วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ชื่อนักฟุตบอลและสโมสรต่างประเทศ

ช่วงนี้มีแฟนบอลเข้ามาเพิ่มเติมแก้ไขบทความนักฟุตบอลและสโมสรจำนวนมาก แต่ส่วนมากไม่ได้ช่วยอะไรนักเพราะเขาเหล่านั้นมักจะแก้ไขเพียงชื่อ จากมาตรฐานเดิมที่เราใช้กันอยู่ว่าการทับศัพท์ให้อ่านคล้ายต้นฉบับมากที่สุด ผมเคยแนะนำผู้ใช้หลายคนว่าควรสะกดตามหลักการทับศัพท์ที่มีอยู่ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการทับศัพท์ตามอำเภอใจ แต่แฟนบอลพยายามแก้ชื่อนักเตะให้สอดคล้องกับชื่อที่เขาคุ้นเคย เช่นการเติมวรรณยุกต์บ้าง การเปลี่ยนตัวอักษรบ้าง โดยให้เหตุผลว่าสื่อมวลชนก็ยังใช้ แต่การตรวจสอบจริง ๆ แล้วก็พบว่าบางชื่อที่สื่อมวลชนใช้ก็อ่านผิดตาม ๆ กันมาแต่เดิม ทั้งการเหมาภาษาอื่นอาทิ ภาษาโปแลนด์ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ อ่านเป็นภาษาอังกฤษไปเสียทั้งหมด เหตุเพียงเพราะใช้อักษรละติน a-z เหมือนกัน (ดูที่การแผลงเป็นอังกฤษ) และรายละเอียดปลีกย่อยในภาษาที่ไม่ค่อยทราบกัน (เช่น West Bromwich อ่านว่า เวสต์บรอมมิช, w ไม่ออกเสียง) รวมไปถึงชื่อที่สื่อมวลชนต่าง ๆ ใช้ไม่ตรงกันบ้างก็มี ซึ่งข้อหลังนี้ก็มีการอ้างอิงให้ไปใช้ชื่อตามนิตยสารกีฬาอันดับหนึ่ง (?) ประเด็นนี้ผมเคยได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งจากสมาชิกว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อตามสื่อมวลชน จึงเป็นแนวปฏิบัติเสมอมา นอกจากนี้ยังมีการบอกว่า คุณไม่ได้สนใจวงการฟุตบอลจะไปรู้อะไร ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดสงครามการเปลี่ยนชื่อบทความและเนื้อหาในบทความไป ๆ มา ๆ

อยากได้ความเห็นจากสมาชิกว่า ชื่อบทความนักฟุตบอลต่าง ๆ ควรใช้นโยบายเดิมเพื่อรักษามาตรฐาน ทั้งปัจจุบันและในอนาคต แม้ชื่ออาจจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไรนัก (ไม่ว่าชื่อไหนก็จะลิงก์มาที่บทความเดียวกันได้) หรือจะเปลี่ยนแปลงให้บทความเหล่านั้นสามารถตั้งชื่อบทความอย่างอื่นได้ ชื่อก็จะตรงกับความนิยม แต่ก็จะเกิดมาตรฐานอื่นแตกแขนงออกไปอีก (สองมาตรฐาน) และอาจเกิดปัญหาการตั้งชื่อรายบุคคลตามมา --octahedron80 17:56, 6 มิถุนายน 2554 (ICT)

ทุกอย่างมีข้อยกเว้นได้ ชื่อเหล่านี้ก็มีข้อยกเว้นปลีกย่อยมากมาย แต่ถ้าเขาไม่อาจแสดงให้เห็นถึงข้อยกเว้น (ไม่มีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ)​ ก็ใช้ตามหลักราชบัณฑิตฯ ไปก่อน มีคนสนใจร่วมกันแก้ไขบทความก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่ถ้าการแก้ไขนั้นไม่สร้างสรรค์หรือไม่เข้ากับหลักการก็คงต้องย้อนกลับ ถ้าเป็นผู้ใช้ลงทะเบียนก็ช่วยกันชี้แจงเหตุผลหน่อยเผื่อจะได้คนมาช่วยเขียนวิกิพีเดียกันมากขึ้น --taweethaも 17:35, 7 มิถุนายน 2554 (ICT)

ผ่านมาสามวันยังไม่มีผู้อภิปรายเพิ่มเติม ผมคิดว่าทิศทางของคนส่วนใหญ่ก็สนับสนุนการทับศัพท์ตามหลักราชบัณฑิตฯ นะครับ หากมีการแก้มั่วมากๆ ซึ่งเราคงต้องใจเย็นและแก้เอาด้วยมือ หากมีการย้ายกันมากๆ เราก็อาจทำการยับยั้งด้วยการล็อก หรือใช้ abuse filter เป็นการชั่วคราวได้ (ผมคิดว่าทางเทคนิคเขียนโค้ดห้ามย้ายยกหมวดหมู่ได้) แต่จะทำการสกัดกั้นแบบเหวี่ยงแหเช่นนี้คงต้องได้รับการยินยอมด้วยเสียงส่วนใหญ่ หรือเสียงไม่กี่เสียงแบบไม่มีผู้คัดค้าน (ขอไม่นับไอพีและผู้ใช้ใหม่ที่ยังไม่มีสิทธิลงคะแนน)--taweethaも 21:19, 8 มิถุนายน 2554 (ICT)
เราว่าหลักการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตฯ ควรใช้เป็นหลักการก็ถูกต้องแล้วนะคะ ถ้าขืนไปทับศัพท์ตามความนิยมหรือความคุ้นหูคุ้นตา อาจจะมีหลายเวอร์ชั่นแล้วแต่สื่อจะเขียนเอา ยิ่งเถียงกันตายเลย --Tinuviel | พูดคุย 22:51, 8 มิถุนายน 2554 (ICT)
เห็นพ้องกับการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตฯ การทับศัพท์ตามนิตยสารฟุตบอลหรือผู้บรรยายเสียงฟุตบอลนั้น ก็เชื่อถือไม่ได้ อย่างสื่อไทย นักฟุตบอลอย่าง Cesc Fabregas แต่ออกเสียงเป็น เชส (ช. ช้าง) ซึ่งชื่อเขาออกเสียง เซสก์ ซ. โซ่ ชัดเจน (ฟังออกเสียงชื่อเขา) สื่อไทยก็ยังออกเสียงผิด เชส กันทุกสถาบัน และอีกอย่างการใส่ไม้เอก ไม้โท สื่อนิยม ใช้ไม้เอก ไม้โท กำกับ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าอยากจะไม้เอกตรงไหนก็ใส่ อยากจะไม้โท ตรงไหนก็ใส่ ไม่มีหลักการการใส่อะไรเลย ตัวอย่างเช่น Manchester United ถ้าจะออกเสียงตามสำเนียงไทยแล้ว มันต้องเขียนว่า แมนเชสเต้อร์ ยูไนเต้ด ซึ่งจริงการใช้หลักตามราชบัณฑิตฯ ที่ไม่ใส่วรรณยุกต์กำกับนั้นก็เหมาะสม เพราะในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น เวลาออกเสียง คำเดียวกัน ก็สามารถออกเสียงสูง เสียงต่ำได้ --Poang6 02:11, 9 มิถุนายน 2554 (ICT)