วิทิต มันตาภรณ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ KBE (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 – ปัจจุบัน) เป็นนักกฎหมายชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ศาสตราจารย์กิตติคุณคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคนที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันวิเศษยิ่งแห่งจักรวรรดิอังกฤษ[1]
วิทิต มันตาภรณ์ | |
---|---|
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ประเทศไทย |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, Free University of Brussels |
อาชีพ | อาจารย์ นักกฎหมาย |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรคนกลางในบรรดาบุตรธิดา 3 คนของนิรมล โทณวณิก และศาสตราจารย์นายแพทย์ สมาน มันตาภรณ์ บิดาแห่งศัลยกรรมทรวงอกของประเทศไทย
การศึกษา
แก้ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัยจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียน Akeley Wood และมัธยมศึกษาจาก Malvern College โดยเลือกสอบในวิชาภาษาฝรั่งเศส ละติน และประวัติศาสตร์[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมาย Bachelor of Arts (B.A. in Law) (Hons.) พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974); ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ Bachelor of Civil Law (B.C.L) พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และปริญญาโท (M.A.) (Oxon) พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร ได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายยุโรป (Licence Speciale en droit europeen) ที่ Université Libre de Bruxelles (Free University of Brussels) ประเทศเบลเยียม ในพ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)[3] นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าเนติบัณฑิต (Barrister-at-Law) ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในพ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2529 – 2530 (ค.ศ. 1986 – 1987) เป็นผู้ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations University Fellow) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร[4]
การทำงาน
แก้ด้านการสอน ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเป็นอาจารย์และผู้บรรยายในสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งในและนอกประเทศ อาทิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเรดดิง (Reading University) สหราชอาณาจักร Canadian Human Rights Foundation ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ประเทศเกาหลีใต้ (2016 Winter Course on Human Rights and Asia)[5]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเริ่มเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่พ.ศ. 2521 ซึ่งสอนรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กฎหมายผู้ลี้ภัย กฎหมายสิทธิเด็ก กฎหมายสหภาพยุโรป และสัมมนากฎหมายระหว่างประเทศ โดยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ก่อนเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ (Professor Emeritus) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยผู้ลี้ภัยและการย้ายถิ่น และสัมมนากฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นศาสตราภิชาน (Distinguished Scholar) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในด้านการทำงานภายใต้กรอบกิจกรรมขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
- กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรีย (Commissioner on the Independent International Commission of inquiry on Syria) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)[7]
- กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์ (Member of the Advisory Board on Human Security) ของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Trust Fund for Human Security: UNTFHS) ตั้งแต่พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[8]
- กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านความคุ้มกันระหว่างประเทศ (Member of the Advisory Group of Eminent Persons on International Protection) ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office of High Commissioner for Human Rights: UNHCR) ตั้งแต่พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) และ
- กรรมการในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ (Member of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations: CEAR) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ตั้งแต่พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)[9]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการป้องกันความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศ (Independent Expert on the Protection against Violence and Discrimination based on Sexual Orientation and Gender Identity: SOGI) โดยประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบจากรัฐสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2559 ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 33[10]
ในอดีต ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศโกดติวัวร์ (ไอวอรีโคสต์) (Chair of the International Commission of Inquiry on the Ivory Coast) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในพ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)
- ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศเกาหลีเหนือ (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in Democratic People’s Republic of Korea) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างพ.ศ. 2547 - 2553 (ค.ศ. 2004 - 2010)
- ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านกระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ (Chairperson of the Coordinating Committee of United Nations Special Procedures) ขององค์การสหประชาชาติ ระหว่างพ.ศ. 2549 - 2550 (ค.ศ. 2006 -2007)
- ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกเด็ก (United Nations Special Rapporteur on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 - 2537 (ค.ศ. 1990 - 1994)
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาประจำสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR), สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO), องค์การอนามัยโลก (WHO) และมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nations University: UNU)
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกฝ่ายไทย ในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก โดยมีกำหนด 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป[11]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตมีประสบการณ์การทำงานกับองค์การนอกภาครัฐในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างหลากหลาย โดยได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (The International Commission of Jurists: ICJ)[12]; ประธานร่วมของสภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ (Co-Chairperson of the Advisory Council of Jurists) ในเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions: APF)[13]; ประธานร่วมคณะทำงานเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (Co-Chairperson of the Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism)[14]; กับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies)[15]; ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of Red Cross) และอาสาสมัครในการอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่หน่วยงานของรัฐและองค์กรอิสระ
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิตเคยดำรงตำแหน่งประธานร่วมในการวางกรอบหลักการยอกยาการ์ตา (Yogyakarta Principles on the Application of International Human Rights Law in relation to Sexual Orientation and Gender Identity) ซึ่งเป็นการประยุกต์กฎหมายสิทธิมนุษยชนมาใช้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ ที่มหาวิทยาลัย Gadjah Mada เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 6 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[16]
งานเขียน
แก้- The Core Human Rights Treaties and Thailand (2016) [กำลังจะตีพิมพ์], สำนักพิมพ์ Brill Nijhoff (ISBN 9789004326668)
- Unity in Connectivity?: Evolving Human Rights Mechanisms in the Asean Region (Nijhoff Law Specials) (2013), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
- ACJ Report on Human Rights, Sexual Orientation and Gender Identity (2010), สภาที่ปรึกษานักนิติศาสตร์ของเวทีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเอเชียแปซิฟิก (Advisory Council of Jurists of the Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions)
- A Commentary on the United Nations Convention on the Rights of the Child, Article 34: Sexual Exploitation and Sexual Abuse of Children (2007), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff
- "Human Rights Monitoring in the Asia Pacific Region" ในหนังสือ International Human Rights Monitoring Mechanisms: Essays in Honour of Jakob Th. Möller (2001), สำนักพิมพ์ Martinus Nijhoff (กองบรรณาธิการ: Gudmundur Alfredsson, Jonas Grimheden, Bertrand G. Ramcharan)
- Mass Media Laws and Regulations in Thailand (1998), สำนักพิมพ์ Asian Media Information and Communication Centre
- Extraterritorial Criminal Laws Against Child Sexual Exploitation (1998), สำนักพิมพ์ UNICEF
- Roads to Democracy: Human Rights and Democratic Development in Thailand (1994), สำนักพิมพ์ International Centre for Human Rights and Democratic Development (เขียนร่วมกับ Charles Taylor)
- The Status of Refugees in Asia (1992), สำนักพิมพ์ Oxford University Press
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- พ.ศ. 2558 - กิตติบัตรศาสตราจารย์กิตติคุณ ประจำปีการศึกษา 2557 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2558 - ประกาศเกียรติคุณศาสตราภิชาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 [17]
- พ.ศ. 2552 - รางวัลเกียรติยศ "ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2552 จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[18]
- พ.ศ. 2551 - อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาสังคมศาสตร์ ประจำปี 2550 จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
- พ.ศ. 2550 - รางวัลทูตพิทักษ์สิทธิเด็กแห่งปี สาขานักวิชาการ ประจำปี 2550 จากเครือข่ายคณะทำงานด้านเด็ก[19]
- พ.ศ. 2547 - ได้รับรางวัลจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน (UNESCO Prize for Human Rights Education/Bilbao Prize for the Promotion of a Culture of Human Rights) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมการสอนและการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน[20]
- พ.ศ. 2546 - รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านกฎหมาย) ประจำพุทธศักราช 2546 จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ[21]
- พ.ศ. 2543 - อาจารย์ดีเด่นระดับมหาวิทยาลัย สาขาสังคมศาสตร์ ปีการเงิน 2543 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[22]
- พ.ศ. 2539 - บุคลากรดีเด่น ประเภทความสามารถทางวิชาการ ปี 2539 จากสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[23]
- พ.ศ. 2537 - ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[26]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[27]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์[28]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2561 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นทุติยาภรณ์ (ฝ่ายพลเรือน) (KBE)[30][31]
อ้างอิง
แก้- ↑ matichon (2019-07-19). "คนที่ 2!! 'วิทิต มันตาภรณ์' อาจารย์จุฬาฯ รับบรรดาศักดิ์ 'ท่านเซอร์' เหตุอุทิศให้งานสิทธิมนุษยชน". มติชนออนไลน์.
