วัดบัวสถาน

วัดในประเทศพม่า

วัดบัวสถาน เป็นวัดไทย ตั้งอยู่ในบ้านห้วยส้าน อำเภอเมียวดี จังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า ซึ่งเป็นหมู่บ้านคนไทยพลัดถิ่น อยู่ห่างจากชายแดนไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประมาณ 10 กิโลเมตร[1] มีรูปแบบการปกครองของคณะสงฆ์ไทยวน บ้านห้วยส้าน ซึ่งยึดมาจากจารีตล้านนา คือ ใช้การปกครองแบบหัวหมวดอุโบสถ คือ ทุกวัดจะทำสังฆกรรมในอุโบสถเดียวกัน เรียกว่า กลมอุโบสถ หรือ หมวดอุโบสถ หัวหมวดอุโบสถในบ้านห้วยส้านมี 5 วัด คือ วัดบัวสถาน วัดศรีบุญเรือง วัดสุวรรณคีรี วัดสว่างอารมณ์ และวัดป่าเลไลย์ ส่วนวัดไทยวนอื่น ๆ จะเข้าอุโบสถร่วมกับคณะสงฆ์พม่า[2]

วัดบัวสถาน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบัวสถาน, วัดใน
ที่ตั้งบ้านห้วยส้าน อำเภอเมียวดี จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า
ประเภทวัดไทย
เจ้าอาวาสครูบาสมคิด
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบัวสถาน หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดใน เป็นวัดแรกในบ้านห้วยส้าน มีอายุราว 200–300 ปี เป็นวัดที่สร้างโดยชาวไทยวนที่อพยพเข้ามา ปัจจุบันมี ครูบาสมคิดเป็นเจ้าอาวาส[2]

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ วิหารเก่าแก่ซึ่งได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันได้รื้อถอนไปเพื่อสร้างวิหารหลังใหม่ หน้าวิหารมีไม้แกะสลักรูปเทวดาและลายเถาว์ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งจัดเลียนตามแบบวิหารล้านนา คือ ด้านขวาของพระประธานเป็นที่ตั้งของธรรมาสน์ต่อด้วยแท่นสังฆ์ (ที่นั่งพระสงฆ์) มีผ้าเพดานกางกั้นเหนือพระเศียรพระประธานและแท่นสังฆ์ วิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ นรก สวรรค์ รูปพระพุทธเจ้า จิตรกรได้วาดให้พระองค์สวมว่อม ถือไม้เท้า สวมรองเท้า ใส่รูปปะคำ และห่มจีวรแบบพาดบ่าสีกรักแดง เขียนคำบรรยายและชื่อเจ้าภาพด้วยอักษรธรรมล้านนา อักษรพม่า และอักษรไทย ฝาผนังด้านนอกของประตูข้างวิหารวาดภาพการอพยพหนีภัยสงครามของชาวบ้าน เขียนโดยชาวต่องสู้ (กะเหรี่ยงเผ่าหนึ่งของพม่า) จึงมีลักษณะผสมไทยวน พม่า และกะเหรี่ยง[3]

อ้างอิง แก้

  1. "คนไทยพลัดถิ่นที่ห้วยส้าน วิถีไทยในต่างแดน". โพสต์ทูเดย์.
  2. 2.0 2.1 พระนคร ปญฺญวชิโร (ปรังฤทธิ์), ดร. อินทร์สร วุฒิธรรมากรณ์, นางชวนพิศ นภตาศัย, สามเณรธีทัต แจ้ใจ. "การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาของชาวไทยวน เมืองเมียวดี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา" (PDF). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. "วิถีล้านนาใต้ฟ้าเมียวดี" (PDF). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.