วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/G(x)/กรุ 1
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 |
- การเสนอ ผู้ใช้:G(x) เป็นผู้ดูแลระบบ เสนอเมื่อ 30 ธันวาคม 2556
หน้าส่วนตัว - หน้าที่เขียน - หน้าพูดคุยที่เขียน - ปูมการบล็อก - เริ่มเขียนเมื่อ - สถิติ - เปลี่ยนกลุ่มผู้ใช้
- ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่าลืมลงชื่อด้วยการใส่เครื่องหมาย ~~~~ (ทิลดา สี่ครั้ง) ต่อท้าย และใช้แม่แบบ
- {{สนับสนุน}} แล้วตามด้วยข้อความ สำหรับความคิดเห็นที่ต้องการสนับสนุนให้เป็นผู้ดูแล
- {{เป็นกลาง}} แล้วตามด้วยข้อความ สำหรับความคิดเห็นที่เป็นกลาง
- {{คัดค้าน}} แล้วตามด้วยข้อความ สำหรับความคิดเห็นที่ต้องการคัดค้านการเป็นผู้ดูแล
เหตุผลในการเสนอ: เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ดูแลที่ retire ตัวเองทั้ง de jure ไม่ว่าจะด้วยการถูกระงับสิทธิโดยอนุญาโตตุลาการหรือด้วยตนเอง หรือ de facto เพราะขาด activity ที่ต่อเนื่อง ผมเล็งเห็นว่าตัวเองซึ่งกลับมา active มากขึ้นและมีประสบการณ์ในการรับมือกับพฤติการณ์ในวิกิพีเดียในระยะหนึ่ง น่าจะสามารถใช้เครื่องมือผู้ดูแลระบบในการปฏิบัติงานบางประการที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือผู้ดูแล (เช่น การปลดบล็อกหรือบล็อกผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้ใช้ที่กำลังแก้ไขบทความแล้วติด false positive ของบอตป้องกันการก่อกวน) เพื่อให้ความร่วมมือของผู้ใช้ราบรื่นขึ้นครับ --∫G′(∞)dx 20:18, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
สำหรับคำถามบังคับมีดังต่อไปนี้
- เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลระบบแล้ว คุณตั้งใจจะมีส่วนร่วมในด้านใดบ้าง
- ส่วนร่วมของผมมักจะเป็นงานที่เกี่ยวกับหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ ซึ่งแม้งานบางอย่างจะไม่ใช่งานที่ต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ แต่งานบางอย่างก็จำต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ และในบางครั้งอาจเกิด delay จนไม่สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที ในอีกส่วนหนึ่งคือการใช้เครื่องมือนี้เพื่อป้องกันการก่อกวน ในขณะเดียวกันก็กำจัด false positive ที่อาจทำให้ผู้ใช้ที่มีเจตนาดีไม่สามารถแก้ไขได้
- คุณคิดว่าผลงานที่ดีที่สุดในวิกิพีเดียของคุณคืออะไร เพราะเหตุใด
- ผลงานส่วนใหญ่ของผมในช่วงหลัง ๆ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายเสียมาก นโยบายที่ผมมีส่วนในการยกร่างมีหลายนโยบาย แต่คิดว่านโยบายที่ผมคิดว่าดีที่สุดคือนโยบายเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท รวมถึงผลงานต่อเนื่องเช่น อนุญาโตตุลาการและการตรวจสอบผู้ใช้ เพราะเป็นนโยบายที่ผมเห็นว่านำมาใช้ได้จริงมากที่สุด โดยเฉพาะการตั้งอนุญาโตตุลาการเพื่อลดความยุ่งยากในการขอให้มีระบบตรวจสอบผู้ใช้ ซึ่งจำเป็นต่อวิกิพีเดียภาษาไทยในการรับมือกับการก่อกวนในช่วงที่การก่อกวน Eurovision, P8555, หรือกรณีสุขพินธุทำให้เกิดความวุ่นวายต่อระบบส่วนรวม
- ในอดีต คุณเคยพิพาทกับผู้ใช้คนอื่นจนคุณรู้สึกเครียดหรือไม่ คุณมีวิธีรับมืออย่างไร และคิดว่าจะรับมือกับการพิพาทในอนาคตอย่างไร
- เคยครับ หลายครั้ง บางครั้งก็เกิดจากความรู้สึกเป็น negative ของผมเอง บางครั้งก็เกิดจากการ bully โดยเฉพาะกับผู้ก่อกวน ผมพยายามจะไม่นำประเด็นดังกล่าวมาคิดในแง่ลบ เพราะเราถือว่าทุกคนมีเจตนาดี แต่ในบางครั้งการกระทำก็ไม่อาจทำให้ผมเห็นเช่นว่า อย่างไรก็ดีสุดท้ายความอดทน และใจเย็น ไม่ด่วนสรุปปัญหาในแง่ร้าย น่าจะเป็นวิธีการควบคุมที่ได้ผลครับ
- คุณคิดว่าการบล็อกผู้ใช้กับการล็อกบทความมีวัตถุประสงค์อย่างไร
- ผมเห็นว่าการบล็อกผู้ใช้มีจุดประสงค์ไม่ให้ผู้ใช้คนหนึ่งคนใด (หรือหลายคน หากสามารถจับทางได้) แก้ไขบทความทั้งหมด โดยจำกัดความเสียหายให้อยู่ในหน้าพูดคุยเท่านั้น และควรจะใช้กับการห้ามบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ แต่การล็อกบทความมีจุดประสงค์ไม่ให้ผู้ใช้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแก้ไขบทความหนึ่งบทความใด ซึ่งควรจะใช้กับการห้ามบุคคลจำนวนมากที่มีความเห็นไม่ลงรอยกันในหน้าหนึ่งหน้าใดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ นโยบายทั้งสองไม่มีผลเหนือกันและไม่อยู่เหนือนโยบายอื่น ๆ ดังนี้ AGF, DR หรือนโยบายอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ควรจะใช้ให้หมดก่อน (exhaustion of local remedy) ก่อนที่จำจะต้องถึงขั้นนั้นครับ เว้นแต่กรณีจำเป็นอย่างยิ่งยวดเช่น เป็นการก่อกวนซึ่งหน้า
คำถามต่อผู้ถูกเสนอชื่อ
- Please let us know your perception of Thai Wikipedia (the community) and/or Wikimedia Thailand (the movement) by using en:SWOT Analysis. --Taweethaも (พูดคุย) 22:56, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- ตามความเห็นของผมคือ --∫G′(∞)dx 23:21, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- จุดแข็ง ผมคิดว่าจุดแข็งโดยเฉพาะของวิกิพีเดียภาษาไทยก็คือ ยังเป็นสังคมที่พบ collaboration ทั้งในแง่ผู้ใช้และบทความอย่างต่อเนื่อง จะสังเกตว่าแม้จะมีผู้ใช้วางมือไปบ้าง ผู้ใช้ใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องคงฝีไม้ลายมือของผู้ใช้เดิมก็ยังปรากฎได้อยู่ ประเด็นว่าแม้อัตราบทความจะเติบโตน้อยลองเพราะผู้ใช้ไม่มี activity มากเช่นก่อน ก็ยังพบว่ามีการเขียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งดี ส่วนในแง่ของวิกิมีเดียประเทศไทยโดยรวมก็คือ ยังมี collaboration จากวิกิพีเดียภาษาไทยไปช่วยเหลือโครงการพี่น้องทั้งแบบ on-sight และผ่านทางวิกิพีเดียอยู่เนือง ๆ ทำให้โครงการทั้งหลายเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- จุดอ่อน จุดอ่อนจะอยู่ตรงที่ว่า การปรับปรุงบทความบางทีอาจไม่มีความต่อเนื่อง และบทความที่มีปัญหาก็อาจมีปัญหาค้างคาอย่างนั้นได้ (ผมเองก็ยอมรับว่าบทความบางบทความที่ผมสร้างเองต้องการปรับปรุง แต่ไม่สามารถทำให้มันทันสมัยได้) บางบทความข้อมูลอาจล้าสมัยไปเป็นปี และเมื่อคำนึงถึงการนำข้อมูลไปใช้ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ accuracy ได้โดยที่บางทีคนแก้และคนอ่านก็ไม่รู้ ไม่เพียงเท่านั้น บทความบางบทความยังไม่มีลักษณะเป็นสารานุกรมได้ หรือบางบทความมีความไม่เป็นกลางอยู่ ซึ่งหากขาดการปรับปรุงก็จะมีปัญหาทำนองเดียวกัน ส่วนจุดอ่อนของวิกิมีเดียประเทศไทยคือ ในปัจจุบันยังเป็นเพียงความร่วมมือหลวม ๆ ซึ่งอาจทำให้มี credibility น้อยหากจำเป็นจะต้องขอความร่วมมือจากองค์กรใด ๆ โดยเฉพาะหากเกิดกรณีพิพาท
- โอกาส โอกาสของวิกิพีเดียภาษาไทยและวิกิมีเดียประเทศไทยก็คือ ยังเป็นเว็บ 2.0 ที่ยังมีโอกาสเติบโตได้อีก เพราะเป็นที่ทราบกันว่าวิกิพีเดียแทบจะเป็น source ชั้นต้นในการหาข้อมูล overview เฉพาะเรื่องในการทำรายงานหรือแม้กระทั่งในระดับอุดมศึกษา แม้ว่าจะมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียและตัวสารานุกรมที่สามารถแก้ไขได้โดยเสรี แต่คิดว่าจุดนั้นน่าจะดึงมาเพื่อส่งเสริมการสร้างสารานุกรมได้มากขึ้น โดยให้มีการตระหนักว่าทุกคนสามารถช่วยเหลือกันได้ตามความถนัดของตน
- ภัย ประเด็นเรื่องภัยคุกคามกับเรื่องโอกาสจะเกี่ยวกันในส่วนที่ว่า วิกิพีเดียต้องพยายาม balance ความเป็นสารานุกรมที่มีนโยบายและวิธีการเขียน กับความคิดที่ว่าทุกคนสามารถแก้ไขอะไร เอาอะไรมาใส่ก็ได้ให้ดี เพราะในทางปฏิบัติคนที่ไม่เข้าใจกับระบบจะพยายามทำอย่างหลัง ในขณะที่ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก็จะเข้าไปแนะนำการใช้งาน ถ้าผู้แนะนำแนะนำอย่างนิ่ม ๆ และหาทางคุยกัน คนที่เขียนเป็นขาจรอาจกลายเป็นคนเขียนขาประจำ กลับกันหากไม่มีการคุยกันเลย มีแต่การเตือนตามแม่แบบ boilerplate ก็อาจเกิดการเสียกำลังใจได้
- ตามความเห็นของผมคือ --∫G′(∞)dx 23:21, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- หัวใจสำคัญที่สุดของวิกิพีเดียในความคิดของคุณ G(x) คืออะไร โปรดอธิบายด้วยคำไทยไม่เกิน 10 คำ --Taweethaも (พูดคุย) 23:04, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- "เสรี เชื่อถือได้ เป็นมิตรกับผู้ใช้" ครับ (ส่วนข้ออธิบายผมเขียนคร่าว ๆ ใน SWOT ข้างต้นไปก่อนแล้ว) --∫G′(∞)dx 23:21, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- นโยบายของ thwp ในปัจจุบันเห็นว่าตึงหรือหย่อนเกินไปหรือไม่ ถ้าใช่ควรลด/เสริมอะไร คิดเห็นอย่างไรกับการนำนโยบายภาษาอื่นเข้ามาใช้ --奥虎 ボンド 17:51, 1 มกราคม 2557 (ICT)
- ผมมองว่านโยบายบางอันก็ดูจะแข็งเกินไป บางอันก็ดูจะอ่อนเกินไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ของผู้บังคับใช้ด้วย นโยบายที่เกี่ยวกับความตึงเกินไปอันหนึ่งคือนโยบายเกี่ยวกับหัวเรื่องท้องถิ่น ซึ่งในส่วนที่เป็น Specific Criteria เป็นเรื่องที่แทบจะทำให้บทความหลายหมวดต้องโดนลบ ในขณะที่บางครั้งก็มีเส้นบาง ๆ ระหว่างอะไรคงไว้ได้หรือไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Clause เฉพาะดังกล่าวจะไม่ดี อย่างน้อยมันก็เป็น criteria สำหรับผู้ใช้ตรวจสอบได้ว่าอะไรที่ควรจะมีและอะไรควรจะไม่มี ถ้าจะให้ดีควรจะมีอะไรที่เป็นตัวอย่างในระดับ relative (คือเกี่ยวข้องกับประเทศไทย) ซักอันหนึ่งเป็นตัวอย่าง อีกนโยบายหนึ่งคือชีวประวัติบุคคลมีชีวิต ซึ่งก็มีปัญหาในทำนองเดียวกับหัวเรื่องท้องถิ่น
- สำหรับในการนำนโยบายภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นมาใช้ ข้อดีก็คือเราไม่จำเป็นต้องลงแรงในการเขียนนโยบายใหม่ด้วยตนเอง เช่นในนโยบายการอนุญาโตตุลาการ ที่รับรูปแบบการเขียนเป็นข้อมาจากภาษาฝรั่งเศส หรือนโยบายอื่น ๆ ที่รับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเช่นนโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ และการตั้งค่ามีเดียวิกิไม่ให้เก็บประวัติเพื่อการ SEO แต่ข้อเสียก็คือบางอย่างเราก็จำเป็นต้องปรับให้เข้ากับพฤติการณ์ของเรา โดยคำนึงถึงปัจจัยทาง community, activity และปัจจัยอื่น ๆ เช่น นโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ของเราไม่ใช้ mailing list และให้ใช้หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบหรือหน้าพูดคุย และฟังก์ชันอีเมลผู้ตรวจสอบโดยตรงหากจำเป็น ในอีกกรณีหนึ่งคือนโยบายเกี่ยวกับวงศ์ตระกูล ซึ่งตามที่มีการอภิปราย ร่างนโยบายที่ยกขึ้นมาก็ไม่ได้เกิดจากการนำนโยบายวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาบังคับใช้ทั้งหมด แต่เป็นการเขียนจาก ground-up โดยอาศัยแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ (แม้วิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะเขียนเกี่ยวกับครอบครัวแต่ก็อ้างว่าเป็น Invalid criteria ไม่ได้ยอมให้เขียนโดยชัดแจ้งแบบเรา) สรุปก็คือ นโยบายสามารถรับเอาได้ แต่จะใช้นโยบายทื่อ ๆ โดยไม่สนใจว่าประชาคมเป็นอย่างไรไม่ได้ --∫G′(∞)dx 22:27, 1 มกราคม 2557 (ICT)
