วัดแก่งขนุน

วัดในจังหวัดสระบุรี

วัดแก่งขนุน ที่ได้ชื่อว่า “วัดแก่งขนุน” นั้นในอดีตเมื่อครั้งยังไม่มีการชลประทานเมื่อหน้าแล้งน้ำในลำแม่น้ำป่าสักจะแห้งขอดจนเห็นโขดหินซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ ลูกขนุนดังนั้น จึงตั้งชื่อว่า “วัดแก่งขนุน” ตามลักษณะของแก่งที่พบเห็นกัน

วัดแก่งขนุน
ไฟล์:โบสถ์วัดแก่งขนุน ปี 2560.jpeg
แผนที่
ชื่อสามัญวัดแก่งขนุน (wat kang kanun)
ที่ตั้ง44 ถนนเทศบาล 4 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18001
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
ความพิเศษสะอาด สงบ ร่มรื่น
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
พระพุทธรูป (หลวงพ่อเมตตราศักดิ์สิทธิ์)
พระพุทธเมตตรามหาสิทธิโชค(หลวงพ่อเมตตราศักดิ์สิทธิ์)
แผนที่
ชื่อสามัญพระพุทธเมตตรามหาสิทธิโชค
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
เจ้าอาวาสวัดแก่งขนุน
พระครูสุธีธรรมากร
แผนที่
ชื่อสามัญพระครูสุธีธรรมากร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
เสนาสนะ
ไฟล์:กุฏิกัมมัฎฐาน.jpg
แผนที่
ชื่อสามัญกุฏิกัมมัฎฐาน สวนป่าวัดแก่งขนุน
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

ประวัติเดิมของชาวบ้านแก่งขนุน ตามตำนานได้กล่าวว่า เมื่อครั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดให้จัดทัพเพื่อนำไปตีเมืองเชียงแสน ( เชียงราย ) คืนจากพม่า เมื่อสามารถตีเมืองเชียงแสนคืนจากพม่าแล้ว ก็โปรดเกล้าฯให้กวาดต้อนผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่อำเภอเสาให้เป็นจุดศูนย์กลาง และมีส่วนหนึ่งที่กระจายมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเมืองสระบุรี คือ บ้านแก่งขนุน ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าชาวบ้านแก่งขนุนนั้นจะภาษาคำเมือง ( ไทยวน ) เป็นภาษาที่ใช้มาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน

สถานที่ตั้ง แก้

อยู่เลขที่ 44 ถนนเทศบาล 4 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

  • ทิศเหนือ – ติดกับบ้านผึ้งรวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • ทิศตะวันออก – ติดกับแม่น้ำป่าสัก
  • ทิศตะวันตก – ติดกับถนนเทศบาล 4
  • มีเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่เศษ


ลำดับเจ้าอาวาส แก้

ลำดับเจ้าอาวาส
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 ตุ๊ปู่พัน อินพันธ์ พ.ศ. 2402 พ.ศ. 2412
2 ตุ๊หลวงอีน มาจากดาวเรือง พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2415
3 ตุ๊หลวงอิน หรืออาจารย์อิน ไชยเชษฐ์ พ.ศ. 2415 พ.ศ. 2418
4 ตุ๊ปู่ดี เปรมปรี พ.ศ. 2418 พ.ศ. 2420
5 หลวงตาพัน สาขี้ด้อง พ.ศ. 2420 พ.ศ. 2430
6 ตุ๊หลวงปู่สุข (เปิด) พ.ศ. 2430 พ.ศ. 2436
7 หลวงตาลี มาจากวัดหินซ้อน พ.ศ. 2436 พ.ศ. 2440
8 ตุ๊หลวงแปง แก่นขนุน พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2444
9 ตุ๊ปู่แปง แก่นขนุน พ.ศ. 2444 พ.ศ. 2450
10 หลวงตาพิมพ์ มาจากวัดตะกุด พ.ศ. 2444 พ.ศ. 2450
11 ตุ๊หลวงยอด พ.ศ. 2454 พ.ศ. 2458
12 หลวงตาหยง (เจ๊ก) พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2462
13 หลวงตาเหม พ.ศ. 2462 พ.ศ. 2464
14 หลวงตาเบี้ยว พ.ศ. 2464 พ.ศ. 2466
15 ตุ๊ปู่สุข (ขี้หน่าย) พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2469
16 ตุ๊หลวงหรั่งหรือน้อย แสนศิริ พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2481
17 ตุ๊ปู่เรือง พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2483
18 ตุ๊หลวงหนู พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2489
19 ตุ๊หลวงจันหรือสวัสดิ์ แก่นขนุน พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2493
20 ตุ๊หลวงแบน ทองคำ พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2500
21 ตุ๊หลวงแผ้ว หรืออธิการแผ้ว ฉายา จนฺทาโภ พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2532
22 พระอธิการสวัสดิ์ ปุณฺญมโน พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539
23 พระใบฎีกาวัลลภ เขมปณฺโญ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2551
24 พระครูสุธีธรรมากร (ภีรญาณ ปุณฺนฉนฺโท) พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/185490/