วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา  เป็นวิทยาลัยด้านคหกรรมและศิลปกรรม สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
ชื่ออื่นSaowabha Vocational College
ชื่อย่อวอศ.สภ.
คติพจน์ประพฤติดี มีวินัย ใช้ปัญญา
เพลงประจำสถาบันมาร์ชเสาวภา
ประเภทอาชีวศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนาพ.ศ. 2444
ผู้อำนวยการรังสรรค์ บางรักน้อย
ที่ตั้ง
377 ถนนบ้านหม้อ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์02-222-1786, 02-222-1888
โทรสาร02-225-9781
สีน้ำเงิน
เว็บไซต์www.swbvc.ac.th
ตราประจำวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

ประวัติ แก้

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา เดิมคือ "โรงเรียนเสาวภา" จัดตั้งขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนสำหรับสตรี และพระราชทานพระนามาภิไธยของพระองค์เป็นชื่อโรงเรียน ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาธิการ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา” แต่เดิมเปิดสอนวิชาชีพด้านคหกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูครศิลปหัตถกรรมเป็นปีแรก ปัจจุบัน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาเป็นวิทยาเขตในส่วนสถาบันการอาชีวศึกษามหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส)

การจัดการศึกษา แก้

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาดำเนินการทางการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 10 แผนกวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาสามัญสัมพันธ์
  • สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ สาขางานเสื้อผ้าแฟชั่น
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขางานอาหารและโภชนาการ
  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขางานธุรกิจดอกไม้และงานประดิษฐ์
  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม
  • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สาขางานวิจิตรศิลป์
  • สาขาวิชาการออกแบบ สาขางานการออกแบบ
  • สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม สาขางานศิลปหัตถกรรม
  • สาขาวิชาศิลปกรรม สาขางานการพิมพ์สกรีน
  • สาขาวิชาศิลปกรรม สาขาออกแบบนิเทศศิลป์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ แก้

  • ระดับ ปวช. - สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3 ) หรือเทียบเท่า
  • ระดับ ปวส. - สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี แก้

การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training: DVT) เป็นความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการโดยสถานศึกษาจะเน้นการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสถานประกอบการจะเน้นการฝึกทักษะอาชีพการปฏิบัติจริงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ นักศึกษาในระบบทวิภาคี จะมีระยะเวลาการฝึกอาชีพเป็นเวลาครึ่งหลักสูตร แต่นักเรียนนักศึกษาปกติจะฝึกงาน 1 ภาคเรียน เมื่อสำเร็จการศึกษานักศึกษาทวิภาคีจะได้รับประกาศนียบัตรการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการอีกด้วย

ทุนการศึกษา แก้

  • กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • ทุนมูลนิธิเสาวภา
  • ทุนสหกรณ์วิทยาลัย
  • ทุนบริจาคจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา
  • ทุนบริจาคจากบุคลากรภายในและภายนอกสถานศึษา

การเดินทาง แก้

รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ 2, 3, 6, 7ก, 8, 9, 42, 47, 53, 82, ปอ73, ปอ73ก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้