วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/ผู้สมัคร/Pongsak ksm/คำถาม

แนะนำให้ผู้สมัครตอบคำถามทุกข้ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์แต่ก็สั้นกระชับไปในขณะเดียวกัน ผู้สมัครอาจปฏิเสธจะตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่ตนไม่ปรารถนา อย่างไรก็ดี การปฏิเสธไม่ตอบคำถามใด ๆ นั้นอาจมีผลต่อการพิจารณาการรับเลือกคณะอนุญาโตตุลาการได้ ทั้งนี้การเปิดเผยประวัติบัญชีของคุณ (ถ้ามี) ตามนโยบายการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ต้องระบุไว้ในคำแถลงสมัคร และไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่ระบุบัญชีผู้ใช้อื่นที่มีหรือไม่เคยมีได้

ทั่วไป แก้

  1. คำถามเกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ (Skills and Experience)
    1. คุณคิดว่าจะนำทักษะและ/หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกวิกิพีเดียใดบ้างมาใช้ในการดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ
      ตอบ ประสบการณ์ในการเข้าร่วมวงการวิกิพีเดียไทย เป็นเวลากว่า 5 ปี ทั้งในฐานะผู้อ่าน ผู้เขียน และผู้ดูแลระบบ ประกอบกับทัศนคติที่มุ่งเน้นความเป็นกลางภายใต้ขอบเขตของคำว่า "วิชาการ" มากกว่า "ความคิดเห็น" จะทำให้การทำหน้าที่สามารถดำเนินไปได้อย่างดีที่สุด
    2. คุณเคยประสบกับกรณีการระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียหรือไม่ หากเคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทดังกล่าว กรุณาลิงก์ไปหาข้อพิพาทดังกล่าว หรือหากไม่ได้เข้าร่วมในกรณีข้อพิพาทนั้น กรุณาให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นและวิธีระงับข้อพิพาทที่คุณจะใช้
  2. คำถามเกี่ยวกับข้อตัดสิน (Strict vs. lenient)
    1. ในกรณีการพิจารณาข้อพิพาท คุณมีความเห็นอย่างไรในการวินิจฉัยคำตัดสิน ระหว่างการตัดสินโดยยึดหลักเจตนาดี โดยการจำกัดมาตรการสถานเบาเพื่อให้ผู้ใช้กลับตัวกลับใจ กับการลงโทษสถานหนักโดยการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลหรือถอดจากสถานะที่เคยมี เช่น ผู้ดูแลระบบ โปรดให้เหตุผลประกอบความเห็นของคุณด้วย
      ตอบ ในการพิจารณาวินิจฉัยการกระทำใดๆ ควรให้ความสำคัญกับเจตนาเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ใช้ใหม่ ควรจะได้รับการดูแลมากกว่าการตักเตือน ควรจะให้คำแนะนำมากกว่าการเตือนว่าคุณกำลังทำความผิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ใช้ --Pongsak ksm 23:14, 5 ธันวาคม 2554 (ICT)
  3. ในกรณีพิจารณาข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธที่จะตอบคำถามหรือแสดงหลักฐานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีฝ่ายตน คุณจะตัดสินข้อพิพาทนี้โดยยืดหลักประการใด ระหว่างการตัดสินให้เป็นผลดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหา กับการตัดสินโดยใช้หลักว่าหากคู่พิพาทปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน อนุญาโตตุลาการไม่มีสิทธิ์จะยกกรณีที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นมานั้นขึ้นมาพิจารณา
    1. ตอบ ในกรณีที่คู่กรณีปฏิเสธที่จะยกเหตุใดๆ ขึ้นต่อสู้ อนุญาโตตุลาการ ไม่พึงนำเหตุนั้นมาเป็นเหตุผลในการพิจารณา --Pongsak ksm 23:14, 5 ธันวาคม 2554 (ICT)
  4. หากมีการพิจารณาข้อพิพาท และมีคำตัดสินว่าบทความใดบทความหนึ่งอยู่ระหว่างการคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ (Article probation) ผู้ใช้ที่เพิ่มเนิ้อหาหรือนำเนื้อหาออกโดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมจะถูกพิจารณาโทษแล้วแต่กรณี คุณคิดว่ามาตรการนี้จะขัดต่อความเป็นเสรีของวิกิพีเดียหรือไม่ ประการใด โปรดให้เหตุผล
    ตอบ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าไม่ขัดต่อความเป็นเสรีภาพ ด้วยเหตุผลที่ว่าบทความนั้นหากอยู่ภายใต้การคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ ย่อมจะได้รับความคุ้มครองมิให้เกิดการกระทำใดๆ อันเป็นการขัด แย้ง ต่อกฏระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต --Pongsak ksm 23:14, 5 ธันวาคม 2554 (ICT)
  5. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดียภาษาไทย (ซึ่งรับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ยกตัวอย่าง (ต้องการให้ระบุเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนที่ว่าด้วยขั้นตอน ส่วนที่ว่าด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ) หากคุณเห็นด้วย คุณมีวิธีดำเนินการตามนโยบายนั้นอย่างไร หากคุณไม่เห็นด้วย คุณคิดว่านโยบายนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด
  6. คุณคิดว่าข้อพิพาทประเภทใดที่คุณจะรับหรือไม่รับไปพิจารณา เพราะเหตุใด
    ตอบ หากได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ข้าพเจ้าคงมิอาจปฏิเสธจะไม่รับพิจารณาข้อพิพาทใดๆ ได้ --Pongsak ksm 23:14, 5 ธันวาคม 2554 (ICT)
  7. คุณคิดว่าจะดำเนินบทบาทอย่างไร เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีบทบาทแทนการตัดสินแบบเก่าโดยผู้ดูแลระบบ (มูลเหตุของคำถาม เพราะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ยุติลงโดยผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก)
    ตอบ อนุญาโตตุลาการ ควรจะให้ความสำคัญกับการตัดสินใดๆ ของผู้ดูแลระบบ ควรมีการปรึกษาหารือให้มากขึ้น และควรเน้นการแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานร่วมกัน --Pongsak ksm 23:14, 5 ธันวาคม 2554 (ICT)