วิชาญ เกิดวิชัย
นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต[1]
วิชาญ เกิดวิชัย | |
---|---|
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ภูตะคาม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 จังหวัดสุพรรณบุรี |
คู่สมรส | ยุพาพร เกิดวิชัย |
ประวัติ
แก้นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่บ้านย่านซื่อ ตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายบุญธรรม กับนางลออ เกิดวิชัย มีพี่น้อง 8 คน คือ[2]
- นางบังอร อาภาศิลป์ ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
- นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต[3][4]
- นายสุชาติ เกิดวิชัย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
- ศาสตราจารย์ พลตำรวจโทหญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ดร.พิเชษฐ์ เกิดวิชัย ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการฟุตบอลอาชีพ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา น้อยจันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- ดร.บุศรา เกิดวิชัย พฤกษมาศ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา
ชีวิตครอบครัว
แก้นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย สมรสกับ นางยุพาพร เกิดวิชัย ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีบุตรสาวเพียงคนเดียวคือ
- แพทย์หญิงณัฐณิชา เกิดวิชัย
การศึกษา
แก้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และวุฒิบัตรประสาทศัลยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2516 และในปี พ.ศ. 2520[5] ตามลำดับ ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใบที่ 2 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2529 และในปีถัดมา ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใบที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การรับราชการ
แก้เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่ง ประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2520 ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2531 ต่อมาย้ายมารับราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ. 2537 และในปีถัดมาย้ายมารับราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ย้ายมารับราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งย้ายมารับราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2545 และรับราชการเรื่อยมาจวบจนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ 2554 จากนั้นได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยบูรพา ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา[7] และในปี พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติและผลงาน นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย เก็บถาวร 2016-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานสภามหาวิทยาลัยบูรพา
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน นายฤๅเดช เกิดวิชัย เก็บถาวร 2020-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ ต้าน COVID-19 ด้วยสมุนไพร โดย นายแพทย์วิชาญ เกิดวิชัย คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ เรียนแล้วรุ่ง! “กัญชาศาสตร์ทางการแพทย์” ม.รังสิต บูรณาการศาสตร์กัญชากับสุขภาพและความงาม
- ↑ รายชื่อศิษย์เก่าแพทย์ประจำบ้าน สาขาประสาทศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ รายนามทำเนียบผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสนา เก็บถาวร 2021-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงพยาบาลเสนา
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยบูรพา ที่ ๑๔/๒๕๕๔ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา[ลิงก์เสีย] มหาวิทยาลัยบูรพา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๗๒, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