วิกิพีเดีย:โครงการวิกิประวัติศาสตร์/คู่มือในการเขียน

ในปัจจุบัน บทความประวัติศาสตร์ในวิกิพีเดียมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ จนบางทีไม่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ หรือไม่มีการกล่าวถึงสิ่งที่สำคัญเลยในวิกิพีเดีย จึงเป็นอันสมควรอย่างยิ่ง ที่จะร่วมสร้างแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคคลทั้งหลายที่หาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้

โดยหน้านี้จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเขียนที่ถูกต้อง และให้คำแนะนำแก่ผู้เขียนใหม่ อนึ่ง หน้านี้มีขนาดยาว ท่านสามารถใช้ปุ่ม "กลับด้านบน" เพื่อความสะดวกของท่านได้

การเขียนบทความเบื้องต้น แก้

 

เมื่ออ่านเนื้อหาด้านล่างจบแล้ว กรุณาดูที่:

อนึ่งเนื้อหาด้านล่างนี้สำหรับการเขียนบทความในเบื้องต้นอย่างรวดเร็วแต่มีคุณภาพ สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ ให้ดูที่สารบัญ

บทนำ แก้

ในการสร้างบทความเบื้องต้น จะต้องมีบทนำเสียก่อน โดยบทนำมีเนื้อหาดังนี้:

  • ชื่อบทความในภาษาไทย: ชื่อบทความในภาษาไทยควรเป็นตัวหนา (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้ ถึงแม้ว่าชื่อบทความจะไม่ได้ใช้ชื่อเต็มก็ตาม) เช่น สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
  • ชื่อบทความในภาษาอื่น: ชื่อบทความในภาษาอื่นควรเป็นตัวเอียง อยู่ภายในวงเล็บ (ถ้าเป็นชื่อคน ให้ใช้ชื่อเต็มของบุคคลนั้นมาใช้)
  • สัทอักษรสากล: สัทอักษรสากลควรอยู่ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] อนึ่ง ควรใช้กับภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษและไทย หรือกับการออกเสียงที่ยากเท่านั้น
  • วันเกิดและวันเสียชีวิต: วันเกิดและวันเสียชีวิตควรอยู่ในวงเล็บ เช่น (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) หรือหากเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้ (25 มีนาคม พ.ศ. 2514 - ปัจจุบัน)
  • ข้อมูลโดยสรุป: หนึ่งย่อหน้า กระชับ แต่สรุปทั้งชีวิต


ตัวอย่างบทนำ

สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (อังกฤษ: Alfred the Great; อังกฤษเก่า: Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์คเชอร์ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูลฟแห่งเวสเซ็กซ์ และ ออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช

พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซ็กซอนตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชนแองโกล-แซ็กซอน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวลส์

อนึ่ง คุณสามารถดัดแปลงไปใช้กับบทความราชวงศ์ บทความสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ ได้ในลักษณะเดียวกัน

กล่องข้อมูล แก้

กล่องข้อมูล เป็นแม่แบบบนวิกิพีเดียไทย ที่สรุปสถิติ/ข้อมูลสำคัญ ของบทความนั้น ๆ เช่น

{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = 
| สีอักษร = 
| ภาพ = ภาพ: KingAlfredStatueWantage.jpg
| พระบรมนามาภิไธย = 
| พระปรมาภิไธย = สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช
| วันพระราชสมภพ = ราว [[ค.ศ. 849]]  <br>แวนเทจ, บาร์คเชอร์
| วันสวรรคต = [[26 ตุลาคม]] ค.ศ. 899 <br>
| พระอิสริยยศ = 
| พระราชบิดา = [[พระเจ้าเอเธลวูลฟแห่งเวสเซ็กซ์]]
| พระราชมารดา = [[ออสเบอร์กา]]
| พระอัครมเหสี = [[เอลสวิธ]]
| พระมเหสี = 
| พระราชสวามี = 
| พระราชโอรส/ธิดา = 
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์เวสเซ็กซ์|เวสเซ็กซ์]]
| ทรงราชย์ = 
| พิธีบรมราชาภิเษก = 
| ระยะเวลาครองราชย์ = [[23 เมษายน]] [[ค.ศ. 871]] - [[26 ตุลาคม]] [[ค.ศ. 899]]
| รัชกาลก่อนหน้า = เอเธลวูลฟแห่งเวสเซ็กซ์
| รัชกาลถัดมา = [[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส]]
}}

