วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย

วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย เป็นสถาบันการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ปวช.และ ปวส.

วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย
ชื่อย่อPTC
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (26 ปี)
(สถาปนาวิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย)
ที่ตั้ง
เลขที่ 99 หมู่ที่ 1 ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เว็บไซต์วิทยาลัยเทคนิคปัก

ประวัติ แก้

วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย เดิมชื่อวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาแห่งที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เป็นสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา ซึ่งตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 1 ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่ 204 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา ซึ่งพื้นที่นี้แต่เดิมราษฎรได้ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ต่อมาทางสภาตำบลตูมได้เสนอให้ใช้พื้นที่นี้เป็นสถานที่จัดตั้งวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนและส่งเสริมการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่มีนโยบายให้ขยายการศึกษาให้กว้างขวางและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและตลาดแรงงาน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคน อีกทั้งเป็นการเสริมสร้าง และพัฒนากำลังคนของประเทศให้มีคุณภาพในการประกอบอาชีพ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แก้

เปิดสอน ๓ ประเภทวิชา

  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  1. สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานยานยนต์)
  2. สาขาวิชาช่างกลโรงงาน (สาขางานเครื่องมือกล)
  3. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
  4. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์)
  5. สาขาวิชาการก่อสร้างและโยธา (สาขางานก่อสร้าง)
  • ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
  1. สาขาวิชาการบัญชี (าขางานการบัญชี)
  2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  1. สาขาวิชาการโรงแรม (สาขางานการโรงแรม)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แก้

เปิดสอน ๒ ประเภทวิชาระบบปกติและระบบทวิภาคี

  • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  1. สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานเทคนิคยานยนต์)
  2. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต (สาขางานเครื่องมือกล)
  3. สาขาวิชาไฟฟ้า (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
  4. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)
  5. สาขาวิชาการก่อสร้างและโยธา (สาขางานโยธา)
  • ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
  1. สาขาวิชาการบัญชี (สาขางานการบัญชี)
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (สาขางานเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)[1]

อ้างอิง แก้