วิธีใช้:สอนนโยบายและแนวปฏิบัติ/ทั้งหมด

จริง ๆ แล้ววิกิพีเดียมีกฎเข้มงวดไม่กี่ข้อเท่านั้น แต่ตั้งอยู่บนหลักการมูลฐาน 5 ข้อ ชุมชนวิกิพีเดียพัฒนานโยบาย และ แนวปฏิบัติ เพื่ออธิบายหลักการดังกล่าวให้กระจ่างขึ้น และอธิบายว่าการนำหลักการนั้นไปปฏิบัติ ระงับข้อพิพาท และช่วยส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายของเราในการสร้างสารานุกรมเสรีและน่าเชื่อถือได้อย่างไร


นโยบายเป็นการอธิบายหลักการมูลฐานของวิกิพีเดียให้ละเอียดยิ่งขึ้น และแนวปฏิบัติเป็นข้อแนะนำวิธีการใช้นโยบายและการวางรูปแบบบทความต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นโยบายและแนวปฏิบัติอย่างเป็นทางการมีประกาศอยู่ด้านบนชัดเจน และมีคำเติมหน้า "วิกิพีเดีย:" ก่อนชื่อหน้า


แม้ว่าวิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายหรือแนวปฏิบัติอยู่หลายเรื่อง แต่เราไม่ได้คาดว่าใครจะต้องรู้ทั้งหมด โชคดีว่ากฎตั้งอยู่บนกฎพื้นฐานไม่กี่ข้อ ซึ่งเราจะมีอธิบายสั้น ๆ ถึงกฎสำคัญอันเป็นจิตวิญญาณโดยทั่วไปของกฎวิกิพีเดีย ในหน้าต่อไปนี้ การทราบกฎพื้นฐานทำให้การอภิปรายและการเขียนง่ายและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

เนื้อหา

วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม และชุมชนบากบั่นเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำเสมอ บทความควรมีความเป็นกลาง และพึงมีแต่สารสนเทศและความเห็นที่พิสูจน์ยืนยันได้จากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ความประพฤติ

 
WikiLove to other editors!

การเขียนวิกิพีเดียเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงกัน มีจุดเริ่มต้นสองข้อสำหรับการร่วมงานกับผู้อื่น: ขอให้กล้าและประพฤติเยี่ยงอารยชน


ขอให้กล้าเวลาแก้ไข! การแก้ไขส่วนใหญ่ทำให้สารานุกรมดีขึ้น และข้อผิดพลาดสามารถย้อนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้เสมอ หากคุณพบเห็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ สามารถแก้เองได้เลย และไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น หากการแก้ไขนั้นมีเจตนาพัฒนาและสมเหตุสมผล มีโอกาสดีที่ทุกอย่างจะเป็นที่ยอมรับและคงอยู่ แต่ถ้าไม่ดีประเดี๋ยวจะมีผู้อื่นมาเปลี่ยนกลับเอง


ประพฤติเยี่ยงอารยชน หมายถึง ให้สนทนาอย่างสุภาพและสันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสนใจกับเนื้อหาของการแก้ไขมากกว่าปัญหาส่วนบุคคล กฎนี้กำหนดให้มีส่วนร่วมแบบเคารพและเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยไม่ละเลยจุดยืนและข้อสรุปของผู้อื่น สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจหมายถึงให้สันนิษฐานโดยปริยายว่าผู้อื่นเจตนาพัฒนาวิกิพีเดีย ถ้าจำเป็นต้องวิจารณ์หรือแก้ไขงานของเขา ให้อภิปรายการกระทำของผู้ใช้คนนั้น แต่อย่าเที่ยวกล่าวหาใครว่ามีเจตนาทำลายหากไม่มีหลักฐานชัดเจน


ปกติผู้เขียนบรรลุความเห็นพ้องเป็นผลลัพธ์ธรรมชาติของการแก้ไข โดยทั่วไปเมื่อมีคนเปลี่ยนหรือเพิ่มเนื้อหา ทุกคนที่อ่านจะมีโอกาสปล่อยไว้หรือแก้ไขต่อ การถูกย้อนอาจรู้สึกไม่ดีอยู่บ้าง แต่อย่าถือโทษโกรธกัน เพราะเป็นขั้นตอนทั่วไปในการหาความเห็นพ้องอยู่แล้ว หากคุณเห็นต่างหรือมีข้อเสนอแนะ ให้เขียนข้อความไว้ในหน้าคุยของบทความ และอภิปรายการเปลี่ยนแปลงอย่างสุภาพ จนกว่าบรรลุความเห็นพ้องกัน


ดูเพิ่ม