วัดราชคฤห์วรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดราชคฤห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ระหว่างริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา บนถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่ วัดราชคฤห์ยังเคยเป็นที่ตั้งทัพของพระยาพิชัยดาบหัก ที่พระเจ้าตากสินให้มาดักซุ่มยิงโจมตีทัพพม่า พระปรางค์ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ เป็นที่บรรจุอัฐิของ พระยาพิชัย มีพระบรมรูปของพระเจ้าตากสินอยู่ในวัด[1]

วัดราชคฤห์วรวิหาร
พระอุโบสถ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดราชคฤห์ วัดวังน้ำวน วัดบางยี่เรือเหนือ วัดมอญ
ที่ตั้งเลขที่ 828 ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

เดิมชื่อ วัดวังน้ำวน เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ 2 สาย คือ คลองบางกอกใหญ่ คลองบางน้ำชน และ คลองท่าพระ มักเกิดน้ำหมุนเวียนเป็นวังวน เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชาวมอญอพยพโดยทางเรือจากกาญจนบุรีมาอาศัยอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานสร้างวัดอยู่ใกล้กัน 3 วัด ตามตำบล วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือกลาง (วัดจันทารามวรวิหาร) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัดมอญ สันนิษฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญ

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงสถาปนาขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชื่อว่า วัดราชคฤห์ ชนิดวรวิหาร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ เช่นสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารใหญ่ ได้บูรณสังขรณ์ภูเขามอซึ่งบรรจุพระบรมธาตุกับสร้างมณฑปขึ้นบนยอดเขามอซึ่งเป็นลาน พุทธศาสนิกชนได้มากราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุไว้

ปูชนียวัตถุ

แก้

วัดราชคฤห์วรวิหาร มีพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง หรือพระนอนหงาย ซึ่งมีอายุเก่าแก่นับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ[2] ปูชนียวัตถุภายใน คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมาจากกรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย พระพุทธบาทจำลองบนเขามอ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เก่าแก่ สมัยกรุงศรีอยุธยา เจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

รายนามเจ้าอาวาส

แก้
  • พระอริยธัช (ฝ่ายรามัญ)
  • พระครูสาธุธรรมคุณาธาร (แฉ่ง)
  • พระครูสุนทรศีลขันธ์ (เมือง)
  • พระวิเชียรมุนี (พันธ์ จิรวฑฺโฒ) เจ้าอาวาสวัดอินทาราม เป็นประธานรักษาการพระอารามหลวง
  • พระพิพัฒน์ธรรมคณี (ชำนาญ โชติธมฺโม)
  • พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต)

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ไหว้พระนอนวัดราชคฤห์ ที่บางยี่เรือเหนือ". เดลินิวส์. 3 มีนาคม 2563.
  2. วันชนะ กล่ำแก้ว (9 พฤศจิกายน 2562). ""พระนอนหงาย" พระยาพิชัยร่วมปฏิสังขรณ์". ศิลปวัฒนธรรม.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้