วัดวารีบรรพต

วัดในจังหวัดระนอง

วัดวารีบรรพต เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางนอน บ้านบางนอน ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 1 ตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

วัดวารีบรรพต
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบางนอน อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด แก้

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับลำห้วย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับลำห้วย
  • ทิศตวันออก ติดต่อกับภูเขา , ป่าสงวนแห่งชาติ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเพชรเกษม

สภาพแวดล้อม พื้นที่ตั้งเป็นที่เนินเขา สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นภูเขามีป่าไม้และลำธาร

วัดวารีบรรพต สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 สร้างขึ้นโดยเหตุที่มีพระธุดงค์คือ พระด่วน ถามวโร (พระครูประภัสรวิริยคุณ) ได้จาริกมาจากจังหวัดสงขลา มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งนี้ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ป่าช้า ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา ต่อมานายไป๋ จุลเขตต์ ได้ติดต่อขอที่ดินจากทางราชการและดำเนินการสร้างวัด โดยได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2518 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2522

เสนาสนะ แก้

  1. อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร สร้าง พ.ศ. 2513 - 2522 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ ทรงยกช่อฟ้าเมื่อ พ.ศ. 2521
  2. วิหารพระพุทธไสยาสน์
  3. ทุติยเจดีย์

ปูชนียวัตถุ แก้

  1. พระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ยาว 22 เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านบางนอน ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระพุทธไสยาสน์บนเนินเขาบางนอน โดยมีนายช่างจากกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ กรมศิลปากรแนะนำให้พระครูประภัสรวิริยะคุณทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานดวงพระเนตรพระพุทธรูปปางไสยาสน์ผ่านทางสำนักพระราชวัง เมื่อทางสำนักพระราชวังนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานดวงพระเนตรพระพุทธไสยาสน์ทั้งสองดวง

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

  1. พระครูประภัสรวิริยคุณ (ด่วน ถามวโร) พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2550
  2. พระครูสุนทรปริยัติคุณ (บุญเยี่ยม สิริปุญฺโญ) พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ. (2527). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 3. กรุงเทพฯ : การศาสนา