วิทยุเสียงอเมริกา

หน่วยงานจัดรายการวิทยุนานาชาติของสหรัฐ

วิทยุเสียงอเมริกา (อังกฤษ: Voice of America หรือ VOA หรือ VoA) เป็นหน่วยงานจัดรายการวิทยุนานาชาติของสหรัฐที่ถือครองโดยรัฐ เป็นสื่อกระจายเสียงและการแพร่ภาพระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด[3]และเก่าแก่ที่สุดที่ได้รับทุนของสหรัฐ[4][5] VOA ผลิตเนื้อหาทางดิจิทัล ทีวี และวิทยุใน 48 ภาษา[6] ซึ่งมีการถ่ายทอดไปยังสถานีที่เกี่ยวข้องทั่วโลก ผู้ชมและรับฟังส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวอเมริกัน

วิทยุเสียงอเมริกา
ชื่อย่อVoA
ก่อตั้ง1 กุมภาพันธ์ 1942; 82 ปีก่อน (1942-02-01)
ประเภทการกระจายเสียงและการแพร่ภาพระหว่างประเทศ
สํานักงานใหญ่Wilbur J. Cohen Federal Building
ที่ตั้ง
ผู้อำนวยการ
Yolanda López (รักษาการ ตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 2021)[1]
งบประมาณ (Fiscal year 2021)
252 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
พนักงาน (2021)
961[2]
เว็บไซต์voanews.com

VOA ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1942[7] และมีการลงนามกฎบัตร VOA (Public Laws 94-350 and 103–415)[8] เข้าในกฎหมายเมื่อ ค.ศ. 1976 โดยประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด

VOA มีสำนักงานใหญ่ที่วอชิงตัน ดี.ซี. และสังเกตการณ์โดย U.S. Agency for Global Media (USAGM)[9] กองทุนมีการจัดสรรทุกปีภายใต้งบประมาณของสถานทูตและสถานกงสุล ใน ค.ศ. 2016 VOA ออกอากาศบนวิทยุและรายการโทรทัศน์ประมาณ 1,800 ชั่วโมงในแต่ละสัปดาห์ ให้แก่ผู้ฟัง/ชมประมาณ 236.6 ล้านคนทั่วโลกด้วยพนักงานประมาณ 1,050 คน และงบประมาณประจำปีของผู้เสียภาษีอากรที่ 218.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10][11]

ผู้ฟังต่างประเทศบางส่วนมองวิทยุเสียงอเมริกาในทางบวก[12][13] ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองเป็นรูปแบบหนึ่งของโฆษณาชวนเชื่อและปากเสียงแก่รัฐบาลสหรัฐ[14]

ภาษาที่ให้บริการ แก้

เว็บไซต์ของวิทยุเสียงอเมริกา มีการออกอากาศภาษาอังกฤษ 5 ภาษาในปี 2014 (ทั่วโลก ภาษาอังกฤษพิเศษ กัมพูชา ซิมบับเว และทิเบต) นอกจากนี้เว็บไซต์ของวิทยุเสียงอเมริกามีภาษาต่างประเทศอีก 47 ภาษา (รายการวิทยุ กำกับด้วย "R"; รายการโทรทัศน์ กำกับด้วย "T")

จำนวนภาษาขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญของรัฐบาลสหรัฐและสถานการณ์โลก[15][16]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Biden Administration requests USAGM CEO Pack's resignation". U.S. Agency for Global Media. January 21, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2021. สืบค้นเมื่อ January 21, 2021.
  2. 2.0 2.1 "VOA". U.S. Agency for Global Media (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  3. * "RCFP urges Congress to protect Voice of America's editorial independence". Reporters Committee for Freedom of the Press. April 28, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2022. สืบค้นเมื่อ December 12, 2020.
  4. HEIL, ALAN L. (2003). Voice of America: A History. Columbia University Press. JSTOR 10.7312/heil12674. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2022. สืบค้นเมื่อ December 12, 2020.
  5. Farhi, Paul. "Trump appointee sweeps aside rule that ensured 'firewall' at Voice of America". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2022. สืบค้นเมื่อ December 12, 2020.
  6. "VOA Launches Programming in Sindhi". Inside VOA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 8, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
  7. "Mission and Values". insidevoa.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-02-05.
  8. 90 Stat. 823 เก็บถาวร ตุลาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 108 Stat. 4299 เก็บถาวร ตุลาคม 9, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. VOA Public Relations. "VOA Charter". InsideVOA.com. Voice of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2016.
  10. Borchers, Callum (January 26, 2017). "Voice of America says it won't become Trump TV". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2018. สืบค้นเมื่อ August 11, 2017.
  11. VOA Public Relations (December 5, 2016). "The Largest U.S. International Broadcaster" (PDF). VOANews.com. Voice of America. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 11, 2017.
  12. Jan, F (2015). "International Broadcasting as Component of U.S. Public Diplomacy (A Case Study of Voice of America's DEEWA Radio)" (PDF). Dialogue. 10. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2022. สืบค้นเมื่อ August 22, 2021.
  13. Zhang, Lena Liqing (2002). "Are They Still Listening? Reconceptualizing the Chinese Audience of the Voice of America in the Cyber Era". Journal of Radio Studies. 9 (2): 317–337. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2022. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  14. Robinson, Dan (March 30, 2017). "Spare the indignation: Voice of America has never been independent". Columbia Journalism Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2022. สืบค้นเมื่อ June 25, 2022.
  15. "FAQs, How do you make decisions to cut or add languages or programs?". bbg.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2014. สืบค้นเมื่อ December 3, 2014.
  16. "VOA Languages" (PDF). Voice of America. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2021. สืบค้นเมื่อ August 27, 2021.

บรรณานุกรม แก้

แหล่ข้อมูลอื่น แก้