จะแสดงผลดังในหน้าของ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ซึ่งมีกล่องข้อมูลต่าง ๆ ให้เลือกดังนี้:

หากคุณทราบชื่อแม่แบบกล่องข้อมูลที่มีประโยชน์อื่น ๆ ที่มีอยู่บนวิกิพีเดีย คุณสามารถเพิ่มเติมรายชื่อได้


หากต้องการเขียนเพิ่มเติมด้านเนื้อหาของบทความ คุณสามารถอ่าน มาตรฐานบทความประวัติศาสตร์ การอ้างอิง และ กา่รจัดหมวดหมู่ ได้ เพื่อดูสิ่งที่ควรจะเขียนหรือใส่

  กลับด้านบน

มาตรฐานบทความ แก้

คุณสามารถช่วยเราปรับปรุง บทความให้ดีขึ้นได้ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้:

  1. ตั้งชื่อบทความถูกต้อง (ควรเป็นภาษาไทย) สร้างหน้าเปลี่ยนทางจากชื่ออังกฤษ หรือจากการถอดเสียงที่แตกต่าง
  2. กระชับ ไม่ยืดยาว แต่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ คุณภาพมาก่อนปริมาณ (ไม่ใช่บทความสั้นมาก หรือมีแต่กล่องข้อมูล)
  3. ภาษาอ่านแล้ว เข้าใจง่าย ใช้เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้อง เรียงลำดับเหตุการณ์ตามลำดับ ไม่วกไปวนมา
  4. ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และ เป็นกลาง
  5. มีการจัดรูปแบบหน้าที่ถูกต้อง มีลิงก์เชื่อมโยง, แหล่งอ้างอิง, แหล่งข้อมูลอื่น (หากมี), หมวดหมู่, ลิงก์ข้ามภาษา (หากมี) และลิงก์ไปยังโครงการอื่น (หากมี) หากบทความมี {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} คุณสามารถสร้างบทความแทนลิงก์นั้นได้
  6. มีการระบุวัน เดือน ปี และ ตัวเลขสถิติ
  7. ใช้แม่แบบ {{lang-en}} เ่ช่น โทมัส เอดิสัน ({{lang-en|Thomas Edison}}) จะแสดงผลเป็น โทมัส เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Edison) สำหรับรหัสภาษาทั้งหมด ดูที่นี่
  8. ใช้แม่แบบประวัติศาสตร์, ตาราง หรือ ภาพ
  9. มีการติดป้าย {{บทความประวัติศาสตร์}} ในหน้าอภิปรายของบทความนั้น ๆ โดยมีการระบุระดับบทความที่เหมาะสม (พยายามเขียนใ้ห้เลื่อนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง)
  10. ไม่มีแม่แบบ {{โครงประวัติศาสตร์}} หรือ ป้ายต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม หากทำมีการเพิ่มเนื้อหา หรือเก็บกวาดเรียบร้ิอยแล้ว

ทั้งนี้ มิได้บังคับให้บทความทั้งหมดจะต้องตรงตามมาตรฐาน แต่เพียงเป็นแค่คำแนะนำเฉย ๆ
โดยมาตรฐานบทความนี้ จะเป็นการต่อยอดจากการเขียนบทความเบื้องต้น

  กลับด้านบน

การอ้างอิง แก้

ดูที่ วิธีใช้:การอ้างอิงแหล่งที่มา

  กลับด้านบน

การจัดหมวดหมู่ แก้

พื้นฐาน แก้

การจัดลำดับหมวดหมู่บทความประวัติศาสตร์ ให้จัดลำดับหมวดหมู่ โดยเรียงลำดับจากหมวดหมู่หลักไปหาหมวดหมู่ย่อย เช่น ในหน้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ จะจัดดังนี้

หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อังกฤษหมวดหมู่:สตรีในประวัติศาสตร์หมวดหมู่:ราชินีหมวดหมู่:กษัตริย์อังกฤษหมวดหมู่:กษัตริย์ไอร์แลนด์หมวดหมู่:ราชวงศ์ทิวดอร์

แม่แบบเรียงลำดับ แก้

ในบางกรณี เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย เมื่อถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป จะถูกจัดอยู่ใน หมวดอักษร ตามชื่อ แต่ผู้ค้นหาจะดูที่ตัวอักษร

เพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ทำตามดังนี้:

[[:หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป|ปรัสเซีย]]

