วัดชายเขาเหนือ

วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์
(เปลี่ยนทางจาก วัดชายเขา)


วัดชายเขาเหนือ ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดชายเขาเหนือ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 116 ถนนน้ำริด-หัวดง บ้านชายเขา หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4

วัดชายเขาเหนือ
วัดชายเขา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดชายเขา
ที่ตั้งตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ แก้

วัดชายเขา ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์ตำบลด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สังกัดมหานิกาย ทิศเหนือ ติดกับเขา ทิศใต้ติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกติดกับ โรงเรียนชายเขาวิทยา ทิศตะวันตกติดกับถนนสาธารณะ พื้นที่ ตั้งวัดเป็นเนินเขา มีเสนาสนะต่างๆ อุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 17 เมตร กุฏิสงฆ์ 1 หลัง ศาลาการ เปรียญ 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานเนื้อทองเหลืองปางมารวิชัย ในอุโบสถ พระประธาน เนื้อทองเหลืองปางมารวิชัย 2 รูป ประดิษฐานสาการเปรียญ พระพุทธชินราชปางมารวิชัย 2 รูป พระพุทธรูปไม้แกะทรงเครื่องปางมารวิชัย สมัยอยุธยาตอนปลาย ชาวบ้านให้ ความเคารพนับถือมาก ทำการนำออกบูชาสรงน้ำทุกวันสงกรานต์ เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง พระอัฐิธาตุลักษณะเม็ดข้าวสารใด เป็นอัฐิธาตุของพระอรหันต์ ผู้สำเร็จฌาณสมบัติ เป็นสมบัติมรดกตกทอดมาแต่โบราณของบรรพบุรุษ ถวายโดย นายสายชล นางชัติมา เกิดแก้ว ชาวจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2546 บรรจุไว้ในตู้กระจกแก้ว ให้ประชาชนได้สักการบูชาวัดชายเขา เริ่มสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2388 มีนานตามชื่อหมู่บ้าน เพราะอยู่ริมชายเขา จึงมีชื่อเรียกอย่างนั้น แต่ชาวบ้านแถวนี้มักเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดชายเขาเหนือ” เพราะหมู่บ้านนี้มีวัดอยู่สองวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2394 มีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 18501 เล่ม 186 หน้า 1 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

วัดชายเขา ตามประวัติความเป็นมาจากคำบอกเล่าของคนโบราณสืบกันต่อมาว่า เดิมทีนั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ มีบ้านไม่กี่หลัง ยังไม่มีวัดต้องไปอาศัยทำบุญตามวัดหมู่บ้านใกล้เคียง ได้มี พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อโท้ แห่งวัดด่านนาขาม ได้บิณฑบาตรผ่านมาโปรดญาติโยมแถวย่านนี้บ่อยครั้ง เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านแถวนี้ และการเดินทางไปมาก็ไม่สะดวกประกอบกับหมู่บ้านแห่งนี้ก็ยังไม่มีวัดให้ประชาชนได้ประกอบกิจกรรม ในทางพระพุทธศาสนา จึงได้กราบนิมนต์ให้ท่านจำพรรษา ณ บนเนินชายเขาแห่งนี้ พร้อมกับได้รวมกันสร้างกุฏิไม้มุงหลังคาให้ท่านได้จำพรรษา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาหมู่บ้านมีมากขึ้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมมือกันสร้างขึ้นเป็นวัดชายเขา มีนามตามชื่อหมู่บ้าน นับว่าหลวงพ่อโท้ เป็นผู้บุกเบิกและให้กำเนิดสร้างวัดชายเขาขึ้นเป็นรูปแรก

ทำเนียบเจ้าอาวาส แก้

  • หลวงพ่อโท้ พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • หลวงพ่อมุง พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • หลวงพ่อนวล พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • หลวงพ่อบาง พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • หลวงพ่อสุข พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • หลวงพ่องก พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • พระเพชร พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • พระจอม มะโนปา พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • พระอธิการประสิทธิ์ ปิยธัมโม พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2526
  • พระเรียน จารุธัมโม พ.ศ. - ถึง พ.ศ. -
  • พระอธิการชราวุฒิ วุฑฒิโก พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2547

อาณาเขตที่ตั้งวัด แก้

  • ทิศเหนือ ยาว 4 เส้น 55 วา จดเนินเขา
  • ทิศใต้ ยาว 5 เส้น 9 วา จดถนนสาธารณะ และหมู่บ้าน
  • ทิศตะวันออก ยาว - เส้น จดโรงเรียนชายเขาวิทยา
  • ทิศตะวันตก ยาว 3 เส้น 65 วา จดถนนสาธารณะ

พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นที่ราบเนินเขา ทิศเหนือติดกับภูเขา ทิศใต้ติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดกับถนนสาธารณะและหมู่บ้าน ทิศตะวันออกติดกับโรงเรียนชายเขาวิทยา นอกจากนี้มีโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในวัด เนื้อที่ 172 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป ให้ที่ตั้งศูนย์ข้อมูล อ.ส.ม. ในหมู่บ้าน และให้ที่ตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้าน

ศาสนสถาน-ถาวรวัตถุ แก้

  • อุโบสถ กว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2394 เป็นอาคารชั้นเดียว ครึ่งตึกครึ่งไม้ (ชั้นบนเป็นไม้ชั้นล่างเป็นปูน)
  • ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 50.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2525 เป็นอาคาร ครึ่งตึกครึ่งไม้ (ข้างบนเป็นไม้ข้างล่างเป็นปูน) อาคารชั้นเดียวจำนวน 1 หลัง
  • หอสวดมนต์ต์ กว้าง 8 เมตร ยาว 13 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 เป็นอาคารคอนกรีต ปูกระเบื้องเคลือบเงา
  • กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง กว้าง 4.40 เมตร ยาว 45.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้(ข้างบนเป็นไม้ข้างล่างเป็นปูน) นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ คือ ห้องน้ำ กว้าง 2.03 เมตร ยาว 6.04 เมตร ศาลาพักร้อน จำนวน 3 หลัง


ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ แก้

  • พระประธานเนื้อทองเหลืองปางมารวิชัย ในพระอุโบสถ ชาวบ้านนับถือกันมาก พระพุทธรูปเนื้อไม้สมัยอยุธยาตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมา เป็นของคู่วัดมาแต่ดั้งเดิม
  • พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองเหลืองพระประธานบนศาลาการเปรียญ
  • พระอัฐิธาตุลักษณะคล้าย เมล็ดข้าวสารใสเป็นอัฐิธาตุของพระอรหันต์ฌานสมาบัติ เป็นสมบัติมรดกตกทอดมาแต่โบราณของบรรพบุรุษจากการนำถวายของ นายสายชล นางชัติมา เกิดแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2546 บรรจุไว้ในตู้กระจกให้ประชาชนได้สักการบูชาเป็นสมบัติล้ำค่าของวัดชายเขา

ข้อมูลจำเพาะ แก้

ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัด ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ. 2388

มีพระบรมราชโองการพระราชทาน วิสุงคามสีมา ปี พ.ศ. 2394

ที่ดินของวัด

ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนด เลขที่ 18501 เล่ม 186 หน้า 1 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด

การติดต่อวัด แก้

โทร.06-2006892

อ้างอิง แก้