วิทยา ทรงคำ
นายวิทยา ทรงคำ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[1]
วิทยา ทรงคำ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 4 | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498 |
พรรค | เพื่อไทย |
ประวัติแก้ไข
วิทยา ทรงคำ เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายติ๊บ และนางคำปัน ทรงคำ มีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ นายประหยัด ทรงคำ นางบัวซอน บุตรศักดิ์ และนายประเสริฐ ทรงคำ สำเร็จการศึกษาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมรสกับนางจุรีรัตน์ มีบุตร 2 คน
งานการเมืองแก้ไข
ก่อนลงสนามเลือกตั้งนายวิทยารับราชการครู ต่อมาปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยสามารถเอาชนะนางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ จากพรรคความหวังใหม่ อดีต ส.ส. 2 สมัย และนายมอนอินทร์ รินคำ จากพรรคชาติไทย อดีต ส.ส. 2 สมัยเช่นเดียวกันได้[2][3] หลังจากนั้นได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 3 ครั้ง
ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย[4]
แต่ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563 เขาให้การสนับสนุนนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของผู้สมัครที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
วิทยา ทรงคำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ คณะผู้บริหาร เก็บถาวร 2018-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สืบค้นวันที่ 5 เมษายน 2561
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ เอ็กซเรย์ ตัวเต็งนายก อบจ. เครือข่ายการเมือง-ธุรกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- นายวิทยา ทรงคำ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายวิทยา ทรงคำ), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย