วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นเกี่ยวกับคณะอนุญาโตตุลาการ

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย
การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

ความย่อของบทสรุปที่บรรลุมีดังนี้

แม้ว่าจะมีการออกเสียงลงคะแนนเห็นด้วยให้มีการรื้อฟื้นกระบวนการอนุญาโตตุลาการ แต่ชุมชนมีข้อกังวลว่ากระบวนการอนุญาโตตุลาการไม่สามารถใช้ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการดำเนินการเฉพาะหน้าได้ และโดยปัจจุบันการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีการใช้วิธีไกล่เกลี่ยแบบไม่เป็นทางการ เช่น ในหน้าคุยกับผู้ใช้หรือหน้าพูดคุยบทความ มากกว่าที่จะต้องดำเนินการโดยอาศัยการอภิปรายอย่างเป็นทางการเช่นการตั้งเรื่องในสภากาแฟหรือในหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ จึงเห็นว่ายังไม่ควรรื้อฟื้นกระบวนการอนุญาโตตุลาการขึ้น และให้ใช้กระบวนการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเท่าที่มีไปก่อน ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดความเป็นไปได้ในการให้มีกระบวนการดังกล่าวอีกครั้งหากกระบวนการดังกล่าวในภายหลังสามารถแก้ไขข้อบกพร่องในกระบวนการเดิมได้ --G(x) (คุย) 12:54, 20 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ผมทราบว่าคณะอนุญาโตตุลาการ ของวิกิพีเดียภาษาไทยได้ยุติทำงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หรือ พ.ศ. 2560 ซึ่งผมเห็นว่า ขณะนี้วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ใช้ไอพีหรือผู้ใช้บางรายก่อกวนบทความอย่างต่อเนื่อง (เช่นสิริวิมล ดวงแก้ว รวมถึงบัญชีในเครือ หรือไอพีต่างๆ) รวมถึงการปฎิบัติหน้าที่ล้ำเส้นของผู้ใช้วิกิพิเดียบางราย (เช่นคุณ Peeravich23) ผมมีความเห็นนะครับว่าต้องมีการเลือกตั้ง คอต. ขึ้นมาทำหน้าที่ในวิกิพีเดียภาษาไทยอีกครั้ง เพื่อสามารถมีอำนาจในการพิจารณาการแก้ไขหรือการมีส่วนร่วมใดๆ ก็ตามของผู้ใช้ในวิกิพีเดียได้รัดกุมยิ่งขึ้น และผมเห็นว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการพิจารณาหรือการปราบปรามการก่อกวนของผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นครับ ส่วนท่านเห็นด้วยหรือไม่ก็สามารถแสดงความเห็นได้ตามด้านล่างครับ ขอบคุณครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 15:02, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

คำถามจากผู้ใช้ G(x) แก้

ลงวันที่ 15:36, 11 ตุลาคม 2562 (+07)

