วิจันทรา บุนนาค

คุณหญิง วิจันทรา บุนนาค (สกุลเดิม คชเสนี) เป็นธิดาในเจ้าวงศ์จันทร์ (ณ เชียงใหม่) คชเสนี กับนายปฐม คชเสนี อดีตอธิบดีกรมทาง เป็นนัดดาในพลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) และเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมเลขานุการสตรีแห่งประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในองค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ[1] เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย


วิจันทรา บุนนาค

เกิดวิจันทรา คชเสนี
สัญชาติไทย
องค์การคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
มีชื่อเสียงจากพระปนัดดาในเจ้าแก้วนวรัฐ
ตำแหน่งคุณหญิง
คู่สมรสอภิไตร บุนนาค
บุตรตรีทิพย์ (บุนนาค) เพ็ญชาติ
กฤตภาส บุนนาค
บิดามารดาปฐม คชเสนี
เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี
รางวัลสตรีไทยดีเด่น ปี 2555

ประวัติ แก้

วิจันทรา เป็นธิดาในเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่) กับนายปฐม คชเสนี และราชนัดดา (หลานตา) ในเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) มีพี่ชายคือ นายปวิตร คชเสนี

บุตร-ธิดา แก้

วิจันทรา สมรสกับนายอภิไตร บุนนาค (มีบุตร 1 ธิดา 1) ดังนี้

บทบาทในทางสังคม แก้

ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ แก้

วิจันทรา เป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือในตระกูล ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่โดยตรง คุณหญิงวิจันทรา จึงมีบทบาทในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายเหนือ โดยเป็นกรรมการมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[2] อันเป็นมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ความเป็นล้านนา และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมฝ่ายเหนือ และเป็นรองประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)[3]

งานการกุศล แก้

วิจันทรา บุนนาค เป็นนักกิจกรรมสังคมที่มีบทบาทในกิจการขององค์กรหลายองคืกร อาทิ เป็นกรรมการผู้ก่อตั้งและอดีตประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นอดีตประธานมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[4] เป็นอดีตนายกสมาคมเลขานุการสตรี

งานการเมือง แก้

วิจันทรา มีบทบาทในการร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ วิจันทรา ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รางวัล แก้

  • สตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2555 ของสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-16.
  2. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ"
  3. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)"
  4. "รายนามคณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี พ.ศ. 2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  5. ประกาศรายชื่อผลการตัดสินสตรีไทยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๑๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
  8. แม่เจ้าจามรี