- ผมมองว่านโยบายบางอันก็ดูจะแข็งเกินไป บางอันก็ดูจะอ่อนเกินไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปปรับใช้ของผู้บังคับใช้ด้วย นโยบายที่เกี่ยวกับความตึงเกินไปอันหนึ่งคือนโยบายเกี่ยวกับหัวเรื่องท้องถิ่น ซึ่งในส่วนที่เป็น Specific Criteria เป็นเรื่องที่แทบจะทำให้บทความหลายหมวดต้องโดนลบ ในขณะที่บางครั้งก็มีเส้นบาง ๆ ระหว่างอะไรคงไว้ได้หรือไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Clause เฉพาะดังกล่าวจะไม่ดี อย่างน้อยมันก็เป็น criteria สำหรับผู้ใช้ตรวจสอบได้ว่าอะไรที่ควรจะมีและอะไรควรจะไม่มี ถ้าจะให้ดีควรจะมีอะไรที่เป็นตัวอย่างในระดับ relative (คือเกี่ยวข้องกับประเทศไทย) ซักอันหนึ่งเป็นตัวอย่าง อีกนโยบายหนึ่งคือชีวประวัติบุคคลมีชีวิต ซึ่งก็มีปัญหาในทำนองเดียวกับหัวเรื่องท้องถิ่น
สนับสนุน
- เห็นด้วย เห็นผลงานมานาน ดีใจที่คุณ G(x) เสนอชื่อตนเองในจังหวะที่เหมาะสม --Taweethaも (พูดคุย) 22:54, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย จากผลงานที่ผ่านมา และความกระตือรือร้น --Timekeepertmk (พูดคุย) 23:12, 30 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย ปัจจุบันวิกิพีเดียมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น การดูแลบางอย่างไม่ทั่วถึง ถ้ามีผู้ดูแลระบบเพิ่มก็จะได้ช่วยกันดูแลการแก้ไข และการก่อกวนได้อย่างทั่วถึง --เอ็ดมัน ^____^ (ສົນທະນາ) 11:31, 31 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย สุขุม นุ่ม ลึก เป็นมิตรกับทุกคน การตอบปัญหาทุกครั้งยกทั้งขอดีข้อเสีย สภาพแวดล้อม ประกอบทุกครั้ง ทำให้เราตาสว่าง --Sasakubo1717 (พูดคุย) 14:34, 31 ธันวาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 13:13, 1 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --L0V3Kr1TT4Y4 00:06, 2 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย คุณ G(x) เป็นผู้มีความยืดหยุ่น มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ และช่วยประสานงานในโครงการต่าง ๆ เป็นระยะ มีทักษะการสื่อสารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เข้าใจระบบเชิงเทคนิคอยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าเขาจะหายไปพักหนึ่งเนื่องด้วยภารกิจการศึกษา กับเหตุผลอื่น ๆ แต่มาคราวนี้เชื่อว่าเขาจะเป็นต้นแบบที่ดีของการเป็นผู้ดูแลระบบ สำหรับคนรุ่นหลังได้ระดับหนึ่งครับ --B20180 (พูดคุย) 18:40, 2 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยครับ--Saeng Petchchai (พูดคุย) 22:18, 2 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 22:26, 3 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --奥虎 ボンド 16:48, 5 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 22:45, 6 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย · Dr.Garden · คุยกันได้! · 23:22, 6 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย เชื่อมั่นว่า จะ "ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร" --Aristitleism (พูดคุย) 23:51, 6 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --Tinuviel | talk 11:29, 9 มกราคม 2557 (ICT)
- เห็นด้วย --Nullzero (พูดคุย) 07:25, 10 มกราคม 2557 (ICT)
เป็นกลาง
- เป็นกลาง -- @thanyakij • 04:08, 10 มกราคม 2557 (ICT)