  1. ถ้าผมจำไม่ผิด (เพราะกรณีของเรื่องก็ยาวนานมากแล้ว) ผมกับผู้ใช้อีกท่านหนึ่งที่ได้หยุดเขียนไปแล้วเป็นผู้พิจารณาร่างนโยบายทั้งอนุญาโตตุลาการและ CheckUser (ผมร่างนโยบาย CheckUser ส่วนผู้ใช้อีกท่านหนึ่งร่างนโยบายอนุญาโตตุลาการ) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้มีคณะอนุญาโตตุลาการรับรองการแต่งตั้ง CheckUser (เนื่องจากในขณะนั้นผมเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมี CheckUser) (ดูในประกาศศาลาชุมชนเกี่ยวกับการรับรองนโยบายอนุญาโตตุลาการและ CheckUser) ซึ่งในจุดนั้น CheckUser ยังต้องอาศัยการแต่งตั้งและรับรองจากอนุญาโตตุลาการอยู่ แต่ในปัจจุบันจากที่ผมเสนอแก้ไขนโยบาย CheckUser เนื่องจากการไม่มีคณะอนุญาโตตุลาการและเพื่อเป็นการไม่ให้อำนาจลดทอนลงไปอยู่เพียงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย่อมหมายความว่าอนุญาโตตุลาการไม่สามารถแต่งตั้ง CheckUser ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป ขอสอบถามความเห็นว่าถ้าได้มีการแก้นโยบายอื่น ๆ จนทำให้อนุญาโตตุลาการไม่สามารถแต่งตั้งผู้ใช้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือขั้นสูงอย่าง CheckUser หรือ Oversighter แล้วอนุญาโตตุลาการจะมีหน้าที่ในส่วนใดได้บ้างครับ
  2. การจัดเลือกตั้งอนุญาโตตุลาการในแต่ละครั้งเป็นกระบวนการที่ลำบาก เนื่องจากต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ การเสนอชื่อ และการนับคะแนน (ดูใน วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/เสนอชื่อผู้รับเลือกตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ, WP:ACE2011 และ WP:ACE2013) ผมไม่คัดค้านหากจะมีบุคคลใดเสนอตัวเข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้ แต่ขอเรียนไว้เพื่อทราบครับ
  3. การระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียภาษาไทยในปัจจุบันเน้นการระงับข้อพิพาทกันโดยอาศัยหน้าพูดคุยและหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบเข้ามาพิจารณา สำหรับในวิกิพีเดียภาษาไทย ข้อพิพาทที่เคยขึ้นถึงชั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการมีอยู่กรณีเดียวคือ NumChiao v. Horus (ซึ่งโดยลักษณะแล้วคือข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความเสียมากกว่า) ส่วนอีกกรณีหนึ่งที่ไม่ได้วินิจฉัยคือ Jungide v. Vega-ZERO et. al. ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยเพราะผมหยุดเขียนไปและไม่มีการประสานงานให้มีคำวินิจฉัยต่อ ในส่วนนี้ผมขอสอบถามว่า หากมีกระบวนการอนุญาโตตุลาการจริง กลไกของวิกิพีเดียในปัจจุบันมีความเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้คู่กรณีสามารถระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นได้โดยไม่ต้องอาศัยอนุญาโตตุลาการ และหากต้องมีอนุญาโตตุลาการจริง จะต้องมีผู้ประสานงาน (เสมียน) เพื่อดำเนินการประสานงานให้คณะอนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัย รวมถึงจัดการงานคดีที่เกี่ยวข้องด้วย ผมไม่แน่ใจว่าโดยลักษณะของวิกิพีเดียภาษาไทยจะสามารถหาผู้ที่ยินดีปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้ได้ครับ แต่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ว่าหากมีผมก็ไม่ขัดข้องครับ
@G(x): ถ้าได้มีการแก้นโยบายอื่น ๆ จนทำให้อนุญาโตตุลาการไม่สามารถแต่งตั้งผู้ใช้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือขั้นสูงอย่าง CheckUser หรือ Oversighter แล้วอนุญาโตตุลาการจะมีหน้าที่ในส่วนใดได้บ้างครับ ผมขอตอบว่ามีส่วนในการพิจารณาการกระทำของผู้ใช้ในวิกิพีเดียครับ เช่น การก่อกวนที่รุนแรงและต่อเนื่อง หรือคนล้ำเส้นในหน้าที่วิกิพีเดียครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 15:59, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
@G(x): ส่วน กลไกของวิกิพีเดียในปัจจุบันมีความเพียงพอหรือไม่ที่จะทำให้คู่กรณีสามารถระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นได้โดยไม่ต้องอาศัยอนุญาโตตุลาการ อันนี้ผมขออนุญาตตอบนะครับว่าไม่เพียงพอครับ เนื่องจากถึงแม้วา่าการระงับข้อพิพาทจะสามารถใช้การได้แม้ไม่มี คอต แต่ผมคิดว่ามันก็ยังคงทำให้ไม่มีประสิทธิภาพครับ ผมเลยเห็นว่า ควรจะมีกลุ่มคนที่คอยระงับเหตุอย่างจริงจังครับ และผมคิดว่ามีหลายผู้ใช้วิกืพีเดียครับที่มีความเหมาะสมพอที่จะเป็น คอต ได้ครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 15:59, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นของ Wedjet แก้

