date=มีนาคม 2024}}

บันทึกการเปลี่ยนแปลง

ความย่อการแก้ไข (สรุปสิ่งที่คุณได้เปลี่ยนแปลง อย่าใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นผู้ที่แก้ไขก่อนหน้า)

 

เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เฝ้าดูหน้านี้

เมื่อกดปุ่ม เผยแพร่หน้า หรือ เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง ถือว่าคุณยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน และคุณตกลงเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA 4.0 และ GFDL อย่างไม่อาจเพิกถอนได้ คุณยอมรับว่า ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลเป็นการแสดงที่มาเพียงพอภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง แสดงตัวอย่าง แสดงการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก

 


เมื่อคุณเห็นว่าพร้อมเผยแพร่ (บันทึก) การเปลี่ยนแปลงของคุณ แล้ว ขอให้ปฏิบัติต่อไปนี้ก่อน


คุณควรแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของคุณเพื่อตรวจสอบว่าการแก้ไขของคุณเป็นอย่างที่คุณตั้งใจไว้หรือยัง โดยคลิกปุ่ม แสดงตัวอย่าง วิธีนี้ช่วยให้คุณตรวจพบข้อผิดพลาดได้ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงบทความ


เขียนความย่อการแก้ไขในกล่องความย่อการแก้ไขเพื่อช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของคุณ และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง คุณจะพิมพ์อธิบายไว้สั้น ๆ ก็ได้ เช่น "แก้สะกด"


หากคุณเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ไม่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียง เช่น แก้การสะกดหรือไวยากรณ์ หรือไม่เปลี่ยนแปลงความหมายของหน้า คุณควรเลือกกล่อง "☑ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย" เพื่อช่วยลดภาระการตรวจทานภายหลัง


ในการเพิ่มหน้าเข้า'รายการเฝ้าดูของคุณ เพื่อให้คุณได้รับแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงในหน้านี้ในภายหลัง ให้เลือกกล่อง "☑ เฝ้าดูหน้านี้"


หลังแสดงตัวอย่างแล้ว เขียนความย่อการแก้ไขแล้ว คุณก็พร้อมสำหรับขั้นสุดท้าย คลิกปุ่ม เผยแพร่หน้า แล้วการเปลี่ยนแปลงของคุณจะอัปโหลดเข้าสู่วิกิพีเดียทันที

สร้างบทความใหม่

 

วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความแล้ว 163,000 บทความ ฉะนั้นเวลาส่วนใหญ่คุณน่าจะคอยปรับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและพัฒนายิ่งขึ้น แต่บางโอกาสคุณอาจต้องการสร้างบทความใหม่! ก่อนที่คุณจะทำเช่นนั้น มีเกณฑ์ 3 ข้อที่คุณควรทราบ ดังนี้


ความสำคัญ

หัวข้อนั้นมีความสำคัญหรือไม่ เรื่องที่คุณต้องการเขียนจะต้องมีความสำคัญเพียงพอที่จะมีบทความในวิกิพีเดีย หมายความว่า เรื่องนั้นจะต้องมีการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสียกับหัวเรื่องนั้น เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร บทความวารสารวิชาการ และหนังสือ

ลองทดสอบตัวเองสั้น ๆ เกี่ยวกับความสำคัญ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและพิสูจน์ยืนยันได้รองรับข้ออ้างของคุณหรือไม่ ก่อนเริ่มต้นเขียนบทความ จะเป็นการดีที่สุดในการรวบรวมแหล่งอ้างอิงที่ไม่มีส่วนได้เสีย น่าเชื่อถือและพิสูจน์ยืนยันได้สำหรับใช้อ้างอิงเสียก่อน เพราะจำเป็นต่อการรับประกันว่าเนื้อหาของวิกิพีเดียจะเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ อย่าเขียนเพราะว่าเป็นสิ่งที่คุณรู้หรือฟังต่อ ๆ กันมาเฉย ๆ

ผลประโยชน์ทับซ้อน

คุณมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับเรื่องที่คุณจะเขียนหรือไม่ ควรเลี่ยงเขียนบทความเกี่ยวกับตัวคุณเอง บริษัทของคุณ หรือคนที่คุณรู้จักเป็นการส่วนตัว เพราะเลี่ยงอคติได้ยากและมักไม่มีมุมมองที่เป็นกลางในเรื่องเหล่านั้น แต่ถึงคุณจะเขียนบทความด้วยตนเองไม่ได้ คุณสามารถขอให้คนอื่นเขียนให้แทนก็ได้ ตราบเท่าที่เรื่องนั้นผ่านเกณฑ์ข้างต้น 2 ข้อแล้ว

สร้างหน้าใหม่ได้ที่ใด

ควรเริ่มต้นสร้างบทความใหม่จากฉบับร่างจะดีที่สุด (เช่น "ฉบับร่าง:ตัวอย่าง") เพราะคุณจะมีพื้นที่ส่วนตัวในการเขียนและพัฒนาบทความก่อนย้ายเข้าเนมสเปซหลักของวิกิพีเดียซึ่งจะมีการตรวจอย่างเข้มงวด

ดูเพิ่ม