คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Islamic Sciences, Prince of Songkla University) ตั้งอยู่ในวิทยาเขตปัตตานี โดยจัดตั้งเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 จัดการเรียนการสอนในสาขาอิสลามศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากการเสนอของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อจัดให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลามจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีนโยบายในการเปิดสาขาวิชาการศึกษาอิสลาม ขึ้นในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเตรียมจัดตั้งภาควิชาการศึกษาอิสลาม และร่างหลักสูตรอิสลามศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว โดยได้ผ่านการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2532 นอกจากนั้น ยังเตรียมโครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย และเมื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี จึงได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น วิทยาลัยอิสลามศึกษา เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 มีฐานะเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[2]

คณะวิทยาการอิสลาม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
Faculty of Islamic Sciences, Prince of Songkla University
สถาปนา31 ธันวาคม พ.ศ. 2532
คณบดีผศ.ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ[1]
ที่อยู่
ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
วารสารวารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สีสีเทา
สถานปฏิบัติโรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม
เว็บไซต์www.fais.psu.ac.th

ประวัติ แก้

คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหน่วยงานที่ได้รับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2532 โดยกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านวิชาการและศิลปวิทยาการเกี่ยวกับอิสลามและบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งผลิตกำลังคนทางด้านอิสลามศึกษาทั่วไปในทุกสาขา วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็นสามหน่วยงานคือ สำนักงานเลขานุการ สำนักงานวิชาการและบริการชุมชน และภาควิชาอิสลามศึกษา โดยวิทยาลัยฯได้ดำเนินการตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามศักยภาพและความพร้อม ในปัจจุบันวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำหน้าที่ ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม ศึกษาค้นคว้าวิจัยความรู้ใหม่ๆ ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยวิทยาลัยได้ดำเนินการตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามศักยภาพและความพร้อม ซึ่งมีการพัฒนาเป็นลำดับ ดังนี้

  • พ.ศ. 2525 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอิสลามศึกษา (ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
  • พ.ศ. 2537 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาครุศาสตร์อิสลาม
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชากฎหมายอิสลาม
  • พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาอิสลามศึกษา
  • พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาอิสลามศึกษา(โปรแกรมภาษาอาหรับ)
  • พ.ศ. 2545 เริ่มดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งด้านอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์และการจัดการในอิสลาม
  • พ.ศ. 2547 เริ่มดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์จังหวัดด้านอิสลามศึกษา
  • พ.ศ. 2548 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาตะวันออกกลางศึกษา
  • พ.ศ. 2549 เปิดสอนระดับปริญญาเอก สาขาวิชาอิสลามศึกษา
  • พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอิสลามศึกษา (โปรแกรมนานาชาติ)
  • พ.ศ. 2558 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตอิสลามศึกษา [3]

หน่วยงาน แก้

  • สำนักงานบริหารคณะ
  • โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม
  • ศูนย์ทดสอบภาษาอารับและภาษานานาชาติ
  • ศูนย์วะสะฏียะฮ์
  • ศูนย์ i-CENTER

หลักสูตร แก้

ปัจจุบันคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดสอนหลักสูตรดังต่อไปนี้[4]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาอิสลามศึกษา
  • สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม
  • สาขาวิชาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชานวัตกรรมธุรกิจอิสลาม

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาอิสลามศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาอิสลามศึกษา

ทำเนียบผู้อำนวยการ/คณบดี แก้

ทำเนียบผู้อำนวยการ/คณบดีคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายนามผู้อำนวยการ/คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์รอฮีม นิยมเดชา 1 มกราคม 2533 - 31 มีนาคม 2533
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอ อาลี 1 เมษายน 2533 - 31 มีนาคม 2537 (วาระที่ 1),1 เมษายน 2537 - 14 มิถุนายน 2541(วาระที่ 2)
2. รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอ อาลี 1 สิงหาคม 2545 - 31 กรกฎาคม 2553 (วาระที่ 3)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หะสัน หมัดหมาน 15 มิถุนายน 2541 - 31 กรกฎาคม 2545
4. ดร.ยูโซะ ตาเละ 1 สิงหาคม 2553 - 17 สิงหาคม 2561
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ 17 สิงหาคม 2561 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามและชื่อของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นคำนำหน้านามและชื่อตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น[5]

การสมัครเข้าศึกษา แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (ระบบ Admission หรือ รับรวม) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • การคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง
  • การสอบคัดเลือกนักศึกษา โดยวิทยาลัยจัดสอบเอง

ระดับบัณฑิตศึกษา แก้

ข้อมูลระดับบัณฑิตศึกษา มีปฏิทินการรับสมัครและวิธีการรับสมัครดังต่อไปนี้ ปฏิทินการรับสมัคร ปฏิทินการรับสมัครบัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดปฏิทินการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

  • การรับสมัครประจำปีกำหนดระยะเวลารับสมัครประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี
  • การรับสมัครตลอดปีกำหนดระยะเวลารับสมัครประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายนของปีถัดไป

ดูกำหนดการได้ที่เว็บไซต์ http://www.grad.psu.ac.th/th/admis_book.php เก็บถาวร 2012-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

วิธีการรับสมัคร แก้

ผู้สนใจสามารถรับใบสมัคร ตามช่องทางต่อไปนี้

  • ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/th/admis_book.php เก็บถาวร 2012-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชั้น 4 อาคารบริหารวิชาการรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในวันเวลาราชการ
  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี ในวันเวลาราชการ

สถานที่รับสมัคร แก้

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี

การยื่นใบสมัคร แก้

ดาวน์โหลดคู่มือการรับสมัครได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/th/admis_book.php เก็บถาวร 2012-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

การโอนย้ายและแลกเปลี่ยน แก้

อ้างอิง แก้

  1. แต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยอิสลามศึกษา
  2. คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี[ลิงก์เสีย]
  3. "ความเป็นมาของวิทยาลัยอิสลามศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-14. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14.
  4. "หลักสูตรและสาขาที่เปิดสอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-08-27.
  5. "ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
  6. "การสมัครเข้าศึกษาในวิทยาลัยอิสลามศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-08-27.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้