วิกฤตการณ์ชาวพุทธ
วิกฤตการณ์ชาวพุทธ (เวียดนาม: Biến cố Phật giáo; Buddhist crisis) เป็นช่วงเวลาของความตึงเครียดทางการเมืองและศาสนาในประเทศเวียดนามใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1963 ที่ประกอบด้วยการก่อการกดขี่โดยรัฐบาลเวียดนามใต้และการรวมตัวต่อต้านจากพุทธศาสนิกชนและพระสงฆ์ในเวียดนามใต้ที่นำโดยพระสงฆ์เป็นส่วนใหญ่[1]
วิกฤตการณ์ชาวพุทธ | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม | |||
ทิก กว๋าง ดึ๊ก จุดไฟเผาตัวมรณภาพ (บน) แท่นบูชาแสดงภาพเหยื่อจากวิกฤตการณ์ชาวพุทธในวัดแห่งหนึ่งในเมืองเว้ (ล่าง) | |||
วันที่ | 8 พฤษภาคม – 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 (5 เดือน 3 สัปดาห์ 4 วัน) | ||
สถานที่ | เวียดนามใต้ | ||
ผล |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
ผู้นำ | |||
ความสูญเสีย | |||
|
วิกฤตการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้นหลังการกราดยิงพลเมืองไร้อาวุธ 8-9 รายที่กำลังประท้วงคำสั่งห้ามแขวนธงฉัพพรรณรังสีในเมืองเว้ระหว่างวันวิสาขบูชา วิกฤตการณ์สิ้นสุดลงจากการรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1963 โดยกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม (ARVN) และการจับกุมและลอบสังหารโง ดิ่ญ เสี่ยม ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญในระหว่างวิกฤตการณ์เริ่มต้นที่เหตุกราดยิงวันวิสาขบูชาในเว้, การโจมตีเมืองเว้ด้วยอาวุธเคมี, เหตุตะลุมบอนดับเบิลเซเวนเดย์, การจุดไฟเผาตนเองจนมรณภาพของภิกษุ ทิก กว๋าง ดึ๊ก ในกลางกรุงไซ่ง่อน, การบุกโจมตีวัดซ้าเหลิ่ยในไซ่ง่อน และสิ้นสุดที่การรัฐประหารที่มีสหรัฐหนุนหลัง
ภูมิหลัง
แก้เวียดนามใต้เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป๋นพุทธศาสนิกชน คิดเป็น 70-90% ของประชากรในปี 1693[2][3][4][5][6] ประธานาธิบดี โง ดิ่ญ เสี่ยม มีนโยบายที่สนับสนุนชาวโรมันคาทอลิกและกีดกันชาวพุทธจำนวนมาก เสี่ยมในฐานะสมาชิกของชุมชนคาทอลิกซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางศาสนา นำพารัฐบาลที่มีความโน้มเอียงเอื้อประโยชน์ต่อชาวคาทอลิกทั้งในการเลื่อนขั้นในหน่วยงานบริการสาธารณะและกองทัพ ไปจนถึงการจัดสรรที่ดิน การเอื้อประโยขน์ทางธุรกิจและภาษี[7] เสี่ยมเคยกล่าวกับผู้นำการทหารคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวพุทธโดยไม่รู้ตัวว่า "ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชาวคาทอลิกในตำแหน่งที่มีความสุ่มเสี่ยงสูง พวกเขาล้วนเป็นที่วางใจได้"[8] เจ้าหน้าที่ในกองทัพ ARVN จำนวนมากเปลี่ยนศาสนาเป็นคาทอลิกเพราะเชื่อว่ามีความสำคัญต่อสายทางอาชีพของตน หลายคนถูกปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งจนกว่าจะเปลี่ยนศาสนา[8] นอกจากนี้ กองกำลังตามหมู่บ้านยังได้รับการจัดสรรอาวุธเพื่อรับมือกับกองกำลังของเวียดกง เฉพาะแต่หมู่บ้านที่เป็นคาทอลิก[9] นักบวชคาทอลิกบางคนมีกองทัพส่วนตัว[10] ในขณะที่การบังคับเปลี่ยนศาสนาและการโจมตีวัดพุทธมีเกิดขึ้นบ้างในบางพื้นที่[11] บางหมู่บ้านยังต้องเปลี่ยนศาสนากันทั้งหมู่บ้านเพื่อไม่ให้ตนถูกเสี่ยมบังคับย้ายที่อยู่และเพื่อรับความช่วยเหลือต่าง ๆ[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ Adam Roberts, 'Buddhism and Politics in South Vietnam', The World Today, Royal Institute of International Affairs, London, vol. 21, no. 6, June 1965, pp. 240–50 analyses the causes of the Buddhist crisis and its significance as a case of non-violent struggle.