  1. วิกิพีเดียภาษาไทยปัจจุบันมีขนาดชุมชนเล็กมาก คิดว่ากระบวนการที่ไม่เป็นทางการจะมีใช้แพร่หลายมากกว่ากระบวนการอย่างเป็นทางการ ตัวอย่างที่พบปัจจุบัน เช่น การเข้าหาแอดมินทางหน้าผู้ใช้แทนหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ หรือการแจ้งผู้ใช้รายบุคคลทางหน้าคุยส่วนตัวเพื่อขอให้เข้าร่วมอภิปราย
  2. กระบวนการระงับข้อพิพาทของวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีขั้นตอนมากเท่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คือ ยังไม่มี Third opinion, Mediation อย่างเป็นทางการเลย คิดว่าถ้าจะให้มี คอต. เลยจะเป็นการลัดขั้นตอน
  3. กระบวนการดังกล่าวต้องมีคนประจำ คือ ตุลาการ 5 คน กับนายทะเบียน 2 คน (ตามรูปแบบที่ใช้กันเดิม) ถ้าไม่มีคนมาประจำก็ล่มครับ
  4. ผมมีความข้องใจเรื่องความเข้าใจนโยบายของผู้เป็นตุลาการในรอบที่แล้ว ที่ผู้ใช้ที่พิพาทกับผมลัดขั้นตอนไปฟ้อง คอต. เลย โดยที่ตุลาการก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร ถ้าเกิดมีการรื้อฟื้นจริง ๆ อยากให้ปัญหาตรงนี้หมดไปครับ

ทั้งนี้ ถ้าปัญหาข้างต้นหมดไป ผมไม่มีปัญหาที่จะลงมติเห็นชอบให้รื้อฟื้น คอต. ครับ --Wedjet (คุย) 16:51, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณครับที่แสดงความคิดเห็น--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 16:57, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นของ Sir P.S. (Thainexon) แก้

ผมขอลองเสนอความคิดบ้า ๆ ของผมนะครับ ซึ่งมีทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

  1. อาจจะต้องนำระบบในชีวิตประจำวันมาปรับใช้อย่าง จัดตั้งศูนย์ร้องเรียน โดยเมื่อผู้ใช้หรือผู้ชมพบความผิดปกติใด ๆ ให้ผู้นั้นร้องเรียนผ่านกล่องร้องเรียน ถ้าเป็นไปได้ให้มีกล่องร้องเรียนที่หน้าแรก แล้วให้คอต. แต่งตั้งผู้ใช้ตรวจตรา เพื่อสืบสวนสอบสวนการกระทำและเจตนาของผู้ใช้นั้น ๆ แล้วยื่นโทษให้คอต. วินิจฉัยและตัดสิน
  2. ควรมีกฎของวิกิพีเดียฉบับประชาชน แสดงถึงกฎ ระเบียบ และโทษต่าง ๆ ในภาษาที่ทุกคนเข้าใจทุกครั้งในการจะแก้ไขบทความ

ทั้งนี้ ก็ยังเป็นเพียงความคิดเห็นที่คิดว่าน่าจะมีอะไรที่เป็นระบบมากกว่านี้สำหรับชุนชนวิกิพีเดียไทยเล็ก ๆ นี้ --Sir P.S. (Thainexon) (คุย) 19:34, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 20:03, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นของ Miwako Sato แก้

อย่างแรกสุดที่ควรพูดกันเลย คือ อนุญาโตฯ ไม่มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับไอพีหรือการก่อกวนโดยทั่วไป ตามen:Wikipedia:Arbitration#Scope_of_arbitration อนุญาโตฯ ไม่มีอำนาจเกี่ยวกับตัวเนื้อหาของบทความ (เช่น บทความควรเป็นอย่างไร ตรงนี้ควรมีไหม ตรงนั้นเหมาะสมไหม ฯลฯ) ขอบเขตของอนุญาโตฯ คือ เรื่องความประพฤติของผู้ใช้ ซึ่งไม่จำต้องเป็นการก่อกวน (ที่สำคัญ คำว่า ผู้ใช้ หมายความว่า ผู้ใช้ที่ลงทะเบียน ไม่ใช่ไอพี เพราะโดยสภาพ ไอพีจะเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีความต่อเนื่องที่ทำให้สามารถเรียกตัวมาพิจารณาหรือบังคับคำตัดสินอะไรต่าง ๆ ได้จริง ๆ จัง ๆ) นอกจากนี้ ต้องเป็นเรื่องร้ายแรงด้วย คือ หมดหนทางอื่นจะแก้ไขแล้ว หน้านโยบายระบุชัดเจนว่า อนุญาโตฯ เป็นวิถีทางสุดท้ายที่จะนำมาใช้ เพราะฉะนั้น คิดว่า คุณมาผิดทางแล้ว

