วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/เมษายน 2556

ศัพท์กฎหมายไทย "จำหน่าย" และ "ฐานความผิด"

ไม่ใช่การบ้าน ผมเพียงแค่สงสัยดังนี้

  1. ใน ปพพ. ของไทยในเรื่องทรัพย์สิน/กรรสิทธิ์ ตีความคำว่าจำหน่ายไว้กว้างมาก เช่น ถ้ามีปศุสัตว์เป็นกรรมสิทธิ์ของต้น จะฆ่าแกงกินเสียก็เรียกว่า "จำหน่าย" ในขณะที่ ปอ. (หรือกฎหมายอาญาอื่น) ก็ใช้คำว่า "จำหน่าย" เช่นกัน โดยเฉพาะกรณี "มีไว้เพื่อจำหน่าย" (อะไรก็ตามซึ่งไม่ดี) ทำให้ต้องรับโทษหนักกว่ามีไว้ในครอบครอง (และใช้เอง) จึงสงสัยว่าความหมายของคำว่าจำหน่วยในทางแพ่งและทางอาญาของไทยขัดกันหรือไม่อย่างไร และเทียบเคียงคำใดในภาษาอังกฤษและในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
  2. ใน ปอ. และกฎหมายก่อน ปอ. (เช่น ลักษณะอาญา ฯลฯ) มีการใช้คำว่า "กระทำผิดฐาน..." ไว้ชัดเจนเป็นเรื่อง ๆ ไป แต่ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ทุกมาตรา ทุกการกระทำ บางการกระทำก็เขียนเพียงว่า ทำเช่นนั้นเช่นนี้ต้องระวางโทษเลย หาได้บอกว่าผิดฐานใดไม่ คนที่รู้จักกฎหมายก่อน ปอ. อาจจะยกเอาชื่อฐานความผิดที่เคยมีอยู่ในกฎหมายเก่ามาอนุโลมใช้เรียกชื่อความผิดในกฎหมายใหม่ได้ แต่ในหลายกรณีผมเข้าใจว่าไม่เคยมีการเขียนฐานความผิดบางอย่างไว้ในกฎหมายเลย แต่คนทั่วไปเอามาเรียกใช้กันเอง (หรือศาลฎีกาก็เอามาใช้ด้วย?) เช่น "ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน" ใน ปอ. ไม่ได้ใช้คำอย่างนี้เลย ไม่มีแม้แต่ "ฐานฆ่าผู้อื่น" แต่อันนี้ดูพอเป็นไปได้ในแง่ที่ว่าเอาคำกิริยาที่มีอยู่ในบทลงโทษ มาเติมฐานเข้าไปเข้างหน้า กลายเป็นคำนามใหม่? ม. 112 ก็คล้าย ๆ กัน แต่ใช้คำใหม่เป็น "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่งอาจยืมมาจากกฎหมายก่อน ปอ. สงสัยว่าการเรียกชื่อฐานใหม่ ๆ ขึ้นมาโดยไม่มีบทบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสมควรหรือไม่ เพราะเหตุใด หากสมควรจะมีวิธีการเรียกอย่างไรให้เป็นมาตรฐาน

--taweethaも (พูดคุย) 09:07, 11 เมษายน 2556 (ICT)

"จำหน่าย" ในความหมายของชาวบ้าน หมายถึงขายอย่างเดียว โปรดดูบริบทแวดล้อมด้วย --171.97.160.146 14:37, 11 เมษายน 2556 (ICT)

ทั้งโลกมีกี่ภาษา

ทั้งโลกมีกี่ภาษา

--180.183.134.140 20:02, 29 เมษายน 2556 (ICT)

ตอบตามหน้าภาษาใกล้สูญพันธุ์ : จำนวนภาษาทั้งหมดในโลกไม่เป็นที่ทราบ มีการประเมินกันหลากหลายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย Michael E. Krauss ประเมินว่ามีภาษาใช้กันอยู่ในปัจจุบันราว 6,000 ภาษา จนถึง พ.ศ. 2550 ยูเนสโกใช้ตัวเลขนี้ --L0V3Kr1TT4Y4 13:40, 28 ตุลาคม 2556 (ICT)