วันโอเคร็อก
วันโอเคร็อก (ญี่ปุ่น: ワン オク ロック; โรมาจิ: Wan Oku Rokku; อังกฤษ: ONE OK ROCK) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสมาชิกสี่คน ได้แก่ ทากาฮิโระ โมริตะ (นักร้อง), โทรุ ยามาชิตะ (กีตาร์/หัวหน้าวง), เรียวตะ โคฮามะ (เบส), และโทโมยะ คังกิ (กลอง)
วันโอเคร็อก | |
---|---|
วันโอเคร็อกขณะแสดงที่ลอนดอน พ.ศ. 2557 จากซ้ายไปขวา: เรียวตะ, ทากะ, โทโมยะ, โทรุ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
รู้จักในชื่อ |
|
ที่เกิด | โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1] |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
สมาชิก |
|
อดีตสมาชิก |
|
เว็บไซต์ | oneokrock |
ชื่อของวง ONE OK ROCK มาจากคำว่า "วันโอคล็อก" (one o'clock: หนึ่งนาฬิกา) ซึ่งเป็นเวลาที่พวกเขาซ้อมดนตรีในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่พวกเขาเลือกที่จะเล่นเวลาตีหนึ่งก็เพราะว่าในเวลานั้นค่าห้องซ้อมถูกกว่า อย่างไรก็ตาม เสียง R และ L ในภาษาญี่ปุ่น ไม่ได้มีความแตกต่างเท่าไรนัก พวกเขาจึงเปลี่ยน "โอคล็อก" เป็น "โอคร็อก" และแยกคำจนกลายเป็น "โอเคร็อก"[3] นอกจากนี้ ชื่อของวันโอเคร็อกยังแสดงได้เป็น "10969" (wan-o-ku-ro-ku) ซึ่งพ้องกับตัวเลขญี่ปุ่น
วงนั้นได้ทำเพลงปิดของเกม โซนิคฟรอนเทียร์ส ชื่อ "Vandalize" ซึ่งอยู่ในอัลบั้มล่าสุด ลัคชัวลี่ดีซีต (2022)[4]
สมาชิก
แก้- สมาชิกปัจจุบัน
- โทรุ ยามาชิตะ (โทรุ; ญี่ปุ่น: 山下 亨; โรมาจิ: Yamashita Tōru; เกิด 7 ธันวาคม 2531 ที่โอซะกะ) – หัวหน้าวงและมือกีตาร์ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
- ทากาฮิโระ โมริอุจิ (ทากะ; ญี่ปุ่น: 森内 貴寛; โรมาจิ: Moriuchi Takahiro; เกิด 17 เมษายน 2531 ที่โตเกียว) – นักร้องนำ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
- เรียวตะ โคฮามะ (เรียวตะ; ญี่ปุ่น: 小浜 良太; โรมาจิ: Kohama Ryōta; เกิด 4 กันยายน 2532 ที่โอซะกะ) – มือเบส (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
- โทโมยะ คังกิ (โทโมยะ; ญี่ปุ่น: 神吉 智也; โรมาจิ: Kanki Tomoya; เกิด 27 มิถุนายน 2530 ที่เฮียวโงะ) – มือกลอง (พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน)
- อดีตสมาชิก
- โอนิซาวะ อเล็กซานเดอร์ เรมอน (อเล็กซ์; ญี่ปุ่น: 鬼澤アレクサンダー礼門; โรมาจิ: Onizawa Alexander Reimon; เกิด 19 มีนาคม 2531 ที่ซานฟรานซิสโก) – มือกีตาร์ (พ.ศ. 2548–พ.ศ. 2552; พ้นจากวงไปเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 เพราะถูกจับด้วยข้อหากระทำอนาจาร)
- ยู โคยานางิ (ยู; ญี่ปุ่น: 小柳友; โรมาจิ: Koyanagi Yū; เกิด 29 สิงหาคม 2531 ที่โตเกียว) – มือกลอง (พ.ศ. 2548–พ.ศ. 2549; พ้นจากวงไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ไปประกอบอาชีพด้านการแสดง)
ผลงาน
แก้- สตูดิโออัลบั้ม
- เซตะกุเบียว (2007)
- บีมออฟไลต์ (2008)
- คันโจเอฟเฟกต์ (2008)
- นิชซินโดรม (2010)
- ซังเคียวเรเฟอเรนซ์ (2011)
- จินเซคะเกะเตะโบะกุวะ (2013)
- ซาตีไฟบุ (2015)
- แอมบิชันส์ (2017)
- อายออฟเดอะสตอร์ม (2019)
- ลัคชัวลี่ดีซีต (2022)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ONE OK ROCKの基本情報". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-12-14.
- ↑ http://www.altpress.com/news/entry/one_ok_rock_sign_to_fueled_by_ramen_announce_english_language_album
- ↑ One OK Rock (21 June 2008). "Interview with One Ok Rock in Tokyo". JaME World. สัมภาษณ์โดย Non-Non. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14.
- ↑ "Sonic Frontiers ending theme song announced - 'Vandalize' by ONE OK ROCK". Gematsu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-09-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- One Ok Rock เก็บถาวร 2011-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Amuse Inc.
- myspace