อีกอย่างหนึ่ง ปัญหาประเภทที่คุณว่ามานั้น เป็นเรื่องที่ต้องจัดการอย่างทันท่วงที ถ้ามาอาศัยอนุญาโตฯ คงไม่ทันกิน บางทีเรื่องสงบไปแล้ว กระบวนการอนุญาโตฯ อาจยังไม่ถึงครึ่งทาง คุณน่าจะลองศึกษาว่า อนุญาโตฯ เขาทำอะไร อย่างไร เมื่อไร ฯลฯ

พูดถึงเรื่องศึกษาแล้ว เอาจริงก็คิดว่า ชาววิกิฯ ไทยทั่วไป (รวมถึงนี่ด้วย) และแม้แต่คนที่เคยเป็นอนุญาโตฯ เอง ก็ยังขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอนุญาโตฯ (ดังเช่นเรื่อง Horus ที่ยกมาพูดกันข้างต้นว่า เป็นประเด็นทางเนื้อหาบทความ และลัดขั้นตอน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็ควรไม่รับไว้พิจารณาด้วยซ้ำ แต่ก็รับมาแล้ว) จึงควรที่ศึกษา ประชาสัมพันธ์ อะไรต่าง ๆ กันมากกว่านี้ ก่อนจะเปิดใช้งาน

ถ้าไปดูบันทึกคดีในหน้าอังกฤษเนี่ย เขามีปัญหาทุกเดือนมาเป็น 15 ปีแล้ว เขาถึงมีอนุญาโตฯ ของเรานี่ก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่า มันถึงขั้นนั้นหรือยัง แต่เห็นว่า ยังมีกลไกลอื่นที่ดีและไวกว่าอนุญาโตฯ อยู่ เช่น แอดมินที่ทำหน้าที่กันเป็นปกติอยู่แล้ว

--Miwako Sato (คุย) 23:01, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็นครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 08:47, 12 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
 ความเห็น ที่เขาริเริ่มส่วนหนึ่งน่าจะเพื่อเอาผิดกับแอดมินด้วย ดังนั้น การที่มีคนฟ้องตุลาการให้เอาผิดผมก็ถือว่าเขาคิดถูกแล้ว --Wedjet (คุย) 12:30, 12 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
 ความเห็น เออคุณ Wedjet ครับ ที่ผมให้มีการรื้อฟื้น คอต. เพื่อเป็นอีกการแก้ไขปัญหาวิกิพีเดียภาษาไทยครับ ไม่ได้เอาผิดคุณนะครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 13:54, 12 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
@บุญพฤทธิ์ ทวนทัย: ที่คุณ Wedjet ยกขึ้นมาหมายความว่า ในขณะนั้นมีการเสนอนโยบายเพื่อถอดถอนผู้ดูแลที่ว่างเว้น (วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบที่ว่างเว้นจากวิกิพีเดีย) กับผู้ดูแลที่ประพฤติมิชอบ (วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์) โดยอาศัยอำนาจของอนุญาโตตุลาการครับ และคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทกับคุณ Horus/Wedjet ตามที่ผมเคยกล่าวถึงข้างต้นก็เป็นกรณีที่ผู้ใช้ยกขึ้นมาเพื่อจะเอาผิดคุณ Horus อยู่แล้ว ไม่ใช่ประเด็นว่าปัจจุบันจะต้องมีการเอาผิดคุณ Wedjet ในตอนนี้อีกแต่ประการใดครับ --G(x) (คุย) 16:39, 12 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
@G(x): อ๋อครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 16:40, 12 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นของ Geonuch แก้

  1. แยกประเด็นเรื่องการก่อกวนกับการจัดการพฤติกรรมผู้ใช้ออกกันก่อน โดยส่วนใหญ่การจัดการการก่อกวนที่เกิดขึ้นรวมถึงกรณีของสิริวิมลและ Peeravich23 จบลงที่หน้า AN หรือขึ้นบัญชีเป็น LTA เพื่อรับมือกรณีที่เกิดขึ้น อีกทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้เราพึ่งกลับมามี CU ใหม่อีกครั้งซึ่งก็พอจัดการหุ่นเชิดได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการจัดการพฤติกรรมผู้ใช้บนวิกิพีเดียภาษาไทยในขณะนี้มีน้อยมากที่ต้องอาศัยการพิจารณาจากประชาคมก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการของ คอต. ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายเมื่อพิจารณาจากอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต. ตามนโยบาย ดังนั้นผมเห็นว่ากรณีส่วนใหญ่สามารถจัดการได้ก่อนที่จะขึ้นไปถึง คอต. ถ้าจะแก้ไขเรื่องนี้ควรหาวิธีดึงดูดผู้ใช้มาช่วยในการช่วยตรวจตราการก่อกวนหรือรับหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้จะดีกว่า
  2. ผมไม่ได้อยู่ทันช่วงที่วิกิพีเดียภาษาไทยเคยมี คอต. แต่เท่าที่ตามอ่านในหน้าต่าง ๆ เห็นว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้พลังงานเยอะ ปัญหาสำคัญคือเรื่องคนครับ กำลังของผู้ใช้ที่มีอยู่ในวิกิพีเดียภาษาไทยที่พอนับคนได้ คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก็ไม่ได้สนใจหรือสะดวกที่จะมาเป็นด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจผู้ใช้ด้วยว่าการมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียเป็นงานอาสาสมัครซึ่งสละเวลาส่วนตัวมาช่วยพัฒนา บางคนอาจไม่มีเวลาว่างในบางครั้ง มีงานประจำที่ต้องทำ มีครอบครัวต้องดูแลหรือแม้แต่กลัวว่าตัวเองจะไม่เข้าใจกระบวนการของ คอต. ก็มีเหมือนกัน อยากให้คุณ Sir.B.T. คำนึงในส่วนนี้ด้วยครับ
  3. วิกิพีเดียภาษาไทยไม่ได้เป็นโครงการเดียวที่มีปัญหาเรื่องการเว้นว่างหรือขาดคนมาทำหน้าที่ คอต. จากข้อมูลที่เมทาวิกิมี 12 โครงการจาก 23 โครงการที่ คอต. เว้นว่างหรือยุติหน้าที่ไปแล้ว ในส่วนนี้อาจเป็นไปได้ว่า คอต. ก็ไม่ได้ "เวิร์ค" ทุกโครงการ
  4. โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่ากระบวนการ คอต. ไม่ได้แก้ปัญหาในการก่อกวนและสร้างความเหนื่อยต่อการดำเนินการสำหรับชุมชนที่ผู้ใช้ยังมีส่วนร่วมน้อยอยู่ เว้นแต่ถ้าชุมชนเห็นว่า คอต. จำเป็นและหาคนมาเป็นได้ก็ไม่เป็นไรครับ

--Geonuch (คุย) 22:10, 18 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ขขอขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 08:52, 19 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ความเห็นเพิ่มเติมของผู้ใช้อื่นๆ แก้

หากท่านต้องการถามหรือแสดงความคิดเห็นอย่างไร โปรดแสดงความเห็นเพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ครับ โดยคัดลอกโค้ดต่อไปนี้ครับ

==ความเห็นของ (ชื่อผู้ใช้)==
{{ความเห็น}} (ความคิดเห็นของคุณ) --~~~~

ลงคะแนน แก้

เห็นด้วยหรือไม่ครับที่จะจัดการเลือกตั้ง คอต. ขึ้นมาอีกครั้ง โปรดลงคะแนนตามด้านล่างนี้ครับ

เห็นด้วย แก้

ให้ใส่ {{เห็นด้วย}} และเหตุผลข้างล่างนี้ครับ

  1. เห็นด้วย ในฐานะผู้เริ่มการอภิปราย--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 16:20, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
  2. เห็นด้วย --Panus234 (คุย) 00:50, 8 พฤศจิกายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

เป็นกลาง แก้

ให้ใส่ {{เป็นกลาง}} และเหตุผลข้างล่างนี้ครับ

  1. เป็นกลาง

คัดค้าน แก้

ให้ใส่ {{คัดค้าน}} และเหตุผลข้างล่างนี้ครับ

  1. ไม่เห็นด้วย

การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่