วัดป่าพุทธพจนาราม

วัดในจังหวัดเชียงใหม่

วัดป่าพุทธพจนาราม ตั้งอยู่ที่ 96 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศใต้ของดอยสุเทพ ห่างจาก ถนนสาย หางดง-กฤษดาดอย 2 กิโลเมตร (เลี้ยวซ้ายตรง ก.ม.6 ก่อนถึงบ้านปงเล็กน้อย) ห่างจากเชียงใหม่ราว 18-19 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล

วัดป่าพุทธพจนาราม
พระเจดีย์วัดป่าพุทธพจนาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดป่าพุทธพจนาราม
ที่ตั้ง96 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
นิกายเถรวาท ธรรมยุติกนิกาย
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

บริเวณที่สร้างสำนักปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในสถานที่สัปปายะ พอสมควรสำหรับผู้ใฝ่ธรรม เข้ามาปฏิบัติธรรม เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่พลุกพล่านและไม่ห่างไกลจากชุมชนเกินไป พื้นที่ตั้งอยู่ในหุบเขามีที่ราบลุ่ม สลับกับเนินเขาเตี้ยๆ ภูมิประเทศโดยรอบมีทั้งป่าเขาและไร่สวนของชาวบ้าน ทัศนียภาพดูสงบร่มเย็นดี ที่สำคัญบริเวณที่ตั้งวัดป่าพุทธพจนารามแห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งวัดเก่ามาแต่โบราณกาล ปัจจุบันยังมีเนินเจดีย์ วิหารหลงเหลืออยู่ มีอิฐแกร่งก้อนโตที่คนสมัยนั้นใช้สร้างศาสนสถานอยู่จำนวนมาก น่าเสียดายที่รีบสร้างเสนาสนะทับบริเวณโบราณสถาน โดยยังไม่ได้ทำการสืบค้นหลักฐาน

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ทิศเหนือ จรดถนนสาธารณะ ทิศใต้ จรดเขตที่ดินและไร่สวนของชาวเมืองมีห้วยเสี้ยวลำธารเล็กๆคั่นอยู่ ทิศตะวันออก จรดบ้านพักของนายจรัญ ชาวสมุทรสาครซึ่งในอาณาบริเวณโดยรอบสำนักฯ มีบ้านพักอื่นๆ อยู่หลายหลัง ทิศตะวันตก จรดเขตสวนของอดีตนายอำเภอ

ประวัติการสร้างวัด

แก้

ที่ดินที่สร้างวัดป่าพุทธพจนารามแห่งนี้ มี 2 แปลง 2 เจ้าของ เกิดขึ้นจากการริเริ่มอันเป็นกุศลเจตนาของนางโศภา เมืองกระจ่าง (นันทขว้าง) กับหลานสาวคือ นางดวงตา นันทขว้าง (นางดวงตารับมรดกที่ดินมารดาคือ นางสุวรรณี สุคนธา) และนายวิเชียร เชิดชุตระกูลทอง และครอบครัว แห่งบริษัท อิฐภราดร จำกัด ผู้เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนี้มานาน

เจ้าภาพถวายที่ดินแปลงที่ 1

แก้

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2543 นางโศภา ได้ทำหนังสือมอบถวายที่ดินจำนวน 5 ไร่ 36 ตารางวา ให้เป็นสมบัติของวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมดิลก (สมณศักดิ์สุดท้ายคือพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงเป็นผู้รับมอบ เพื่อสร้างเป็น วัดป่าพุทธพจนาราม ตามคำแนะนำประสานงานของ นางเบญมาศ นิมมานเหมินทร์ ผู้มีที่ดินอยู่ข้างเคียง และเป็นที่ปรึกษาเป็นกรรมการสร้างวัดป่าพุทธพจนารามแห่งนี้มาแต่ต้น

คณะเจ้าภาพร่วมกับพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ ได้สร้างเสนาสนะที่จำเป็นเช่น ศาลาหลังเล็กขึ้น 1 หลัง พร้อมกับสร้างกุฏิที่พำนักเดิม ตั้งชื่อว่า วัดป่าพุทธพจนวราราม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าพุทธพจนาราม ในภายหลัง เพื่อเป็นอนุสรณ์และมงคลนาม ในโอกาสที่หลวงพ่อได้รับสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์จากพระธรรมดิลก เป็นพระพุทธพจนวราภรณ์ พระราชาคณะ เจ้าคณะ รองชั้นหิรัณยบัฎเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2544 ได้ทำพิธีมอบถวาย วัดป่าพุทธพจนาราม แด่พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ และคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2545

เจ้าภาพถวายที่ดินแปลงที่ 2

แก้

ในระยะแรกการเข้า-ออกวัดป่าพุทธพจนาราม ต้องอาศัยทางผ่านเข้า-ออกทางประตูรั้วบ้านพักของนายจรัญ-นางศิริเพ็ญ วัชรมัย ผู้มีที่ดินติดกับเขตวัดป่าพุทธพจนาราม ทางทิศตะวันออกและเป็นกรรมการจัดตั้งวัดป่าพุทธพจนาราม นี้คนหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านเต็มใจและยินดีอำนวยความสะดวกให้พระสงฆ์และศรัทธา ผ่านเข้าออกได้สะดวกสบาย แต่ความรู้สึกเกรงใจย่อมมีเป็นธรรมดา

เมื่อปี 2543 นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง ผู้มีที่ดินอยู่ติดกับที่ตั้งวัดป่าพุทธพจนาราม ด้านเหนือได้แสดงเจตจำนงจะถวายที่ดินให้วัดเจดีย์หลวงมาครั้งหนึ่งแล้ว จนกระทั่งมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2546 เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี บริษัท อิฐ ภราดร จำกัด และบริษัทในเครือ นายสม-นางบัวเขียว เชิดชูตระกูลทอง พร้อมด้วยบุตรธิดา คือนาย วิเชียร-น.ส. นงนุช และนายวิชิตและญาติมิตร จึงได้ทำพิธีถวายที่ดินจำนวน 8 ไร่ 2 งาน (5 ไร่เป็น บ่อดินที่มีน้ำขังลึกประมาณ 10 เมตร ) ให้วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ณ พระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เพื่อเป็นบุญนิธิสร้างบารมีธรรมตามกุศลเจตนา ทำให้ที่ดินสร้างวัดป่าพุทธพจนาราม ทั้งสองแปลงเชื่อมต่อเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อคณะกรรมการสร้างสำนักปฏิบัติธรรม ได้ทำการเกรดพื้นที่รอบบ่อดิน ที่กลายเป็นสระใหญ่ ทำให้เกิดทัศนียภาพที่งดงามเย็นตาสบายใจ พร้อมได้สร้างถนนเข้าสู่ วัดป่าพุทธพจนาราม จากที่ดินแปลงที่สองนี้อีกเส้นทางหนึ่งทางด้านทิศเหนือ ทำให้ได้ถนนเข้า-ออกวัด สะดวกสบายมากขึ้นนอกจากนั้น ยังมีที่ดินอีก แปลงหนึ่งราว 9 ไร่ที่นาย วิเชียร เชิดชูตระกูลทองได้มอบถวายเพิ่มเติมอีก โดยท่านเจ้าคุณพระโสภณธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดป่าดาราภิรมย์เป็นประธานรับการถวายที่ดินดังกล่าว

ปูชนียสถาน-วัตถุ

แก้

พระเจดีย์ ศาลาทำวัตร ศาลาแดงสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม หอฉัน กุฎิไทลื้อ หลวงปู่ฤๅษี