โดยหลังจากทำเช่นนี้แล้ว ราชอาณาจักรปรัสเซีย จะถูกจัดอยู่ใน หมวดอักษร แต่บางหมวดหมู่ เช่น หมวดหมู่:ปรัสเซีย ไม่จำเป็นจะต้องทำเช่นนี้


อย่างไรก็ดี หากต้องการทำเช่นนี้กับทุกหมวดหมู่ ให้ใช้ {{เรียงลำดับ}} เช่น

{{เรียงลำดับ|ปรัสเซีย}}หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรปหมวดหมู่:ประเทศเยอรมนีหมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เยอรมนีหมวดหมู่:ประวัติศาสตร์โปแลนด์

โดยทุกหมวดหมู่ในกรณี ราชอาณาจักรปรัสเซีย จะอยู่ภายใต้หมวดอักษร


สำหรับกรณีที่มีสระขึ้นต้น เช่น แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ให้ใช้พยัญชนะขึ้นต้น แล้วตามด้วยชื่ออีกที เช่น

{{เรียงลำดับ|ซแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา}}หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรปหมวดหมู่:ชาติสมาชิกของจักรวรรดิเยอรมันหมวดหมู่:สหราชอาณาจักรหมวดหมู่:ราชสำนักอังกฤษ

การใช้แม่แบบปี แก้

ให้ใส่แม่แบบปี เช่น {{เกิดปี}} {{เสียชีวิตปี}} ด้านล่าง หมวดหมู่ (ปีพุทธศักราช) เช่น

บทความที่ยังไม่สมบูรณ์ (โครง) แก้

ในกรณีที่บทความนั้นยังไม่สมบูรณ์ (โครง) ให้ใส่ {{โครงประวัติศาสตร์}}/{{โครงชีวประวัติ}} ด้านล่าง หมวดหมู่ ดังตัวอย่างด้านขวา

แม่แบบเชื่อมโยง แก้

ให้ใส่แม่แบบเชื่อมโยงไว้ ด้านบน ของหมวดหมู่ ดังตัวอย่างด้านขวา

  กลับด้านบน

การแปลบทความ แก้

การแปล ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างบทความอย่างรวดเร็ว ในบางครั้งจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเขียนเอง แต่มีข้อพึงระวัง 10 ประการ ดังนี้:

  1. การถอดเสียง หากไม่มั่นใจ ควรดูจากการถอดเสียงภาษาอังกฤษ, การเขียนคำทับศัพท์, คำภาษาอังกฤษที่มักอ่านผิด หรือ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/คำทับศัพท์ชื่อบุคคล (หรือจากกล่องด้านขวา)
  2. ควรเขียนกำกับต่างภาษาให้ถูกวิธี
  3. การถอดเสียงบางอย่าง ได้ถูกชุมชนพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม สามารถดูได้ที่รายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิีพีเดีย
  4. ในบางครั้งเมื่อแปลเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบด้วยว่าไ้ด้ใส่ ลิงก์ข้ามภาษา แล้วหรือยัง (โดยเฉพาะลิงก์ข้ามภาษาไปวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ)
  5. ในการแปล ภาพบางภาพที่ติดมาจากวิกิพีเดียภาษาอื่น อาจเป็นภาพที่มิได้ถูกอัปโหลดบนวิกิพีเดียไทย
  6. ในบางครั้ง อ้างอิง หรือ แหล่งข้อมูลอื่น เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทย ควรเปลี่ยนอ้างอิง/ใส่เว็บไซต์เป็นภาษาไทยแทน หากทำได้
  7. ควรระวังในเรื่องไวยากรณ์ การเรียงลำดับประโยค เครื่องหมายวรรคตอน หลังจากนั้นลองอ่านทบทวนดู ว่าสิ่งที่คุณแปลไปได้ใจความหรือไม่
  8. ปีคริสต์ศักราช ควรเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช หากเป็นบทความที่อิงปีพุทธศักราช (เช่น ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ลาว)
  9. การถอดเสียงอาจใช้ได้หลายสำเนียง แต่ควรใช้สำเนียงที่เป็นต้นกำเนิดของบทความ เช่น มณฑลในประเทศอังกฤษ ให้ใ้ช้สำเนียงอังกฤษบริเตน ฯลฯ
  10. ในการแปลบทความ ไม่จำเป็นต้องแปลทุกคำทุกประโยค ควรพลิกแพลงประยุกต์ใช้ตามเหมาะสม ให้คนไทยสามารถเข้าใจได้
 
  กลับด้านบน