วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอให้ไอพีและผู้ใช้ใหม่สร้างหน้าฉบับร่างแทนบทความ

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

ร่างข้อเสนอ

ที่มาและความสำคัญ
  1. วิกิพีเดียภาษาไทยมีการสร้างหน้าโดยไอพีและผู้ใช้ใหม่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น
  2. ไอพีและผู้ใช้ใหม่มี accountability น้อยกว่าผู้ใช้ปกติ คือ ไม่ได้รับ feedback หรือคำกล่าวตักเตือนจากผู้ใช้อื่น
  3. การสร้างหน้าในวิกิพีเดียส่วนใหญ่ยังมีลักษณะสร้างครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการพัฒนาต่อเติม
  4. บทความจำนวนมากยังตกค้างเป็นโครงหรือเป็นงานค้าง (backlog) อยู่มาก และเกินกำลังสอดส่องของผู้ใช้ปัจจุบัน
  5. ผู้ใช้บางส่วนสร้างหน้าบทความโดยมีจุดประสงค์แอบแฝง ตัวอย่างเช่น สร้างหน้าบุคคลโดยติดป้ายขาดความสำคัญไว้เสร็จสรรพ น่าจะส่อว่าผู้ใช้ดังกล่าวทราบดีว่าไม่ผ่านเกณฑ์ แต่จะขอเก็บไว้ในเนมสเปซบทความ 6 เดือน
  6. หน้าในเนมสเปซบทความจะค้นได้ด้วยเสิร์ชเอนจิน ทำให้อาจมีวัตถุประสงค์โฆษณา
  7. วิกิพีเดียได้เปิดคุณลักษณะใหม่ คือ เนมสเปซฉบับร่าง ซึ่งจะไม่ถูกทำดัชนีและค้นได้ด้วยเสิร์ชเอนจิน
  8. บางบทความถูกลบหลายครั้ง
ข้อเสนอ
  1. ห้ามไอพีและผู้ใช้ใหม่ (อายุน้อยกว่า 4 วัน การแก้ไขน้อยกว่า 10 ครั้ง) สร้างบทความใหม่ได้ (ใช้ตัวกรองการแก้ไข) โดยให้สร้างฉบับร่างแทน
  2. (เป็นผลจากข้อ 1) ให้เปลี่ยนหน้ามีเดียวิกิสำหรับการสร้างหน้าใหม่สำหรับผู้ใช้สองกลุ่มข้างต้น
  3. ร่างบทความที่ผู้ใช้ปกติเห็นว่าผ่านก็ให้ย้ายเป็นบทความ
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  1. จำนวนหน้าบทความใหม่ลดลง
  2. บทความใหม่มีคุณภาพดีขึ้นเนื่องจากมีผู้ใช้ช่วยกันตรวจทาน
  3. ผู้ใช้ปกติมีความสามารถในการตรวจทานงานของผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถทำความเข้าใจนโยบายและแนวปฏิบัติได้ดีขึ้น
  4. ไอพีและผู้ใช้ใหม่ได้รับคำชี้แจงที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสารานุกรม ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มผู้ใช้ขาประจำในระยะยาว
  5. ช่วยป้องกันจุดประสงค์แอบแฝงของบัญชีประเภทจุดประสงค์เดียว (single-purpose account)
  6. ภาพลักษณ์ของวิกิพีเดียภาษาไทยอาจถูกมองว่ามีกฎระเบียบยุ่งยากมากขึ้น
  7. เกิด backlog หน้าฉบับร่างรอตรวจ และอาจมีคำขอให้ตรวจฉบับร่างในกล่องจดหมายส่วนตัวหรือหน้าส่วนกลางเพิ่มขึ้น

--Horus (พูดคุย) 16:31, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

อภิปราย (แบ่งเป็นส่วน ๆ ได้)

ข้อจำกัดในการขอระงับและกรณีวิกิพีเดียภาษามลายู

การกำหนดค่าของมีเดียวิกิอาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากทาง system administrator ของฟาบริเคเตอร์มีข้อกำหนดในการพิจารณาเพื่อขอระงับการสร้างบทความโดยไอพีและผู้ใช้ใหม่โดยจะสอบถามว่า

  1. Is prepared to handle drafts in a timely manner. (มีฉบับร่าง)
  2. Has a well developed editing and administrative community. (โครงการมีขนาดใหญ่)
  3. Has established an unusually broad consensus for the change. (มีความเห็นพ้องที่ชัดเจน)

โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทางชุมชนวิกิพีเดียภาษามลายูมีการขอความเห็นในการระงับการสร้างบทความโดยผู้ใช้ไอพี ซึ่งก็มีความเห็นพ้องจากชุมชนชัดเจนว่าต้องระงับการสร้างบทความโดยผู้ใช้ไอพี พอแจ้งผ่านฟาบริเคเตอร์ (phab:T248487) เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ ปรากฎว่าทาง sysadmin ไม่เห็นชอบเนื่องจากเห็นว่าทางโครงการมีขนาดไม่ใหญ่พอและแนะนำให้ดำเนินการอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อมาดูขนาดของโครงการวิกิพีเดียภาษามลายูมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 33 มีบทความจำนวน 342,357 หน้า ส่วนของวิกิพีเดียภาษาไทยอันดับ 56 มีบทความจำนวน 139,692 หน้า (น้อยกว่าประมาณ 2.5 เท่า) ถ้าเราจะดำเนินการแบบเดียวกันก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับการปฏิเสธจาก sysadmin เช่นกัน

ดังนั้นเราอาจต้องมาดูว่านอกเหนือจากตัวกรองแล้วจะดำเนินการในส่วนของการปรับค่าทางเทคนิคอื่น (ที่สามารถได้) ด้วยได้หรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 17:31, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ข้อเสนอของผมใช้เครื่องมือตัวกรองเอาครับ ไม่ได้ปรับ config ไม่แน่ใจว่าเคยมี precedent หรือเปล่า แต่คิดว่าน่าจะไม่ rigid เท่ากับปรับ config เพราะสามารถเปิดปิดได้รวดเร็ว --Horus (พูดคุย) 18:02, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
พอดีในข้อเสนอข้อที่ 2 ระบุว่าจะเปลี่ยนหน้ามีเดียวิกิเลยเข้าใจว่าจะทำการแก้ไข config ครับ --Geonuch (คุย) 11:30, 17 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

งานค้างฉบับร่าง

ข้อเสนอดังกล่าวอาจทำให้การตรวจทานบทความฉบับร่างมีความล่าช้าเช่นกัน จึงขอเสนอให้ผู้ใช้ใหม่ไม่มีสิทธิ์สร้างบทความใด ๆ รวมไปถึงฉบับร่าง ก่อนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ครับ --Ingfa7599 (คุย) 19:08, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

คิดว่างานค้างฉบับร่างไม่เท่าไหร่ครับ อย่างที่บอกคือ จุดประสงค์หนึ่งที่เสนอดังนี้เพื่อให้ผู้ใช้สองกลุ่มดังกล่าวได้รับ feedback กับลดปัญหาส่งบทความถูกลบเข้ามาซ้ำ ๆ --Horus (พูดคุย) 19:18, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
การให้ feedback ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (4 วัน) เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ใช้ท่านอื่นโดยใช่เหตุ และอาจไม่เห็นผลเท่าที่ควร ทางที่ดีควรระงับการสร้างหน้าทุกแบบจนกว่าจะผ่านเกณฑ์ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ใหม่หาประสบการณ์โดยการแก้ไขหน้าอื่น ๆ ไปในตัวด้วย หากหลังจากนั้นยังมีการสร้างหน้าไม่ถูกต้อง จึงสมควรให้ feedback กลับไปครับ อีกประเด็นคือ ถึงแม้จะให้ feedback กลับไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าจะมีการส่งบทความเสี่ยงถูกลบเข้ามาซ้ำ ๆ (ปกติการลบเราก็มีการแจ้งเหตุผลที่ถูกลบแนบไปด้วยอยู่แล้ว แบบนี้ถือเป็น feedback หรือไม่ครับ) --Ingfa7599 (คุย) 20:18, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
Feedback ที่ผมคาดไว้หมายถึง เวลาไปแจ้งเตือนเพื่อปรับปรุงเรื่องใส่หมวดหมู่ตอนท้าย การจัดรูปแบบบางอย่าง ซึ่งพวกนี้จะแจ้งไอพีไม่ได้ครับ --Horus (พูดคุย) 20:48, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

การตรวจสอบฉบับร่างโดยผู้ใช้

ผู้ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบเนมสเปซฉบับร่างควรมีการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมหรือไม่ครับ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ตรวจเนมสเปซฉบับร่างมีความสามารถในการเขียนและเข้าใจนโยบายในระดับหนึ่งจริง --Timekeepertmk (คุย) 20:26, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ไม่ต้องครับ คิดว่าให้ผู้ใช้ทั่วไปนี่แหละ จะได้ทวนกันด้วยว่านโยบายพวกนี้เข้าใจกันจริงหรือเปล่า ถ้าให้ผ่านมั่ว ๆ ก็อาจจะโดนตักเตือนเพราะถือว่าคุณก็รับผิดชอบด้วยส่วนหนึ่ง --Horus (พูดคุย) 20:36, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นหลังเริ่มทดลอง

นับตั้งแต่เริ่มทดลองใช้การให้ไอพีและผู้ใช้ใหม่สร้างหน้าฉบับร่างแทนบทความทำให้บทความใหม่ที่ไม่ผ่านลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การแจ้งลบน้อยลง แต่ทั้งนี้ผมมีข้อกังวลและข้อเสนอแนะบางประการครับ

  1. การที่ผู้ใช้เป็นผู้รีวิวบทความ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว จะเป็นภาระของผู้ดูแลระบบที่ต้องมาตามลบเนมสเปซฉบับร่างของบทความนั้น อันนี้ถือเป็นภาระหรือไม่ครับ
  2. ส่วนนี้เป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ
    1. น่าจะมีการใส่ลิงค์หน้าโครงการฉบับร่างในแม่แบบเครื่องมือทบทวนอื่นในหน้าปรับปรุงล่าสุด เพื่อลดความยุ่งยากในการค้นหาเนมสเปซฉบับร่าง
    2. หากนโยบายนี้เป็นรูปธรรม คิดว่าน่าจะมีการรวบรวมรายชื่อผู้ใช้ที่ยินดีตรวจสอบบทความฉบับร่าง เพื่อให้ผู้ใช้ใหม่หรือ IP สามารถติดต่อผู้ใช้เหล่านั้นเพื่อช่วยเหลือในการร่างบทความหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายของวิกิพีเดียที่ควรทราบแก่ผู้เขียนฉบับร่างครับ

ดังนั้นหากผู้ดูแลระบบไม่มองว่าภาระการตามลบหน้าฉบับร่างเป็นภาระที่ยุ่งยากขึ้น ผมก็ขอสนับสนุนแนวทางนี้ครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:40, 30 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ผมหวังให้ผู้ใช้ทุกคนตรวจทานได้ เพราะฉะนั้นไม่คิดว่าต้องมีเกณฑ์พิเศษครับ ส่วนการเพิ่มลิงก์ฉบับร่างเดี๋ยวดำเนินการให้ครับ --Horus (พูดคุย) 23:57, 30 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ผมประสบปัญหาตัวกรองห้ามผมแก้ไขฉบับร่าง ทั้งที่เมื่อวานผมสามารถแก้ไขได้ ทำให้ผมปรับปรุงฉบับร่างไม่ได้ จนกว่าจะย้ายมาบทความ และที่สำคัญ ผมแจ้งลบฉบับร่างไม่ได้ด้วยครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:19, 31 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
มีโค้ด {{ฉบับร่างบทความ}} อยู่ไหมครับ --Horus (พูดคุย) 17:25, 31 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ไม่มีครับ ผมย้ายจากฉบับร่าง:ภาชนะมาเป็นภาชนะครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:27, 31 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เพิ่งแก้พอดี สรุปว่าบัญชีที่อายุเกิน 1 เดือนแก้ได้แล้วครับ --Horus (พูดคุย) 17:27, 31 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณมากครับ ลองทดสอบแล้ว ได้แล้วครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:32, 31 กรกฎาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เสนอแนะเพิ่มเติมครับ น่าจะเพิ่มนโยบายเกี่ยวกับการย้ายฉบับร่าง โดยกำหนดว่าเมื่อผู้ดูแลพิจารณาให้ย้ายฉบับร่างเป็นบทความได้ ให้ลบบทความฉบับร่างดังกล่าวด้วย ส่วนกรณีผู้ใช้ทั่วไปเมื่อย้ายแล้ว ให้แจ้งลบเนมสเปซฉบับร่าง เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทำหน้าที่ในการลบต่อไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีเนมสเปซฉบับร่างค้างในระบบครับ --Timekeepertmk (คุย) 15:33, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
จริง ๆ ขั้นตอนเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เป็นลายลักษณ์อักษร ผมได้เพิ่มใน วิกิพีเดีย:ฉบับร่าง แล้วครับ --Horus (พูดคุย) 23:31, 3 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

มีเดียวิกิ:Abusefilter-disallowed?

น่าจะสร้าง notice อธิบายให้ผู้ใช้เข้าใจกว่าการเตือนว่า "ตัวกรองอัตโนมัติระบุว่าการกระทำนี้ไม่เหมาะสม จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อ" เพราะยังไงผู้ใช้ใหม่หลายคนก็มีเจตนาดี อาจสร้างสารระบบที่เป็นมิตรกว่าและแนะแนวทาง อย่าง "ขณะนี้วิกิพีเดียภาษาไทยปิดการสร้างหน้าโดยผู้ใช้ใหม่ กรุณาคัดลอกการแก้ไขปัจจุบันไว้ที่----" จะดีกว่าหรือไม่ครับ —𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔. talk 12:54, 19 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ช่วยกันออกความเห็นได้ที่ มีเดียวิกิ:Createarticle-disallowed เลยครับ --Horus (พูดคุย) 19:59, 19 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

การแก้ไข

เท่าที่เห็น ผมพบว่าการให้ผู้ใช้ใหม่เข้าไปอ่านนโยบายต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเข้าเป็นการยาก (แต่ใช่ว่าจะไม่มีใครอ่านเลย) ควรเน้นให้ผู้ใช้ศึกษาจากหน้าบทความต่าง ๆ เพื่อเก็บประสบการณ์ครับ (ขยายกล่องที่มีรูปเด็กให้ชัด ๆ น่าจะดี) ประเภทของบทความที่มักเกิดปัญหาที่สุดคือชีวประวัติกับบันเทิง (อย่างหลังนี้ผมไม่ทราบเกณฑ์ของการเขียนเลยครับ) -- Just Sayori OK? (have a chat) 17:36, 11 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

อาจจะไม่ต้องใส่ในหน้าสร้างบทความใหม่ แต่ไปใส่ในหน้าตอนคลิกสร้างฉบับร่างแทนครับ (ใช้ editnotice) --Horus (พูดคุย) 17:48, 11 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]
เกณฑ์บทความบันเทิง (ละคร หนัง บุคคล) ใช้เกณฑ์ NOTE ทั่วไปกับแยก และมี manual of style --Horus (พูดคุย) 17:48, 11 ตุลาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ปัญหาที่พบ

  1. ตัวกรองการแก้ไขที่บอกว่าการกระทำไม่เหมาะสมเนื่องจากพยายามลบ"แม่แบบฉบับร่างบทความ"ออก: จากที่ผมลองใช้ไอพีสร้างฉบับร่างพบว่าส่วนบนของพื้นที่แก้ไขไม่ได้เติม {{ฉบับร่างบทความ}} ไว้ ทำให้ขึ้นตัวกรองดังกล่าวเมื่อกดเผยแพร่การเปลี่ยนแปลง
  2. ผู้ใช้ย้ายเนมสเปซจาก"ฉบับร่าง"ไปเป็น"วิกิพีเดีย" น่าจะเกิดจากการที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่าแต่ละเนมสเปซมีวัตถุประสงค์อย่างไร
  3. ผู้ใช้ยังเข้าใจว่าหน้าทดลองเขียนจะไม่ถูกเผย ซึ่ง"ไม่ถูกเผยแพร่"ในที่นี้คืออ่านได้เฉพาะตัวเองเท่านั้น ดังในหน้าฉบับร่าง:เรื่องจริง25563 และspecial:diff/9057324

-- Just Sayori ( have a chat ) 18:33, 19 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ข้อ 1 อันนี้ผมก็ว่าน่าจะสร้าง Abusefilter notice เหมือนกัน คำที่ใช้ใน disallowed ไม่เป็นมิตรเลย และไอพีและผู้ใช้ใหม่ (ที่บางคนเป็นขาจร) อาจจะไม่รู้จักคำว่าแม่แบบด้วยซ้ำ ส่วนข้อ 3 อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะปรับการสื่อสารยังไงให้ขาใหม่เข้าใจเหมือนกันนะครับ สงสัยเขาคงคิดว่าคล้ายกับ WordPress หรืออะไรที่เป็นสำเร็จรูปเลยนึกว่าฉบับร่างยังไม่เผยแพร่ =_= —𝙋𝙖𝙩𝙨𝙖𝙜𝙤𝙧𝙣 𝙔. talk 19:21, 19 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]
ข้อ 3 ผมเข้าใจว่าอ่านไม่แตกฉานมากกว่า เพราะจริง ๆ ในป้ายสร้างหน้าใหม่ก็มีบอกอยู่แล้วว่าให้เขียนในหน้าฉบับร่างหรือทดลองเขียน (ส่วนกลางหรือส่วนตัว) พอมีคนไปเตือนก็ด่ากราด ไม่ยอมรับความผิดตัวเองครับ --Horus (พูดคุย) 19:58, 19 กันยายน 2563 (+07)[ตอบกลับ]