วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดอุดรธานี)

วัดมัชฌิมาวาส เดิมชื่อ วัดโนนหมากแข้ง เป็นวัดของประชาชนทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นวัดของตระกูลนั้น ของหมู่บ้านนั้น หรือของผู้นั้น แม้วัดนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม จะได้ทรงสร้างขึ้น แต่ก็ไม่มีชื่อของพระองค์ติดอยู่ในชื่อวัดเลย ได้ทรงตั้งชื่อว่า "วัดมัชฌิมาวาส" ซึ่งหมายความว่า เป็นศูนย์กลาง เป็นย่านกลางแห่งการสร้างความดี คำว่า "กลาง" ก็หมายความว่า "เป็นของทุกคน" เช่นคำว่า "ของกลาง" โดยที่เสด็จในกรม ทรงมอบให้เป็นสมบัติของประชาชนทุกคน ไม่ใด้จำเพาะเจาะจงเหมือนบางวัด ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีพระทัยเป็นห่วงอยู่ เสมือนมารดา บิดาได้มอบทรัพย์มรดกให้แก่บุตรธิดาแล้วก็ยังเป็นห่วง คอยเอาใจใส่ สอดส่องดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งน้ำพระทัย เสด็จในกรมได้ส่งพระฉายาลักษณ์ (รูปถ่าย) ขนาด 24 นิ้ว แต่งตัวแบบอุบาสก นั่งเก้าอี้เต็มองค์ มาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ซึ่งทางวัดได้ตั้งประดิษฐานไว้ภายในพระอุโบสถ ประชาชนทั้งหลายได้ตอบสนองความตั้งพระทัยแห่งเสด็จในกรมด้วยดี โดยให้การทะนุบำรุงอุดหนุนค้ำจุนด้วยปัจจัยสี่ และให้ความร่วมมือร่วมใจตลอดมา ครั้นได้รับพระบรมราชานุญาตให้ยกเป็นพระอารามหลวงแล้ว ประชาชนก็ยิ่งให้ความอุปถัมภ์มากขึ้น

วัดมัชฌิมาวาส
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 5 ถนนอุดรดุษฎี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธนรสีห์มหามุนี
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อนาค
เจ้าอาวาสพระพรหมวัชรคุณาภรณ์ (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ ป.ธ.5)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดมัชฌิมาวาส เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 5 ถนนอุดรดุษฎี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507

ประวัติ แก้

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ] หัวเมือง ลาวพวน ได้ทรงสร้างวัดโนนหมากแข้ง (เคยเป็นวัดร้าง) แล้วมีภิกษุจำพรรษาอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมัชฌิมาวาส เมื่อราว พ.ศ. 2436] พร้อมกับการสร้าง เมืองอุดรธานีขึ้น

ก่อนจะมาเป็นวัดมัชฌิมาวาส วัดมัชฌิมาวาสเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่า วัดโนนหมากแข้ง แต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมา ว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบัน พระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวอุดรฯและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการบูชา กันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา

สถานที่ตั้ง แก้

วัดมัชฌิมาวาส ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน ถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนโพนพิไสย อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหลายแห่ง คือ ใกล้ศาลจังหวัดอุดรธานี โดยห่างจากศาลจังหวัดอุดรธานทีเพียง 40 เมตรเท่านั้น ใกล้กับสถานีกาชาดที่ 9 และสาธารณสุขจังหวัด ประมาณ 30 เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 120 เมตร ด้านหลังติดกับโรงเรียนเทคนิคอุดรธานี โดยห่างกันเพียง 30 เมตร ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองอุดรธานี ประมาณ 250 เมตร และตั้งอยู่ในย่านกลางของคุ้มต่าง ๆ คือ คุ้มบ้านห้วย คุ้มบ้านโนน คุ้มหมากแข้ง คุ้มทุ่งสว่าง และคุ้มบ้านคอกวัว