วาเนสซ่า เมย์ ตัน วรรณกร[1] หรือ วาเนสซ่า-เม วรรณกร นิโคลสัน (อังกฤษ: Vanessa-Mae Vanakorn Nicholson,[3] จีน: 陈美; พินอิน: Chén Měi; เกิด 27 ตุลาคม พ.ศ. 2521) เป็นที่รู้จักในชื่อ วาเนสซ่า-เม (อังกฤษ: Vanessa-Mae) เป็นนักไวโอลินลูกครึ่งไทย-สิงคโปร์

วาเนสซ่า-เม
วาเนสซ่า-เม ใน พ.ศ. 2557
เกิดวาเนสซ่า เมย์ ตัน วรรณกร[1]
27 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
ประเทศสิงคโปร์
สัญชาติสหราชอาณาจักร[2]
ชื่ออื่นวาเนสซ่า วรรณกร
อาชีพ
  • นักไวโอลิน
  • นักดนตรี
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2533–ปัจจุบัน
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีไวโอลิน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์www.vanessamaeofficial.com

ข้อมูลส่วนตัว แก้

วาเนสซ่าเกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ในประเทศสิงคโปร์ คุณพ่อเป็นคนไทยชื่อ วรพงษ์ วรรณกร ทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมเดอะพลาซ่าที่สิงคโปร์ ส่วนคุณแม่ชื่อ พาเมลา ตัน (Pamela Tan) เป็นคนจีนสิงคโปร์ มีอาชีพเป็นทนาย แต่เมื่อเมย์อายุได้ 4 ปี แม่ก็ได้แต่งงานใหม่กับทนายความชาวอังกฤษชื่อ "เกรแฮม นิโคลสัน" เธอจึงย้ายตามไปอยู่ที่ ลอนดอน

ประวัติ แก้

วาเนสซ่าเริ่มเล่นเปียโน ตั้งแต่อายุ 3 ปี และเริ่มหันมาเล่นไวโอลิน เมื่ออายุได้ 5 ปี และเมื่ออายุ 8 ปี ก็ได้เข้าเรียนไวโอลินที่ Central Conservatoire of China ที่กรุงปักกิ่ง ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี ก็ไปเข้าเรียนที่ราชวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (Royal College of Music) ในกรุงลอนดอน หลังจบการศึกษา วาเนสซาได้ทำงานเพลงและออกผลงานแรก "The Violin Player" เมื่อปี พ.ศ. 2538 เธอได้เป็นพรีเซ็นเตอร์รถยนต์มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในประเทศไทย และได้เดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตโดยการสนับสนุนของบริษัทรถยนต์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากผลงานเพลง วาเนสซายังสนใจในการเล่นสกี โดยเริ่มเล่นสกีตั้งแต่อายุ 4 ปี เธอได้พยายามขอเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันกีฬาสกีลงเขาในโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 แต่ติดปัญหาเรื่องการสละสัญชาติอังกฤษมาใช้สัญชาติไทย เธอได้ซื้อบ้านพักใกล้รีสอร์ทสกีในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อฝึกซ้อม กระทั่งในปี พ.ศ. 2557 วาเนสซาก็ได้รับสิทธิ์ลงแข่งขันอัลไพน์สกีในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ที่ประเทศรัสเซีย ในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทย โดยใช้ชื่อในการแข่งขันว่า "วาเนสซา วรรณกร"[4]

ผลงาน แก้

อัลบั้ม แก้

อัลบั้มพิเศษ แก้

  • The Violin Player: Japanese Release (1995)
  • The Classical Album 1: Silver Limited Edition (January 1, 1997)
  • Storm: Asian Special Edition (January 1, 1997)
  • The Original Four Seasons and the Devil's Trill Sonata: Asian Special Edition (February 1, 1999)
  • Subject to Change: Asian Special Edition (July 1, 2001)
  • The Ultimate: Dutch Limited Edition (January, 2004)

ผลงานเดี่ยว แก้

  • "Toccata & Fugue" (1995)
  • "Toccata & Fugue - The Mixes" (1995)
  • "Red Hot" (1995)
  • "Classical Gas" (1995)
  • "I'm a-Doun for Lack O' Johnnie" (1996)
  • "Bach Street Prelude" (1996)
  • "Happy Valley" (1997)
  • "I Feel Love Part 1" (1997)
  • "I Feel Love Part 2" (1997)
  • "The Devil's Trill & Reflection" (1998)
  • "Destiny" (2001)
  • "White Bird" (2001)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560 สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 (PDF). สมาคมกีฬาสกีและสโนว์บอร์ดแห่งประเทศไทย. 2560. p. 5.
  2. "Vanessa-Mae: Skiing violinist banned for four years". BBC Sport. 11 November 2014. สืบค้นเมื่อ 11 November 2014.
  3. Sarah Knapton (20 January 2014). "Winter Olympics 2014: violinist Vanessa-Mae to ski for Thailand at the Sochi Games". The Telegraph (UK).
  4. "ยืนยัน'วาเนสซา เมย์'แข่งอลป.ให้ไทย - เดลินิวส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้