- ↑ Moyar, pp. 215–216.
- ↑ "The Religious Crisis". Time. June 20, 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2012. สืบค้นเมื่อ August 21, 2007.
- ↑ Tucker, pp. 49, 291, 293.
- ↑ Maclear, p. 63.
- ↑ "The Situation in South Vietnam – SNIE 53–2–63". The Pentagon Papers (Gravel ed.). July 10, 1963. pp. 729–733. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2017. สืบค้นเมื่อ August 21, 2007.
- ↑ Tucker, p. 291.
- ↑ 8.0 8.1 Gettleman, pp. 280–282.
- ↑ "South Vietnam: Whose funeral pyre?". The New Republic. June 29, 1963. p. 9.
- ↑ Warner, p. 210.
- ↑ Fall, p. 199.
- ↑ Buttinger, p. 993.
บรรณานุกรม
แก้- Buttinger, Joseph (1967). Vietnam: A Dragon Embattled. New York: Praeger.
- Dommen, Arthur J. (2001). The Indochinese Experience of the French and the Americans: Nationalism and Communism in Cambodia, Laos, and Vietnam. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 0-253-33854-9.
- Fall, Bernard B. (1963). The Two Viet-Nams. London: Praeger.
- Gettleman, Marvin E. (1966). Vietnam: History, documents and opinions on a major world crisis. Harmondsworth, Middlesex: Penguin Books.
- Halberstam, David; Singal, Daniel J. (2008). The Making of a Quagmire: America and Vietnam during the Kennedy Era. Lanham MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-6007-9.
- Hammer, Ellen J. (1987). A Death in November: America in Vietnam, 1963. New York: E. P. Dutton. ISBN 0-525-24210-4.
- Jacobs, Seth (2006). Cold War Mandarin: Ngo Dinh Diem and the Origins of America's War in Vietnam, 1950–1963. Lanham MD: Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-4447-8.
- Jones, Howard (2003). Death of a Generation: how the assassinations of Diem and JFK prolonged the Vietnam War. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-505286-2.
- Karnow, Stanley (1997). Vietnam: A history. New York: Penguin Books. ISBN 0-670-84218-4.
- Langguth, A. J. (2000). Our Vietnam: the war, 1954–1975. New York: Simon and Schuster. ISBN 0-684-81202-9.
- Maclear, Michael (1981). Vietnam:The Ten Thousand Day War. New York: Methuen Publishing. ISBN 0-423-00580-4.
- Miller, Edward (2013). Misalliance: Ngo Dinh Diem, the United States, and the Fate of South Vietnam. Boston: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-07298-5.
- Moyar, Mark (2006). Triumph Forsaken: The Vietnam War, 1954–1965. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-86911-0.
- Prochnau, William (1995). Once Upon a Distant War. New York: Times Books. ISBN 0-8129-2633-1.
- Sheehan, Neil (1988). A Bright Shining Lie: John Paul Vann and America in Vietnam. New York: Random House. ISBN 0-679-72414-1.
- Tucker, Spencer C. (2000). Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social and Military History. Santa Barbara CA: ABC-CLIO. ISBN 1-57607-040-9.
- Warner, Denis (1963). The Last Confucian. New York: Macmillan.
- Miller, Edward (2014). "Religious Revival and the Politics of Nation Building: Reinterpreting the 1963 'Buddhist crisis' in South Vietnam". Modern Asian Studies. 49 (6): 1903–1962. doi:10.1017/S0026749X12000935. S2CID 145166982.
- Nguyen, Phi-Vân (2018). "A Secular State for a Religious Nation: The Republic of Vietnam and Religious Nationalism, 1946–1963". The Journal of Asian Studies. 77 (3): 741–771. doi:10.1017/S0021911818000505. hdl:1993/34017. S2CID 165729774.
- Ngo, Hoang (2023). "From Death to Birth: Biography, Religious Context, and Remembering of Thích Quảng Đức and his Self-Immolation". Kyoto Review of Southeast Asia (35).