- ↑ นิตยสาร IMAGE. คอลัมน์ Perspective "วิทิต มันตาภรณ์: Giving Voice to the Unheard." Vol. 26, No. 09, กันยายน 2556. หน้า 77.
- ↑ เดอะเนชั่น. "Dr. Vithit Muntarbhorn, UNESCO Prize Winner for Human Rights Education" เก็บถาวร 2012-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2555. [ออนไลน์]. สืบค้น 13 สิงหาคม 2555.
- ↑ "Vitit Muntarbhorn". United Nations Trust Fund for Human Security. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2014.
- ↑ Seoul National University. 2016 Winter Course on Human Rights and Asia, 2016. [ออนไลน์].
- ↑ หนังสือสูจิบัตรพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557. "ผู้ได้รับพระราชทานกิตติบัตรศาสตราจารย์กิตติคุณ."[ลิงก์เสีย] หน้า 25. [ออนไลน์]. สืบค้น 4 กันยายน 2559.
- ↑ Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights (OHCHR), "Biography of Vitit Muntarbhorn." เก็บถาวร 2013-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์]. สืบค้น 24 มีนาคม 2556.
- ↑ United Nations Trust Fund for Human Security. "Advisory Board on Human Security." [ออนไลน์]. สืบค้น 5 กันยายน 2559.
- ↑ International Labour Organization. "Members of the Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations (2012)." [ออนไลน์]. สืบค้น 2 มีนาคม 2555.
- ↑ Outright Action International. "UNHRC President Announces Vitit Muntarbhorn as Proposed Candidate for SOGI Independent Expert Position." [ออนไลน์]. สืบค้น 4 กันยายน 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 190 ง (8 สิงหาคม 2561)
- ↑ International Commission of Jurists. "Commissioners from Asia-Pacific." [ออนไลน์].
- ↑ Asia Pacific Forum of National Human Rights Institutions "ACJ Members" เก็บถาวร 2016-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์].
- ↑ Working Group for an ASEAN Human Rights Body. "Working Group for an ASEAN Human Rights Mechanism." เก็บถาวร 2013-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออนไลน์].
- ↑ ดูที่ 6 เก็บถาวร 2013-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ International Commission of Jurists and International Service for Human Rights. Press Release เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2007. [ออนไลน์].
- ↑ พิธีประกาศเกียรติคุณศาสตราภิชาน ศาสตราจารย์ รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียนการสอนและกิจการนิสิต รางวัลการวิจัยและรางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2557 เก็บถาวร 2017-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันอังคารที่ 24 มีนาคม 2558 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, "อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัล “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน”", 2552
- ↑ คณะทำงานด้านเด็ก
- ↑ UNESCO, "Vitit Muntarbhorn from Thailand wins 2004 UNESCO prize for Human Rights Education", 2547.
- ↑ ประกาศเกียรติคุณ บุคคลและหน่วยงานดีเด่น. Vol. 15. กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. 2546. ISBN 978-974-9545-79-9.
- ↑ กิจการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-16. สืบค้นเมื่อ 2013-03-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๔๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
- ↑ ศ.กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คนไทยคนที่สองที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงจากอังกฤษ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (19 กรกฎาคม 2562)
- ↑ "Honorary British Awards to Foreign Nationals – 2018".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 17 ประจำปี 2558 เรื่อง หลักนิติธรรมกับประชาธิปไตย [KPI Congress 17th, Rule of Law and Democracy] (PDF). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. พฤศจิกายน 2015. p. 289. ISBN 978-974-449-886-1.
ประวัติผู้แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่องหลักนิติธรรมกับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในประเทศไทย