วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
College of Engineering
Rangsit University
สถาปนาพ.ศ. 2531
คณบดีรศ.ดร.ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง
ที่อยู่
อาคารวิษณุรัตน์ (ตึก 5)
มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก
ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
สี███ สีแดงเลือดหมู
เว็บไซต์http://www.rsu.ac.th/engineer

ประวัติ แก้

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นโดยดำริของท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ในชื่อของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตในสาขาขาดแคลน เพื่อที่จะออกมารับใช้สังคมอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป จึงจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อผลิตวิศวกร ซึ่งนับว่ายังมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ท่านอธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้ยกระดับของคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี ได้แก่วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง วิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง และการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี และยังได้มีการเปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สาขาโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ และปริญญาเอกสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชน

หลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ และ มอเตอร์สปอร์ต
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมโยธา
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน และ สิ่งแวดล้อม
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน
  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาซ่อมบำรุงอากาศยาน
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยีระบบราง
ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ระดับปริญญาเอก
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

แหล่งที่มา แก้